Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2532
ฮุนได ระวัง! ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย             
 


   
search resources

ฮุนได เอนจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น
ซี เค คิม
Construction




คงยังจำได้สำหรับเหตุการณ์วันเซ็นสัญญาก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย กับบริษัทอิตัลไทยของหมอชัยยุทธ กรรณสูต เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมปีที่แล้วกว่าจะลงเอยจรดปากกาลงนามในสัญญากันได้ เวลาก็ล่วงเลยไปจากกำหนดการเดิมถึง 9 ชั่วโมง

เป็นการเซ็นสัญญาที่ยึดเยื้อยาวนานสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยปัญหาทางเทคนิคที่ไม่ใช่เทคนิคทางการก่อสร้าง แต่เป็นความติดขัดในเรื่องส่วนได้ส่วนเสียของบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่จดจำเรื่องนี้ด้วยความเจ็บใจได้ดีที่สุดคงจะไม่พ้น ฮุนไดเอจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด แต่กลับมาถูกผู้เสนอราคาอันดับสองอย่างอิตัลไทยแซงโค้งไปอย่างหวุดหวิดและอย่างน่ากังขา

ความเจ็บใจที่ตกเป็นผู้แพ้คงจะไม่เท่าไร เพราะฮุนไดเองก็ทำใจได้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของ "POLITICAL MATTERS" แต่เหตุผลของการท่าเรือ ที่ไม่เลือกฮุนไดโดยอ้างว่าไม่มั่นใจในเทคนิคการก่อสร้างตอม่อของฮุนไดว่าจะทำได้นี่สิที่ถือว่าเป็นการดูแคลนฝีมือกันอย่างชัด!!

เพราะฮุนไดนั้นเป็นบริษัทก่อสร้างหนึ่งในสิบยักษ์ใหญ่ของโลก ผ่านงานสร้างท่าเรือระดับพันล้านเหรียญสหรัฐมาแล้วในตะวันออกกลาง และงานก่อสร้างขนาดใหญ่อื่นๆ ในหลายๆ ประเทศ มีความรู้และประสบการณ์อย่างโชกโชนกับงานสร้างท่าเรือแหลมฉบังไม่ถึง 100 ล้านเหรียญก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรยุ่งยาก

แต่เมื่อคณะกรรมการการท่าเรือเห็นว่ามีปัญหาแน่ๆ ฮุไดก็ทำได้แค่ยื่นหนังสือประท้วงขอความเป็นธรรม พร้อมๆ กับความเจ็บใจที่ตรึงอยู่ในอก

ธุรกิจก่อสร้างนั้นเป็นรากฐานแรกเริ่มที่มั่นคงในการขยายตัวเข้าไปยังอตสาหกรรมแขนงอื่นของกลุ่มฮุนได แห่งเกาหลีใต้จนกลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งมีบริษัทในเครือ 27 แห่ง ดำเนินธุรกิจตั้งแต่การต่อเรือ การก่อสร้าง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมเหล็ก การผลิตเครื่องจักรและรถยนต์ รวมไปถึงการเดินเรือ และกกิจการประกันภัย

ยอดขายรวมของกลุ่มฮุนไดในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าสองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ!!

ฮุนได เอนจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น เป็นบริษัทแรกของกลุ่มฮุนไดที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2490 และเติบใหญ่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลังสงครมเกาหลี (2493-2496) ซึ่งมีการก่อสร้างถนนหนทาง อาคารและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม

ปี 2505 รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจห้าปีฉบับแรก เพื่อสร้างประเทศให้เป็นชาติอุตสาหกรรมที่ทันสมัยฮุนไดก้าวกระโดครั้งใหญ่จากสถานการณ์นี้ เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลหลายๆ โครงการ

ปี 2508 ฮุนไดขยายตัวออกไปยังต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยเข้าประมูลงานก่อสร้างในเวียดนามใต้และประเทศไทย

