Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2532
กำเนิดไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม. เมื่อพิเชษฐ์ เหล่าเกษม กลับฟื้นขึ้นมาใหม่             
 


   
search resources

ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม.
Food and Beverage
พิเชษฐ์ เหล่าเกษม




คงจำกันได้ว่า เมื่อประมาณกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีการแถลงข่าวเปิดตัวบริษัทใหม่ "ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม." ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตระกูล "เนื้อ" ไม่ว่าจะทำจากเนื้อโค หรือเนื้อสุกร ภายใต้แบรนด์เนมระดับโลก "สวิฟท์ (SWIDFT)"

ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม.เป็นการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มอาร์.เอฟ.เอ็ม. (RFM REPUBLIC FLOUR MILLS) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำทางอุตสาหกรรมผลิตอาหารแห่งประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีประสบการณ์และความรู้ความสามารถในธุรกิจนี้ยาวนานกว่าสามสิบปีกับกลุ่มนักธุรกิจชาวไทยที่เรารู้จักกันดีอย่าง ณรงค์ วงศ์วรรณ มงคล ศิริสัมพันธ์ โดยมี สมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ นั่งเป็นประธานกรรมบริษัทอยู่

ส่วน"สวิฟท์ (SWIDFT)" เป็นเครื่องหมายการค้าตัวเอ้ของสวิฟท์-เอ็กริช (SWIFT ECKRICH) แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นสาขาของบริษัทเบียทริส (BEATRICE CORP) ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปหลายชนิด

เป็นผู้ผลิตเนื้อไก่งวงและแฮมกระป๋องรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ด้วยยอดขายปีละกว่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (42,500 ล้านบาท) มีโรงงานกว่า 100 แห่งในอเมริกา และมีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์สำเร็จรูปรายใหญ่ติดอันดับหนึ่งสามของโลก

ดูๆ แล้วก็น่าเกรงขามดี แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แท้ที่จริงแล้วบริษัทที่เรากำลังพูดถึงนี้ ไม่ใช่บริษัทใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างที่ใครๆ เข้าใจกัน และแน่นอนที่สุดตำนานของการต่อสู้ ความล้มเหลว จนกระทั่งสามารถยืนหยัดขึ้นมาอีกครั้งอย่างทระนงก็เป็นเรื่องต้องพึงให้ความสนใจกันอย่างมากด้วย

ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม.เปลี่ยนชื่อมาจาก "มาบุญครอง อาร์.เอฟ.เอ็ม." เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2530 และเพิ่มทุนบริษัทจากเดิม 125 ล้านบาท เป็น 162.5 ล้านบาท พร้อมกับการเข้ามาของกรรมการบริษัทหน้าใหม่ อันประกอบด้วยสังวลาย์ วงศ์วรรณ ลูกชายของณรงค์ วงศ์วรรณ กับอโนทัย เตชะมนตรีกุล

มาบุญครองอาร์.เอฟ.เอ็ม.ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องมีความเกี่ยวข้องกับศิริชัย บูลกุล อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่มาบุญครองเซ็นเตอร์ และบริษัทมาบุญครองเซ็นเตอร์ และบริษัทในเครือมาบุญครองอยู่บ้าง

แต่ที่จริงแล้วเรื่องที่เรากำลังจะพูดถึงเป็นเรื่องราวของคนที่ชื่อ "พิเชษฐ์ เหล่าเกษม" เสียมากกว่า เพราะพิเชษฐ์เป็นคนที่เริ่มตั้งบริษัทนี้ขึ้นมา

"พิเชษฐ์ เหล่าเกษม" เป็นเจ้าของโครงการดัง "วังน้ำฝน" ที่ทำให้ธนาคารกรุงเทพของเจ้าสัวชาตรี ปวดขมับตุบตับอยู่ช่วงเวลาหนึ่งกับสินเชื่อกว่า 400 ล้านบาทที่ปล่อยไปแล้วมีท่าทีจะสูญ

คนที่รู้เรื่องดีเล่าให้ฟังว่าช่วงปี 26-27 เป็นช่วงที่ราคารหมูในตลาดดิ่งลงเหว คือ ราคาไม่สูงอย่างที่ใครๆ ได้คาดหวัง โดยเฉพาะหากเหตุการณ์ยังคงเป็นอย่างที่ว่านั้นต่อไป โครงการมูลค่าเกือบครึ่งพันล้านของพิเชษฐ์คงจะต้องพังภินท์ลงต่อหน้าต่อตาเป็นแน่แท้

หมูจะขายได้อย่างน้อยก็ต้องมีโรงฆ่าเป็นตัวรองรับ เพราะพอจะทำให้อุ่นใจได้ว่ายังไงๆ หมูที่ "ขุน" มานับพันนับหมื่นตัวก็พอจะมีที่ขายออกไปได้

พิเชษฐ์ก็ไปชวนศิริชัย บูลกุล ประพันธ์ คงคาทอง สมภพ ฟูศิริ มา ชาน ลี เข้าร่วมหุ้นตั้งบริษัทมาบุญครอง อาร์.เอฟ.เอ็ม. ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นเพียงหนึ่งล้านบาท

