Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 มกราคม 2551
ลอยตัวน้ำมันปาล์มตามวัตถุดิบส่อเค้าวืด พาณิชย์ไร้น้ำยาตั้งบอร์ดแนะนำราคาแทน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมการค้าภายใน

   
search resources

กรมการค้าภายใน
Commercial and business
Food and Beverage




“พาณิชย์”ยอมรับการลอยตัวสินค้าคุมได้ยาก หันใช้วิธีตั้งกรรมการกำหนดราคาแนะนำในแต่ละเดือนตามต้นทุนที่แท้จริงแทน โดยน้ำมันปาล์มเป็นรายการต่อไป ตามหลังเหล็ก นม และยารักษาโรค ขณะที่เอกชน นักวิชาการ หนุนระยะยาวใช้ระบบลอยตัว สะท้อนความเป็นจริง

นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังพิจารณาความเหมาะสมของสินค้าที่จะตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณากลไกราคาของสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอิงกับราคาตลาดโลก ซึ่งลักษณะเหมือนกับคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาแนะนำเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ ที่จะมีการประกาศราคาแนะนำขึ้นหรือลงในแต่ละเดือนตามวัตถุดิบตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะพิจารณาสินค้าน้ำมันปาล์มเป็นลำดับแรก เนื่องจากต้องใช้วัตถุดิบที่อิงกับราคาในตลาดโลก

“นโยบายที่ รมว.พาณิชย์ สั่งให้กรมฯไปศึกษาระบบการลอยตัวราคาสินค้า คงไม่ใช่การปล่อยลอยตัวราคาสินค้าทั้งระบบ เพื่อให้ราคาขึ้นลงตามต้นทุนวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะดูแลได้ยาก แต่จะใช้วิธีตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาประกาศราคาแนะนำ โดยพิจารณาข้อมูลจากวัตถุดิบของตลาดโลกว่าเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ซึ่งราคาอาจจะขึ้น ลง หรือไม่เปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน โดยขณะนี้ก็มีสินค้าที่มีคณะอนุกรรมการดูแลราคาให้เป็นไปตามกลไกอยู่ เช่น เหล็ก ผลิตภัณฑ์นม และยารักษาโรค” นายยรรยง กล่าว

ก่อนหน้านี้ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ระบุว่าได้ให้กรมการค้าภายในไปศึกษาระบบลอยตัวราคาสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอิงกับตลาดโลก เพราะให้การเปลี่ยนแปลงราคาสามารถขึ้น-ลงได้ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไป

นาวาโทหญิง วรรณพร มาศเกษม นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายของ รมว.พาณิชย์ ที่จะให้กลุ่มน้ำมันพืชเป็นระบบลอยตัวราคาสินค้า เพื่อให้การปรับขึ้นราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งเชื่อว่าผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างที่หวั่นเกรงกัน เพราะตลาดน้ำมันพืชมีการแข่งขันสูง ซึ่งการปรับขึ้นราคาสินค้าแต่ละครั้ง หากไม่จำเป็นจริงผู้ประกอบการจะไม่ปรับขึ้นราคาเด็ดขาด เพราะอาจเสียตลาดให้กับคู่แข่ง แต่หากรัฐควบคุมราคาเพดานไว้ จะส่งผลเสียมากกว่า เพราะราคาที่ควบคุมไม่เป็นไปตามต้นทุนทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด จากการลดกำลังผลิตของผู้ประกอบการ และการกักตุนราคาสินค้าเพื่อเก็งกำไรในระหว่างที่รอการอนุมัติปรับขึ้นราคาแต่ละครั้ง

“น้ำมันพืชเป็นกลุ่มที่มีกลไกแข่งขันสมบูรณ์ เพราะมีผู้ประกอบการมากกว่า 10 ราย จึงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการปรับขึ้นราคาเกินความเหมาะสมจนกระทบผู้บริโภค เพราะหากช่วงไหนราคาวัตถุดิบปรับลด ผู้ประกอบการก็พร้อมลดราคา โดยใช้วิธีส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่น) แต่หากราคาวัตถุดิบขึ้นสูงมาก ผู้ประกอบการต้องปรับขึ้นเพราะความจำเป็น” นาวาโทหญิงวรรณพร กล่าว

หวั่นพาณิชย์ไฟเขียวนำเข้าปาล์มน้ำมันดิบทำตลาดป่วน

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณื กล่าวถึงนโยบายการนำเข้าปาล์มดิบดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกน้ำมันปาล์มของไทยมาก เพราะในเดือนหน้าผลผลิตปาล์มจะริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้ว และที่ผ่านมา ราคาปาล์มตกต่ำมาตลอด ซึ่งสวนทางกับราคายางพารา ทำให้ผู้ปลูกปาล์มได้รับผลกระทบมาหลายปี ทั้งขาดแคลนแรงงานในการเก็บผลปาล์ม และปาล์มราคาตก แต่เมื่อปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น กลับมาโดนนโยบายนำเข้าปาล์มอีก ซึ่งการอ้างว่าน้ำมันปาล์มในประเทศขาดแคลนนั้นไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะน้ำมันพืชนั้น จริง ๆ แล้วไม่ขาดแคลน แต่เพราะกรมการค้าภายในไปให้ข่าวว่าจะมีการอนุมัติให้ปรับราคาน้ำมันพืช ทำให้เกิดการกักตุนสินค้ากันอย่างอุตลุด และแทนที่กรมการค้าภายใน จะไปแก้ปัญหาในเรื่องการกักตุนสินค้า กลับมาใช้วิธีอนุมัตินำเข้า สร้างผลกระทบต่อผู้ปลูกปาล์มอีก

นายธวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่การดูแลราคาสินค้าจะเปลี่ยนจากการควบคุมมาเป็นระบบลอยตัว เพราะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของผู้ประกอบการ แต่ควรเป็นแผนระยะยาว เพราะต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภค โดยระยะสั้นรัฐบาลควรใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปในการลอยตัว โดยเลือกสินค้าที่ไม่มีผลต่อประชาชนมากนัก และสินค้าที่ปกติรัฐบาลไม่เคยควบคุม หรืออนุมัติให้ทุกครั้งที่ผู้ประกอบการมาขอปรับขึ้น เพราะหากใช้วิธีควบคุมราคาจะทำให้เสียเวลาในการพิจารณามากเกินไป

“อนาคต ไทยควรใช้ระบบลอยตัวราคาสินค้า เพราะหากควบคุมทั้งหมด ก็ไม่สอดคล้องกับปัจจัยในโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีการลอยตัว เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน เชื่อว่ากลไกตลาดจะทำงาน โดยผู้ประกอบการไม่กล้าปรับขึ้นราคาสินค้ามาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อยอดขายได้ แต่หากมีการปรับขึ้นราคาเกินจริง ก็เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องหากลไกตรวจสอบและกำหนดราคาไม่ให้ขึ้นเกินจริง เป็นสิ่งที่ภาครัฐควรทำมากกว่าควบคุมราคาทั้งหมด” นายธนวรรธน์ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us