Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2532
ยศบวกสายทรัพย์สินฯฤา ภัทรประสิทธิ์ จะใหญ่ในแบงก์เอเชีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเอเชีย

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
Banking




วงการธุรกิจธนาคาร 2-3 ปีมานี้การปรับตัว หน้าตาในระดับกรรมการกันมาพอสมควร โดยเฉพาะแบงก์ขนาดกลางและเล็ก ดูจะมีการเคลื่อนไหวปรับตัวกันมากเป็นพิเศษกว่าแบงก์ขนาดใหญ่ๆ

แบงก์ศรีนคร ที่ว่ากันอย่างเชื่อมั่นว่า เป็นของเตชะไพบูลย์ก็ขยับขยายสัดส่วนที่นั่งในบอร์ดกรรมการให้กลุ่มอื่นเข้ามาแทนที่บ้าง อาทิ ซอ โสตถิกุล ยักษ์ ใหญ่ธุรกิจก่อสร้างและผงชูรสซึ่งเป็นกลุ่มแต้จิ๋ว เหมือนกัน

แบงก์เอเชียก็อีกแห่งหนึ่งที่เอื้อชูเกียรติ และภัทรประสิทธิ์ยืนยัดสัดส่วนที่นั่งบอร์ดไว้มากก็ต้องคลายตัวลงให้สายทรัพย์สินฯเข้ามาแทน

จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี พ่อจิรายุ ผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ และจรัส ชูโต กรรมการปูนใหญ่และอดีตกรรมการแบงก์ชาติทั้ง 2 ท่านนี้อยู่ในบอร์ดแบงก์เอเชียที่ถูกคนในวงการวิเคราะห์ว่าเป็นตัวแทนของสายทรัพย์สินฯ ที่เข้าไปในแบงก์นี้

การปรับตัวในระดับบอร์ดของแบงก์เป็นเรื่องของหน้าตาหรือภาพพจน์และธุรกิจที่ผู้ใหญ่เหล่านี้มีสายสัมพันธ์อยู่ เป็นผลพลอยได้ที่ไหลเข้าแบงก์ได้โดยไม่ยากนัก

ตามข่าวรายงานว่า ยอกจากหม่อมจรูญพันธ์ และจรัสแล้วยังมีนันท์ กิจจาลักษณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติ ที่เกษียณออกมา หม่อมดิศนัดดา ดิศกุล และ ภิญโญ ธีรนิติ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ก็นั่งอยู่ในบอร์ดกรรมการด้วย "กรรมการท่านเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาในฐานะผู้ถือหุ้น แต่เข้ามาในส่วนตัวที่ถูกเชื้อเชิญจากกรรมการท่านอื่น" จุลกร สิงหโกวินทร์ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงในแบงก์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

การเชื้อเชิญกรรมการผู้ทรงเกียรติท่านเหล่านี้ แหล่งข่าวในวงการธนาคารให้ข้อมูลว่า ต้องให้เครดิตกับ ยศ เอื้อชูเกียรติลูกชายจรูญ เอื้อชูเกียรติ ประธานกรรมการแบงก์คนเก่าที่เปิดทางให้หม่อมจรูญพันธ์เข้าแทนที่เพราะยศรู้จักดีกับธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ คนโตสุดในไทยพาณิชย์ การต่อสายกับหม่อมจิรายุ เพื่อให้ไปถึงพ่อ จึงไม่ยากเย็นนัก เมื่อผ่านทางธารินทร์

ส่วนกรรมการท่านอื่นๆ เป็นหน้าที่สิริลักษณ์ รัตนากร ที่ยศชวนเข้ามาเป็นที่ปรึกษาเพื่อวางงานด้านระบบบัญชีและการตรวจสอบที่เธอชำนาญการเอามากๆ

ว่ากันจริงๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงกรรมการในแบงก์มีเหตุผล 2 ประการ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งคือ เปลี่ยนเพราะกรรมการคนเก่าอยากเกษียณ หรือเพราะเป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลงกับแบงก์ชาติ

เป็นที่รู้กันว่า แบงก์เอเชียได้รับความช่วยเหลือจากแบงก์ชาติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอย่างมีเงื่อนไข จำนวน 1,000 ล้านบาทเพื่อนำรายได้ส่วนนี้ไปทยอยคิดยอดขาดทุนสะสมที่มีอยู่เป็นพันล้านบาท จากการที่ผู้บริหารชุดก่อนๆ สร้างกันมา

