|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
-เปิดความท้าทายองค์กร...จังหวะก้าวกับการเตรียมกำลังพล
-'โรสมีเดียฯ' ชูแผน 360 องศาปั้นคนเร่งด่วนป้อนโครงสร้างใหม่
-งานหินของธุรกิจครอบครัวเผชิญด่านแรก รวมคนรุ่นใหม่-เก่า เป็นน้ำเดียวกัน
-ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ตะวันตก พร้อมความเข้าใจลักษณะงานและไลฟ์สไตล์
20 กว่าปีของ บริษัท โรส วีดีโอ จำกัด ที่วันนี้ก้าวเข้าสู่ Generation ที่ 2 ในรุ่นลูก เข้ามาสานต่อธุรกิจเต็มกำลังทั้ง 4 คนพร้อมเขยคนโตของครอบครัว
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอนเตอร์เทนเม้นท์" จากการขยายงานปรับโครงสร้างบริษัทเป็น 5 สายงานหลัก โลโก้บริษัท การบริหารจัดการภายในองค์กร และล่าสุดเตรียมก้าวเข้าตลาดหลักทรัพย์ในเร็ววัน
ภารกิจในวันนี้ทำให้องค์กรได้ตระเตรียม “กำลังคน” รองรับการเติบโตของธุรกิจด้วยจำนวนพนักงานกว่าครึ่งพัน
"อรพรรณ มนต์พิชิต" รองประธาน บริษัทฯ บุตรสาวคนโต ให้สัมภาษณ์ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ในวันที่องค์กรโฟกัสไปที่งานบริหารทรัพยากรบุคคล ควบคู่การเติบโตขององค์กรและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจมีเดียอีกทั้งการแข่งขันที่สูง ไว้อย่างน่าสนใจ
รวมคน 2 รุ่นเป็นหนึ่งเดียวผสานวัฒนธรรมไทย-ตะวันตก
อรพรรณ กล่าวว่า องค์กรกำลังขยายตัวในแนวกว้าง 5 สายงานหลักครอบคลุมธุรกิจมีเดียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูน ภาพยนตร์จากต่างประเทศ สายงานธุรกิจใหม่ สายงานสื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ต้องเพิ่มจำนวนคนเพิ่มป้อนสายงานต่างๆ
จากที่ผ่านมาเนื่องจากเป็นธุรกิจครอบครัว ทุกคนจะนั่งในระดับบนหรือระดับผู้จัดการจ่ายงานในให้คนข้างนอกทำทั้งหมด บางตำแหน่งก็นั่งควบทำให้งานค่อนข้างหนัก และโครงสร้างองค์กรใหม่นี้จึงต้องสร้างฐานคนในระดับที่รองลงมา รวมถึงระดับพนักงานในสายงานต่างๆ รับกับงานที่มากขึ้น
"ปัจจุบันบริษัทโรสมีเดียฯ ได้เพิ่มกำลังคนใน 5 สายงานหลักรวมทั้งสิ้น 500 คน เป็นพนักงานออฟฟิศ 250 คนและพนักงานตามสาขาอีก 250 คน เมื่อตระเตรียมกำลังคนไว้พร้อมรองรับงานที่เกิดขึ้นใหม่นี้แล้ว"
ดังนั้นแผนการพัฒนาคนของโรสมีเดียฯ จึงเป็นจริงเป็นจังขึ้นในปี 2551 นี้
อันดับแรก อรพรรณ ให้ความสำคัญกับการหล่อหลอมคนในองค์กร เนื่องจากธุรกิจกำลังเติบเติบโตและขยายงาน ทำให้องค์กรมีส่วนผสมของพนักงานเดิมซึ่งเป็นพนักงานเก่าแก่ทำงานมานานและพนักงานใหม่ ไฟแรง ซึ่ง เธอ บอกว่า เป็นงานที่หินเอาการของการบริหารคนทั้ง 2 กลุ่ม
เนื่องจากโรสมีเดียฯ เป็นธุรกิจครอบครัว พนักงานเก่าแก่จะคุ้นเคยกับนาย มีอะไรจะรายงานตรงถึงนายทันที แต่มองในแง่ดีคนกลุ่มนี้มีความภักดีต่อองค์กรสูง ขณะที่พนักงานใหม่จะเน้นทำงานเป็นทีมเวิร์ก มีขั้นตอนของการทำงานแก้ไขปัญหากันเองก่อน แต่ความภักดีต่อองค์กรน้อยกว่า ซึ่งจะเห็นว่ามีทั้งข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน
" ที่ผ่านมาธุรกิจเข้าสู่ยุคผลัดใบ ตำแหน่งที่เกี่ยวกับสายงานธุรกิจโดยตรง เช่น การตลาด การพัฒนาธุรกิจใหม่ จะเป็นคนรุ่นใหม่ทีความสามรถเข้ามาดูแล ส่วนงานที่เกี่ยวกับระบบ เช่น บัญชี การส่งขน จะให้กับคนรุ่นเดิมซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 20% เป็นกลุ่มคนที่ทำงานดีมีบทบาทต่อองค์กรและไว้ใจได้โดยโปรโมทให้นั่งในสายงานเหล่านี้ ซึ่งเป็นการแยกลักษณะงานที่เหมาะกับแต่ละกลุ่มคน"
