Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์21 มกราคม 2551
เศรษฐกิจปีชวดฝืด ควรเก็บออมมากกว่าใช้             
 


   
search resources

Investment




ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจำนวนกว่า 26,312 คนจาก 48 ประเทศทั้งในทวีปยุโรป เอเชียแปซิฟิค อเมริกาเหนือ และ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ชิ้นล่าสุดของนีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยยังคงอยู่ที่ระดับเดิมจากการสำรวจ เมื่อเทียบจากผลสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา พบผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ กว่าครึ่งยังคงรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับโอกาสในด้านการงาน และเกือบครึ่งวิตกกับสถานะทางการเงินของตนเองในปีหน้า ส่งผลให้ชาวไทยส่วนใหญ่ต้องการออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

ขณะที่ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกยังคงตกลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจากระดับ 99 โดยเฉพาะในรอบเดือนพฤศจิกายนในปี 2549 ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 97 ขณะที่ในเดือนพฤษภาคมปี 2550 กลับลดลงอีกครั้งไปที่ระดับ 94 และผลสำรวจครั้งล่าสุดในรอบเดือนพฤศจิกายนในปี 2550 ที่ผ่านมาพบว่าผู้บริโภคทั่วโลกร้อยละ 28 คาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ ส่งผลให้ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน 21 ประเทศ จาก 48 ประเทศลดลง

ผู้บริโภคชาวไทยติดลำดับแรกของโลกด้วยจำนวนคน 51% คาดว่าว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ รองลงมาคือไต้หวัน 47% และอิตาลี 45% ตามลำดับ( ตารางที่1)ประเทศนอร์เวย์ติดอันดับแรกของโลกที่พบผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงสุดด้วยคะแนน 135 รองลำดับสองได้แก่ อินเดีย 133 และลำดับสามได้แก่ เดนมาร์ก 124

นอกจากอินเดีย ประเทศในกลุ่มเอเชีย แปซิฟิค อาทิ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ฮ่องกง เวียดนาม นิวซีแลนด์และ สิงคโปร์ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเชื่อมั่นติดในสิบลำดับแรกของโลก โดยพบระดับความเชื่อมั่นของอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ทวีปเอเชีย แปซิฟิคเป็นทวีปที่มีความเชื่อมั่นสูงสุดในโลก

“ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2549 ภายใต้ปัจจัยที่บ่งขี้ในทางลบเกี่ยวกับเศรษฐกิจหลายประการ เช่น การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ค่าเงินดอลล่าร์ที่อ่อนตัว ราคาน้ำมันขึ้น และภาวะวิกฤตในตลาดสินเชื่อซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นนั้น ในฐานะผู้นำเศรษฐกิจของโลกของสหรัฐฯ สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจที่ไม่ดีนี้ได้ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในส่วนต่างๆของโลกและมีผลต่อความรู้สึกในเชิงลบของผู้บริโภคทุกๆแห่ง รวมทั้งประเทศไทย” จันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ นีลเส็น กล่าว

คนไทยกว่าครึ่งกังวลเรื่อง “งานกับเงิน”

เมื่อสอบถามความคิดเห็นและความรู้สึกของผู้บริโภคชาวไทยเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และสถานะทางการเงินของตนในอีกสิบสองเดือนข้างหน้า ผู้บริโภคชาวไทยยังคงแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวในระดับใกล้เคียงจากการสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมาว่า พบผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 64 ยังคงรู้สึกว่าโอกาสในด้านการงาน “ไม่ค่อยดี” และ “ไม่ดี” นอกจากนี้ยังพบว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคชาวไทยประมาณกว่า 44% มีความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า

มุ่งเน้นการออมเป็นหลัก

ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 66% เชื่อว่าขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการซื้อสินค้าที่ตนต้องการในอีก 12 เดือนข้างหน้า ประเทศไทยยังคงติดในลำดับที่สามของโลกที่มีจำนวนนักออมมากถึง 64% ที่มีความประสงค์จะเก็บเงินในส่วนที่เหลือเพื่อเก็บออมหลังจากใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต หลังจากที่เคยครองแชมป์อันดับที่หนึ่งของโลกต่อเนื่องกันถึงสามครั้งในการสำรวจที่ผ่านมา โดยการสำรวจครั้งนี้พบชาวอินโดนีนีเซีย และสิงคโปร์อยู่ในระดับที่ 65% เท่ากัน ถูกจัดให้อยู่ในลำดับแรกและอันดับสองของโลก ขณะที่ผู้บริโภคชาวไทยเพียง 6% กล่าวว่าพวกเขาไม่มีเงินเหลือเก็บเลย

นอกจากความตั้งใจที่จะออมเงินแล้ว การใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ ยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมในการใช้จ่ายถึงร้อยละ 50 รองลงมาคือ สินค้าทางด้านเทคโนโลยี่ 38% และความต้องการซื้อเสื้อผ้าใหม่ประมาณ 30% ตามลำดับ

กรรมการผู้จัดการ นีลเส็น กล่าวเสริมว่า ผู้บริโภคทั่วโลกรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย โดยจะเห็นได้จากความพร้อมในการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลงของผู้บริโภคใน 26 ประเทศ จาก 48 ประเทศที่เราทำการสำรวจ เมื่อเทียบจากผลสำรวจเมื่อหกเดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญต่อกลุ่มผู้ค้าปลีก ที่ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการดึงดูดผู้บริโภคให้จับจ่ายใช้สอยในปีนี้

ไทยวิตกปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด

ว่ากันว่าผู้บริโภคชาวไทยติดอยู่ใน5ประเทศแรกของโลกเมื่อพิจารณาถึงความวิตกกังวลทางด้านเศรษฐกิจในอีกหกเดือนข้างหน้า โดยพบผู้บริโภคจำนวน 68% กังวลกับปัญหาในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นจาก 59% และจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่กังวลมากที่สุดในสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำก็คือ ความไม่มั่นคงทางด้านการเมือง 47% ปัญหาการว่างงาน 43% และภาวะเงินเฟ้อ 28%

ขณะที่ไต้หวันร้อยละ 74 จัดอยู่ในอันแรกของโลกที่วิตกกังวลเรื่องเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาคือประเทศจีน 71% โดยจะพบว่า 7 ใน 10 ประเทศที่มีความกังวลต่อเรื่องดังกล่าวมากที่สุดคือประเทศในกลุ่มเอเชีย แปซิฟิค (ตารางที่2 )

ในทวีปเอเชีย แปซิฟิค ประเทศที่กังวลกับเรื่องสุขภาพมากที่สุดได้แก่ จีน 63% ฮ่องกง 49% และเวียดนาม 48% นอกจากนี้ประเทศที่กังวลกับเรื่องโอกาสด้านการงานมากที่สุดได้แก่ เวียดนามทีมีสูงถึง 58% เกาหลีใต้ 54% และฟิลิปปินส์ 47%

ส่วนผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรป โดยมีประเทศในแถบเอเชีย แปซิฟิค ได้แก่ เกาลีใต้ 54 ญี่ปุ่น 59 และไต้หวัน 69 ที่มีความเชื่อมั่นในระดับที่ต่ำ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในญี่ปุ่น และไต้หวัน ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us