จนวันนี้ฐานะของแบงก์เอเชียเริ่มฟื้นตัวขึ้น แม้จะมีการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวรกันหลายร้อยล้านบาทเมื่อ 2 ปีก่อนจนเป็นที่รู้กันในวงการแบงก์เกอร์ว่า สามารถหารายได้และทำกำไรสุทธิได้ไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาทต่อปีเพื่อนำไปทยอยคิดยอดขายขาดทุนสะสม ผู้บริหารระดับสูงรวมทั้งกรรมการในแบงก์เองเห็นผลการประกอบการแล้ว ก็เชื่อมั่นกันว่าสิ้นปี 2535 จะสามารถลบล้างยอดขาดทุนสะสมได้หมด

ความจริงกลุ่มผู้ถือหุ้น และกรรมการในแบงก์เอง ก็หวานอมขมกลืนไม่น้อยที่ความหวังในสิ่งนี้จะต้องแลกมาด้วยการถูกระงับจ่ายเงินปันผลจากกำไรถึง 2 งวดบัญชีมาแล้ว และก็ไม่รู้ว่าในงวดบัญชีต่อๆ ไป ทางแบงก์ชาติจะยินยอมให้มีการจ่ายปันผลจากกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่เพราะเงื่อนไข SOFT LOANS ที่ว่า มันค้ำคออยู่

การสับเปลี่ยนตัวกรรมการจากบุคคลภายนอก โดยเฉพาะจากสายทรัพย์สินฯนับว่าเป็นความฉลาดของยศไม่น้อย เท่ากับยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัวคือ หนึ่ง-ยศรู้ว่ายิ่งนานวัน ความจำเป็นของฐานะเงินกองทุนแบงก์ต้องใหญ่ขึ้น นั่นหมายถึงการเพิ่มทุนต้องตามมา จังหวะขั้นตอนนี้เท่ากับเป็นเงื่อนไขให้ภัทรประสิทธิ์มีโอกาสซื้อหุ้นเก็บเข้ากระเป๋าได้เต็มที่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัดส่วนหุ้นของเอื้อชูเกียรติได้การที่ยศดึงคนนอกเข้ามา ก็เท่ากับช่วยคุ้มกันความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ และสอง-การเข้ามาของกรรมการสายทรัพย์สินฯและนักบริหารมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นจรัส ชูโต ก็ดี หรืออัศวิน คงสิริจากบรรษัทเงินทุนฯก็ดี กรรมการเหล่านี้มีประสบการณ์และสายสัมพันธ์กับสถาบันธุรกิจอื่นๆ กว้างขวาง เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของแบงก์มากว่าโทษ

"อย่างน้อยทางแบงก์ชาติก็สบายใจที่เงื่อนไข SOFT LOANS คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะทางผู้บริหารแบงก์เอเชียคงต้องพยายามบริหารธุรกิจนี้ให้ได้ตามเป้าหมายของแผนที่ตกลงไว้กับแบงก์ชาติ" แบงก์เกอร์ระดับกรรมการบริหารท่าหนึ่งให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ"

ว่ากันจริงๆ แล้วผลจากการสับเปลี่ยนกรรมการครั้งนี้ทางฝ่ายยศ และคนในตรักูล เอื้อชูเกียรติ ซึ่งใจกว้างพอที่จะเปิดทางให้คนข้างนอก ดูจะสบายใจมากกว่าทุกข์ใจ แม้จะดูอึดอัดบ้าง เพราะมีคนมาคุมอีกทีก็ตามแต่นั่นก็หมายถึงจุดหมายปลายทางของยศมิใช่หรือที่ต้องการให้แบงก์นี้บรรลุเป้าหมายแผนพัฒนา 5 ปีของธนาคารให้ได้

ซึ่งเมื่อถึงตรงนั้นได้ ก็หมายถึงความเป็น "ไท" ของแบงก์เอเชียเสียที ขณะเดียวกัน ยศและตระกูล "เอื้อชูเกียรติ" ก็อาจคุมแบงก์นี้ได้ต่อไป โดยมีคนในภัทรประสิทธิ์ เป็นมวยรองไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us