อีกสองสามเดือนต่อมาก็มีการชักชวนกลุ่มอาร์.เอฟ.เอ็ม.ดีเวลลอปเม้นท์มาฮ่องกงเข้ามาร่วมทุนด้วย ซึ่งได้ส่งผู้บริหารหลายคนมาบริหารกิจการของมาบุญครองอาร์.เอฟ.เอ็ม.ไม่ว่าจะเป็นโฮเซ่ คอนเซฟชั่น จูเนียร์ (JOSE CONCEPCION JR.) แอนโตนีโอ คาซีชัน ดิง (ANTONIO CASISON DING) และออกุสโต ลูซิอาโน เดอ ลีออง (AUGUSTO LUCIANO DE LEON) ทั้งสามคนนี้เข้ามาดูแลทางด้านเทคนิค และการบริหารงานในหลายๆ ด้านให้กับบริษัทตลอดสามปีที่ผ่านมา

ศิริชัยอยู่กับมาบุญครองอาร์.เอฟ.เอ็ม.ไม่นานนัก พอปลายปี 27 นั้นเอง เขาก็ถอนตัวออกจากบริษัท เนื่องจากปัญหาทางการเงินของบริษัทในเครือมาบุญครองของเขาเองที่ยังแก้ไม่ตก ก็เป็นหน้าที่ของพิเชษฐ์อีกเช่นเดิมที่ต้องพยายามเกี้ยวเศรษฐีเงินหนากลุ่มอื่นเข้ามาร่วมงานนี้ให้ได้ เพื่อความอยู่รอดของตนเอง แต่ก็ไม่เป็นผล

ในห้วงเวลานั้น กับมาบุญครองอาร์.เอฟ.เอ็ม.ไม่เพียงแต่จะไม่ก้าวไปข้างหน้าเท่านั้น โครงการหลายโครงการวางแผนไว้ก็เกือบจะเป็นหมันไปทั้งสิ้น จนกระทั่งต้นปี 2530 ต่อเนื่องมาจนถุงกลางปี 2531 ที่พิเชษฐ์ชักชวนคนสำคัญหลายคนเข้ามาร่วมลงทุนกับเขาได้

"คนสำคัญ" ที่ว่าก็มีสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ ณรงค์ วงศ์วรรณ คณิต ยงสกุล เจ้าพ่อเหมืองแร่ เศรษฐีใหญ่ของภูเก็ต จิระ ศิริสัมพันธ์ เป็นต้น

กอปรกับอาร์.เอฟ.เอ็ม.กรุ๊ปที่เข้ามาติดต่อกันตั้งแต่แรกเห็นช่องทางว่าธุรกิจนี้ในเมืองไทยน่าจะโตเสียที พร้อมกับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน การลงทุนทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง

เริ่มจากไฟเขียวจากบีโอไอ การให้เงินกู้สำหรับการลงทุนรวม 534.7 ล้านบาท จากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 257.7 ล้านบาท จากยูเสด (USAID) 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ การร่วมหุ้นของ NEDERLANDS FINANCE COMPANY OF DEVELOPING COUNTRY และ PACIFIC BASIN DEVELOPMENT CORPORATION ทำให้ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม.ดูแน่นหนาปึ้กปั้กไม่ใช่น้อย พร้อมกับความฝันของพิเชษฐ์ที่ยังคงเป็นกรรมการบริษัทอยู่ด้วยเฉิดฉานขึ้นมาด้วยทันที

"เราหวังว่าเราจะได้นำสินค้าที่มีคุณภาพเข้ามาจำหน่ายและทำให้ชาวไทยได้รู้จัก สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราตระหนักอย่างยิ่งก็คือ พัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค และเกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเรา" เจอราโด โบโรมิโอ กรรมการผู้จัดการหนุ่มของไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม.กล่าวขึ้นตอนหนึ่ง

เมื่อรวมกับยอดฝีมืออย่างเร็กซ์ อี.อาการาโด รั้งตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายวิชาการและเทคนิค และความกระตือรือร้นของสองผู้บริหารชาวไทย อารยา เตชานันท์ อดีตผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ยูนิฟู้ดส์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดชีสเบรอพอนด์ส (ประเทศไทย) และผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค เบอร์ลี่ยุคเกอร์ และธีคงค์ ชั้นประเสริฐ ผู้เคยทำงานมากับทั้ง ยู.เอฟ.เอ็ม. และเอส.แอนด์.พี.กรุ๊ป.แล้วก็น่าเชื่อได้ว่าไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม.ยุคใหม่จะไปได้ดี รั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ทีเดียวแหละ

จะบอกว่าก็ต้องคอยดูต่อไปว่าเป็นอย่างไรก็ออกจะเชยไปสักหน่อย เพราะไหนๆ ก็โดดลงมสในสนามที่มีคู่แข่งขันระดับ "หิน" มากมายทั้ง ซี.พี.บางกอกแฮม ที่เข้ามานานจนเขี้ยวลากดินแล้ว

โชคดีเถอะนะ...ไทย-อาร์.เอฟ.เอ็ม. ความรุ่งโรจน์ อนาคตอันสดใสคงกำลังรออยู่ข้างหน้า?!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us