Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มกราคม 2551
หุ้นไทยผันผวนหนักรูด 3% - ฝรั่งทิ้งพลังงาน-แบงก์             
 


   
search resources

Stock Exchange




ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดหนักนักลงทุนไม่เชื่อน้ำยามาตรการรัฐบาลสหรัฐฯ กระตุ้นเศรษฐกิจจากพิษซับไพรม์ ด้านตลาดหุ้นทั่วไทยผันผวนหนักจากบวก 13 จุด ปิดลบ 23 จุด หรือ 2.93% ดัชนีจ่อหลุด 750 จุด ฝรั่งกระหน่ำขาย PTT รูดหนัก 7.5% หลุด 300 บาท "ก้องเกียรติ" เชื่อปีนี้เฟดลดดอกเบี้ย 1% พยุงเศรษฐกิจ ระบุซับไพรม์ล่ามถึงต้นปีหน้า ขณะที่บล.ซิตี้คอร์ป ระบุผลขาดทุนสถานบันการเงินจ่อถล่มหุ้นเพิ่ม ด้านเลขาฯ กบข. เตือนอย่าเร่งยกเลิกมาตรการ 30% ห่วงเงินนอกทะลักดันค่าเงินบาทแข็งไม่หยุด

ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (21 ม.ค.) ดัชนีปรับตัวผันผวนอย่างรุนแรงโดยในช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสวนทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลดลงอย่างมากจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่อนโยบายในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ แต่ในช่วงบ่ายมีแรงขายออกมาอย่างหนักจากนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่จุดต่ำสุดของวันที่ 766.53 จุด ลดลง 23.14 จุด หรือ 2.93% โดยระหว่างวันดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 802.77 จุด เพิ่มขึ้น 13.10 จุด มูลค่าการซื้อขาย 27,839.32 ล้านบาท

ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,128.54 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 387.41 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,515.95 ล้านบาท

สำหรับหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 296 บาท ลดลง 24 บาท หรือ 7.50% มูลค่าการซื้อขาย 4,914.92 ล้านบาท, บมจ.ปตท.ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 144 บาท ลดลง 8 บาท หรือ 5.26% มูลค่าการซื้อขาย 2,165.25 ล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ปิดที่ 79.50 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.45% มูลค่าการซื้อขาย 2,133.74 ล้านบาท

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจต่างประเทศยังแย่ต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาซับไพรม์ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบและมีการคาดการณ์จะคงยืดเยื้อต่อไปจนถึงต้นปีหน้าจากเดิมที่คาดว่าจะสิ้นสุดสิ้นปี 50 ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 1% เพื่อเป็นการพยุงเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ เชื่อว่าในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ เนื่องจากมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดี แต่ต้องขึ้นอยู่กับความสนใจและความสามารถในการดึงเม็ดเงินของตลาดหุ้นเกิดใหม่ โดยปี 2550 พบว่าจำนวนกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) กว่า 9.7 พันกองทุนซึ่งมีเงินภายใต้การบริหาร 1.74 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น ในปีที่ผ่านมามีจำนวน 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 50% ของจากเม็ดเงินใหม่ทั่วโลกที่มี 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

"สถานการณ์ต่างประเทศเลวร้ายมากขึ้นจากปัญหาซับไพรม์ ทำให้ตัวเลขการเสียหายบานปลายมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ทำให้เม็ดเงินไหลไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ขณะเดียวกันมาร์เกตแคปของตลาดหุ้นสหรัฐฯปี 50 ปรับตัวลดลงเหลือ 35% จากเดิมที่ 44%ของมาร์เกตแคปทั่วโลก" นายก้องเกียรติกล่าว