นอกจากนี้เพื่อการหล่อหลอมคนของโรสมีเดียฯ เธอ ได้รื้อฟื้นงาน Sport Day ขึ้น โดยใช้กีฬา สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันขององค์กร การจัดงานสังสรรค์ประจำปี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยๆ ที่เธอเชื่อว่ายังใช้ได้ดีกับองค์กรไทย
ขณะเดียวกันการที่เธอ ได้ศึกษาและใช้ชีวิตในต่างประเทศมาก่อน องค์ความรู้จากฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะการนำมาปรับใช้กับการบริหารงานบุคคล จึงไม่ปฏิเสธที่จะนำจุดดีมาใช้โดยมุ่งเน้นที่การประเมินแบบ 360 องศากับพนักงาน ทั้งผลงาน การมีส่วนรวมในการงาน และมนุษยสัมพันธ์ ฯลฯ ในระดับพนักงานและผู้บริหารปรากฏว่าพนักงานได้สะท้อนความคิดเห็นทำให้ฝ่าย HR สามารถนำมาปรับใช้และบริหารงานได้อย่างตรงจุด จากนั้นพบว่าเกิดผลดีต่องานและความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานและกับผู้บริหารมากขึ้น
"เรานำการดูแลคนแบบไทยๆ ผสมผสานกับการพัฒนาคนตามแนวตะวันตกแต่นำมาปรับใช้ให้เหมาะสม ซึ่งการดูแลคนแบบวัฒนธรรมไทยคือการประนีประนอม มีน้ำใจ ส่วนแบบฝรั่งคือความตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงคือเลือกคนที่ครีมที่สุดเข้ามาทำงานถ้าไม่ได้ตามนั้นก็เลิกจ้าง ส่วนของไทยนั้นจะพยายามช่วยเปลี่ยนตำแหน่งงานที่เหมาะสมให้
ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่หนักใจขององค์กรเหมือนกันสำหรับคนที่ไม่เก่งจะไล่ออกก็ไม่กล้า และยิ่งบริษัทเริ่มโตมากขึ้นจึงนำการประเมินผลงานแบบฝรั่งมาใช้ แต่ประเมินกันหลายๆ รอบ และให้ความสำคัญกับคนที่ขาดทักษะหรือขาดความสามารถบางด้านโดยการเทรนนิ่งให้มากขึ้น เรามีมุมมองว่าไม่ใช่ความผิดของพนักงานแต่มองในมุมของเราว่าได้พัฒนาเขาเต็มที่แล้วหรือยัง ถ้าเราเต็มที่กับเขาพัฒนาเขาเต็มที่แล้วแต่พนักงานคนนั้นยังทำไม่ได้ก็ต้องประเมินกัน"
เสริมหน้าที่งานบุคคล บทบาทที่ปรึกษาผู้บริหาร
แต่อย่างไรก็ตาม การเติบโตขององค์กรและธุรกิจกลับก้าวเร็วกว่าการที่จะรอสร้างคนของโรสมีเดียฯ ตั้งแต่แรกเริ่ม การเพิ่มกำลังคนของบริษัทจึงเกิดขึ้นทุกทิศทางด้วยเช่นกัน
"ช่วงที่ผ่านมาเราเพิ่มคนในส่วนงานที่บุกเต็มที่ คัดสรรคนตั้งแต่พนักงานจบใหม่ ผู้ที่อยู่ในสายธุรกิจมีเดีย ผ่านสื่อโฆษณา บริษัทจัดหาคน กระทั่งการเจรจาภายในกับบุคคลที่เราเล็งเห็นความสามารถที่จะเข้ามาสนับสนุนในงานได้"
นอกจากนี้ยังประกาศให้ปี 2551 นี้เป็นปีที่บริษัทให้น้ำหนักการการพัฒนาคนของบริษัท ซึ่งจะเห็นได้จากการเพิ่มความรู้ของเธอด้วยการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านการพัฒนาองค์กร เพื่อนำมาสนับสนุนในการบริหารองค์กรรวมถึงการบริหารงานบุคคลด้วย และการวางระบบงาน HR ด้วยการเตรียมขยับขยายแผนก เพิ่ม HR Development
"ปัจจุบันงาน HR ยังเป็น Management ที่บริหารงานบุคคลทั่วไป แต่เราเป็นองค์กรที่กำลังเติบโต ฉะนั้น HR จะต้องมีบทบาทมากขึ้น โดยจะเสริมกำลังคนโดยเฉพาะ Development เพื่อเป็นส่วนสนับสนุนงานให้กับผู้บริหาร ซึ่งบางงานไม่จำเป็นที่ผู้บริหารต้องลงมาคลุกเองทั้งหมด HR ต้องเข้ามาเป็นที่ปรึกษา"
อรพรรณ คาดหวังกับตำแหน่ง HR Development ว่า ต้องมองหาคอร์สเทรนนิ่งให้เหมาะสมกับงานกับตำแหน่งงานของพนักงานนั้นๆ และ Career Path หรือเส้นทางในอาชีพ และการพัฒนาคนในภาพรวม ให้มีคุณสมบัติตามตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งบทบาท HR ต้องเป็นด่านแรกในการสัมภาษณ์ตำแหน่งงานก่อนที่จะส่งต่อไปยังส่วนงานต่างๆ ต่อไป รวมถึงการทำให้คนในองค์กรมีความกระตือรือร้นพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
ยังรวมถึงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาหรือมืออาชีพด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเข้ามาเป็นตัวช่วยเพื่อพัฒนาคนและวางระบบงานด้าน HR ให้มีความเข้มแข็งและเป็นระบบมากขึ้น
โดยมีเป้าหมายในการสร้างคนของโรสมีเดียฯ ต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน เพราะเชื่อว่าเมื่อคนเราคิดดี ทำดี สิ่งต่างๆ ที่ตามมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงาน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในองค์กร ฯลฯ ก็จะดีตามไปด้วย นอกจากนี้คือการให้ความรู้กับพนักงานซึ่งจะมีการเทรนนิ่งในสายงานต่างๆ มากขึ้น การทำกิจกรรมข้ามสายงานเพื่อเกิดการเรียนรู้ข้ามสายงานเพิ่มพูนความรู้พนักงาน
3 ปัญหากับงาน HR ลุยแก้ปัญหาใช้ความเข้าใจ
และระหว่างของการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท ทำให้ในช่วงเริ่มแรกนี้ อรพรรณ ได้เข้ามามีบทบาทในสายงานบุคคลไปในตัวตั้งแต่การคัดสรรพนักงาน และการวางระบบงานต่างๆ ในเบื้องต้นเองก่อนนั้น เมื่อได้สัมผัสงานด้านบุคคล พบว่า ได้เกิดปัญหาคล้ายๆ กับองค์กรทั่วๆ ไป ตั้งแต่ การบริหาร Generation Y ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นตัวป่วนองค์กร หรือการขาดแคลน Talent ในองค์กรหรือในตลาดแรงงาน รวมถึงการดึงดูดพนักงานให้อยู่กับองค์กรโดยไม่ตีจากไปไหน
สิ่งเหล่านี้ อรพรรณ ขยายความว่า ในประเด็นของ Generation Y นั้น สัดส่วนของกลุ่มคนยุคนี้ยังมีค่อนข้างน้อย แต่ในฐานะที่เป็นผู้บริหารด้วยวัยเพียง 28 ปีของเธอ กลับมองว่าเป็นจุดดีที่จะเข้าใจกลุ่มคนวัยนี้ซึ่งใกล้เคียงกันและอนาคตคาดจะมีพนักงานวัยนี้มากขึ้น โดยเธอได้มองถึงจุดดีแลนำมาใช้คือความกล้าในการแสดงออกทั้งผลงานและความคิดเห็น ซึ่งองค์กรมีหน้าที่ที่ต้องกลับมาดูแลว่าจะต้องดูแลคนกลุ่มนี้อย่างไร
ในส่วนของ Talent นั้น ในองค์กรได้เล็งพนักงานที่มีความสามารถเพื่อปลุกปั้น และสร้างเส้นทางการเติบโตในอาชีพของแต่ละคนไว้อย่างชัดเจน ซึ่งพนักงานรุ่นใหม่จะรู้ว่าเขาจะเติบโตในอาชีพได้อย่างไรถ้าทำตามสิ่งที่บริษัทได้วางไว้ และให้เห็นถึงความมั่นคง การเทรนนิ่ง โจทย์คือการมี Motivation และ Participation
และสำหรับการดึงดูดพนักงานนั้น เธอยอมรับว่า ธุรกิจมีเดียโดยทั่วไปมีการเทิร์นโอเวอร์สูง แต่เมื่อลงลึกในรายบริษัทแล้วกลับพบว่าบางบริษัทมีการเทิร์นโอเวอร์ต่ำ เช่นเดียวกับบริษัทโรสมีเดียซึ่งมีเพียง 5% เท่านั้นในส่วนของพนักงานออฟฟิศ แต่พนักงานในจุดขายเทิร์นโอเวอร์ประมาณ 10-20% ซึ่งเป็นธรรมชาติของสายงานนี้
เธอบริหารโดยเน้นการสร้างทีมเวิร์ค เพื่อเกิดความช่วยเหลือกันทั้งในระดับพนักงานต่อพนักงานและผู้บริหารกับพนักงานมุ่งเกิดความรู้สึก "นายไม่ทิ้งลูกน้อง" รวมถึงความใกล้ชิดที่ให้กับพนักงานทั้งงานระบบและงานส่วนครีเอทีฟ และเข้าใจในลักษณะงานและไลฟ์สไตล์คนทำงาน
บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ นับเป็นบริษัทที่น่าจับตาอีกบริษัทหนึ่ง เพราะผู้บริหารให้ความสำคัญและเข้าใจในงาน HR ฉะนั้นความคาดหวังที่มีจะ HR มานั่งเคียงข้างเป็นที่ปรึกษาในทุกเรื่องจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว
|
|
|
|
|