"เราเข้ามาเมืองไทยครั้งนั้นเพื่อสร้างถนนทางหลวงหกโครงการด้วยกัน" ซี เค คิม ผู้บริหารของ ฮุนได เอนจิเนียริ่งฯในไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ถนนหกสายที่ฮุนไดชนะประมูลได้เป็นผู้สร้างในครั้งนั้นคือ สายระหว่างปัตตานี-นราธิวาส ธนบุรี-ปากท่อ สุราษฎร์ธานี ชัยนาท สระบุรีบางช่วงและอีกสายหนึ่งใกล้ๆ จังหวัดลำปาง

แต่สร้างได้เพียงสี่สายเท่านั้น ฮุนไดก็ต้องขนของกลับบ้าน เมื่อเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันปี 2517 ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้นอย่างฮวบฮาบ ถ้าขืนสร้างต่อไปตามสัญญาว่าจ้างเดิม มีแต่เจ๊งลูกเดียว

"รัฐบาลไทยยอมให้เรายกเลิกสัญญา เพราะเป็นปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน และไม่ใช่เพราะฮุนไดเท่านั้น บริษัทต่างประเทศอื่นๆ ก็ได้รับความยินยอมในการเลิกสัญญา" คิมย้อนไปถึงเหตุการณ์เมื่อ 14 ปีที่แล้ว

วิกฤติการณ์น้ำมันในปี 2517 ซึ่งทำให้ฮุนไดต้องล่าถอยไปจากประเทศไทย กลับเป็นปัจจัยในการเปิดตลาดใหม่ให้ฮุนไดในตะวันออกกลาง เมื่อชาติอาหรับเจ้าของบ่อน้ำมันที่ร่ำรวยขึ้นจากวิกฤติการณ์นี้ดำเนินโครงการเริ่มต้นพัฒนาประเทศ ฮุนไดเข้าสู่ตะวันออกกลางครั้งแรกใน พ.ศ. 2517 ด้วยการสร้างอู่ต่อเรือให้กับประเทศอิรัก หลังจากนั้นตะวันออกกลางก็กลายเป็นขุมทองที่ทำรายได้อันมหาศาลให้กับฮุนได จนกลายเป็นบริษัทก่อสร้างที่มีงานมากที่สุดในตะวันออกกลาง และเป็นบริษัทก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้

งานก่อสร้างของฮุนไดนั้นมีทุกประเภทตั้งแต่การสร้างอาคาร สะพาน อู่ต่อเรือ โรงไฟฟ้า เขื่อน แท่นขุดเจาะน้ำมันโรงงานปิดตรเคมีคัล ถนน ทางรถไฟ และท่าเรือ รวมมูลค่างานที่ผ่านมือฮุนไดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันแล้วสูงถึงสองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

75 เปอร์เซนต์เป็นมูลค่างานในตะวันออกกลาง ที่เหลือเป็นงานก่อสร้างภายในประเทศและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

ฮุนไดกลับมาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2529 ห่างจากการมาครั้งแรกถึง 21 ปี!

"ในระยะหลังการก่อสร้างในตะวันออกกลางเริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เราต้องหาตลาดใหม่ การก่อสร้างในไทยกำลังขยายตัวเพราะรัฐบาลมีโครงการขนาดใหญ่อยู่หลายโครงการ" คิม เปิดเผยถึงเหตุผลในการเข้ามาของฮุนไดอีกครั้งหนึ่ง

ระยะเวลาที่ห่างกันถึงยี่สิบปีระหว่างการเข้า มาในครั้งแรกกับการมาในครั้งนี้ ทำให้ฮุนไดกลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับวงการก่อสร้างในประเทศไทยไป ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญประการหนึ่งที่คิม คิดว่าเป็นปัญหาสำหรับฮุนไดคือ โครงการก่อสร้างใหญ่ๆ นั้นกำหนดเงื่อนไขที่ผู้เข้าประมูลต้องหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนโครงการเองด้วย