ขณะที่ทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกเองจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอยทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นทั่วโลกเพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ถึงแม้นักลงทุนต่างประเทศจะมีการขายหุ้นไทยสุทธิ 2.8 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับตั้งแต่เปิดตลาดหุ้นไทยมาต่างประเทศยังซื้อสุทธิ 1 ใน 4 ของมูลค่าหุ้นในประเทศไทย และจากราคาหุ้นไทยมีค่า P/E เพียง 10 เท่า มีอัตรากำไรต่อหุ้นมีอัตราการเติบโตที่ดี และจากการเมืองที่ชัดเจนมากขึ้น ก็จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุน

อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นไทยสิ้นปีนี้มีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะที่ 1,000 จุดได้ โดยจะมีค่าP/E ที่ 13 เท่า ผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ที่ 3% ซึ่งถือว่าราคาหุ้นไม่แพง แต่สิ่งที่จะต้องเร่งสร้างความชัดเจน คือ เรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ เช่น พ.ร.บ.ค้าปลีก รวมถึงการถือครองหุ้นต่างด้าว และเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

"การดึงเม็ดเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยมี 4 ประการ คือ นโยบายต้องถูกใจนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนไทย นโยบายต้องมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และจะต้องมีการไปลงทุนตรงในต่างประเทศบ้าง เพื่อใช้โอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อน บาทแข็งให้เกิดประโยชน์ "นายก้องเกียรติกล่าว

วิกฤตซับไพรม์ยังไม่จบ

มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้อำนวยการฝ่ายตลาดทุน บล.ซิตี้กรุ๊ป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าตอบรับปัจจัยการเมืองในประเทศทั้งเรื่องความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล และคำพิพากษายกฟ้องคดียุบพรรคพลังประชาชนของศาลฎีกา แต่ช่วงบ่ายนักลงทุนต่างชาติยังคงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวลงอย่างรุนแรง เนื่องจากนักลงทุนหวาดกลัวผลกระทบของปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯ ที่รุนแรงมากขึ้น

"ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมา แสดงให้เห็นสัญญานความถดถอยอย่างชัดเจน ขณะที่สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ยังรายงานผลขาดทุนออกมาไม่หมด ประกอบกับมาตรการของประธานาธิบดีสหรัฐที่ออกมานั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่า อาจไม่เพียงพอต่อการบรรเทาความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว"

"วิสิฐ"หวังคงมาตรการ30%

นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า สถาบันต่างประเทศทั้งโกลด์แมนแซคส์ และมอร์แกนสแตนเลย์ ต่างคาดการณ์จีดีพีสหรัฐจะขยายตัวอยู่ที่ 0.8% และ 1.1% ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้เฟดลดดอกเบี้ยลง โดยโอกาสที่จะปรับตัวลดลง 0.5% มีมากถึง 52% ขณะที่ส่วนอีก 48% คาดว่าจะลดดอกเบี้ย 0.75%

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้นได้จากกำไรบจ.เติบโต 15% บวกกับการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ดีนั้นจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย แม้ว่าจะไม่เข้ามาลงทุนทันที เพราะนักลงทุนยังมีความกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ โดยอาจจะเป็นการเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตรของไทย ดังนั้นจึงมองว่ามาตรการกันเงินสำรอง 30% คงจะต้องมีอยู่หากมีการยกเลิกอาจมีความเสี่ยงได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าได้อีก

คาดเฟดลดดบ.เหลือ3%

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเหลือ 3.00-3.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.25% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยไทยน่าจะทรงตัวในระดับนี้เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในไตรมาส 2/51 นี้

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะเติบโต 4-4.5% เพราะปัจจัยการเมืองปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการผลักดันในเรื่องการลงทุน โดยเม็ดเงินจากต่างประเทศจะไหลเข้ามาลงทุนมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะเป็นพันธมิตรกับนักลงทุนต่างประเทศแค่ไหน

ทั้งนี้ จากปัญหาซับไพรม์นั้นจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินไทยและต่างประเทศทั่วโลกมีการเลิกจ้างพนักงานในช่วงเดือน มีนาคมและเมษายน จำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องการว่างงาน ซึ่งภาครัฐจะต้องเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ

หุ้นเอเชีย-ยุโรปทรุดหนักเป็นทิวแถว

ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า ราคาหุ้นแถบเอเชียและยุโรปพากันดำดิ่งเป็นแถวเมื่อวานนี้(21) โดยบรรดาดีลเลอร์บอกว่าเพราะนักลงทุนรู้สึกเซ็งกับแผนการชุบชีวิตเศรษฐกิจสหรัฐฯของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช

ดีลเลอร์เหล่านี้กล่าวว่า หลังจากตั้งความหวังเอาไว้สูง ว่าบุชจะประกาศมาตรการอันหนักแน่นแข็งแรง ที่น่าเชื่อถือว่าสามารถป้องกันไม่ให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ต้องจมถลำลงสู่ภาวะถดถอย แต่แล้วตลาดกลับไม่ได้พบอะไรที่เพียงพอจะชดเชยบรรดาข่าวร้ายๆ ซึ่งยังคงโผล่ผุดออกมาจากภาคธนาคาร ตลอดจนตลาดที่พักอาศัยในสหรัฐฯที่ยังคงย่ำแย่ลงเรื่อยๆ

"ความสงสัยข้องใจของนักลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการตัดลดภาษีชั่วคราว ว่าจะสามารถปกปักรักษาไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลออัตราเติบโตลงอย่างแรงได้หรือ คือตัวเร่งให้เกิดการเทขายอย่างหนัก" เป็นความเห็นของ ดีเรค ฮัลเฟนนี แห่ง แบงก์ออฟโตเกียว-มิตซูบิชิ ในกรุงลอนดอน

เช่นเดียวกับ นาจีบ จาร์ฮอม หัวหน้าฝ่ายวิจัยเพื่อลูกค้ารายย่อย แห่งบริษัทหลักทรัพย์เฟรเซอร์ ซีเคียวริตีส์ ในสิงคโปร์ ซึ่งบอกว่า แพกเกจกอบกู้เศรษฐกิจของบุช "ถูกมองว่าออกมาช้าเกินไปและยังไม่แข็งแรงหนักแน่นเพียงพอที่จะสร้างผลกระทบได้" เขากล่าวด้วยว่า "มันดูเหมือนกับว่าสหรัฐฯกำลังบ่ายหน้าสู่ภาวะถดถอย หรือไม่ก็อาจจะกำลังอยู่ในภาวะถดถอยแล้วด้วยซ้ำ ถ้าหากดูกันที่ข้อมูลตัวเลข"

ในตลาดหลักทรัพย์ทางเอเชียวานนี้ โตเกียวปิดติดลบ 3.86% ลงสู่ระดับต่ำสุดนับแต่เดือนตุลาคม 2005 แต่ยังไม่สาหัสเท่าฮ่องกง ซึ่งดิ่งลง 5.5% เพราะนอกจากผิดหวังมาตรการของบุชแล้ว ยังเจอฤทธิ์ความปั่นป่วนของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ที่ปิดวานนี้หดหายไป 5.14% เนื่องจากความกังวลที่ว่า บริษัทประกันภัยผิงอัน กำลังจะออกหุ้นจำนวนมหาศาล ซึ่งจะกระทบความต้องการซื้อหุ้นตัวอื่นๆ ไปด้วย

ทางด้านตลาดสิงคโปร์ลบ 6.03%, โซล ลบ 3.0%, และหุ้นอินเดียร่วงหนักถึง 7.41%

เมื่อถึงช่วงตลาดแถบยุโรปเปิดทำการ หุ้นก็ถลาลงมากันระนาวอีก ลอนดอนทรุด 3.83% ระหว่างการซื้อขายช่วงเช้า ส่วนแฟรงเฟิร์ตปักหัวลงมา 5.02% และปารีสดำดิ่ง 4.55%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us