"เรายังไม่มีความสามารถพอในจุดนี้ โดยเฉพาะกับโครงการที่ใหญ่ต้องใช้เงินทุนมากๆ"

ทางออกของฮุนไดในเรื่องนี้ก็คือ ความช่วยเหลือจากรัฐบาลเกาหลีใต้ "รัฐบาลของเราได้จัดตั้งกองทุนเรียกว่า ECONOMIC DEVELOPMENT CORPORATION FUND (EDCF) เพื่อให้ความช่วยเหลือในโครงการที่เราต้องทำไฟแนนซ์ด้วย" คิม เปิดเผยกองทุนนี้เพิ่งตั้งได้เพียงวสามปีเท่านั้น

ฮุนไดเองยังมีความหวังว่ากองทุน EDCF นี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งกับบริษัทก่อสร้างของญี่ปุ่น "ญี่ปุ่นในด้านเทคนิคแล้ว ไม่ดีไปกว่าเราหรอก แต่เขาได้เปรียบเพราะมี OECF ซึ่งทำให้การสนับสนุนโครงการหลายๆ แห่งในประเทศไทย ซึ่ง OECF มักจะกำหนดเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์กับบริษัทก่อสร้างของญี่ปุ่น"

ความหวังของฮุนไดก็คือ EDCF จะสามารถเข้ามามีบทบาทกำหนดเงื่อนไขของผู้เข้าประมูลได้เช่นเดียวกับ OECF ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ฮุนไดมีโอกาสมากขึ้น

งานชิ้นแรกของฮุนไดสำหรับการกลับมาใหม่คือการก่อสร้างโรงกรองน้ำบางเขนซ฿งเริ่มมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2529 มูลค่า 360 ล้านบาท เป็นโครงการขยายกำลังผลิตระยะที่ 3 ของการประปานครหลวง

และอีกโครงการหนึ่งที่ฮุนไดกำลังเฝ้าดูอย่างใจจดใจจ่อหลังจากผิดหวังจากโครงการแหลมฉบังมาแล้วก็คือ การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุฒของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ฮุนไดเสนอราคาต่ำสุด คือ 1,667 ล้านบาท คู่แข่งอันดับสองที่ตามมาไม่ใช่ใครที่ไหนคืออิตัลไทยที่ฝากรอยแค้นไว้ให้เมื่อคราวที่แล้วนี่เอง อิตัลไทยเสนอราคา 1,800 ล้านบาท

"เรามั่นใจว่า ฮุนไดจะชนะ" คิมตอบสั้นๆ ถึงโอกาสที่จะได้งานสร้างท่าเรือมาบตาพุด

เหตุผลที่ทำให้คิมมั่นอกมั่นใจก็คือ ราคาของฮุนไดกับอิตัลไทยที่เสนอในครั้งนี้แตกต่างกันมากกว่าเมื่อครั้งประมูลโครงการแหลมฉบัง ในครั้งนั้นฮุนไดเสนอราคาต่ำกว่าอิตัลไทย 1.6 ล้านเหรียญ ครั้งนี้ฮุนไดต่ำกว่า 5 ล้านเหรียญ

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ความมั่นใจว่าเทคนิคของฮุนไดเหนือกว่า "ใครบ้างละที่จะมีประสบการณ์มากไปกว่าฮุนได ไม่มีบริษัทใดที่เข้าประมูลในโครงการแหลมฉบังและมาบตาพุดที่จะมีประสบการณ์มากไปกว่าเรา" คิมโอ่

แต่ถ้าคิมนึกย้อนไปถึงเมื่อคราวประมูลท่าเรือแหลมฉบังอีกครั้งหนึ่ง เหตุผลที่เขาคิดว่าเป็นข้อได้เปรียบของฮุนไดในครั้งนี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากครั้งกระโน้นกี่มากน้อยเลย

ป่านฉะรี้ ก็คงรู้กันแล้วว่าความเจ็บใจของฮุนไดเมื่อคราวก่อนจะถูกตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งหรือไม่?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us