Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 มกราคม 2551
กำไรหุ้นกลุ่มแบงก์ Q4/50 ทรุดเตรียมหวนผงาดปีนี้ หลังสิ้นภาระกันสำรอง             
 


   
search resources

Banking and Finance




โบรกฯฟันธงผลประกอบการกลุ่มแบงก์ไตรมาส 4 ส่งท้ายปีหมูวูบ! เหตุถูก ทหารไทย-ไทยธนาคารฉุด แม้แบงก์ใหญ่ยังโตดี ผ่านข้ามปีหนูคาดกำไนกลับทิศจากทิศทางภาระกันสำรองลดลง บวกทำรายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น เชียร์เก็บ 3 แบงก์ใหญ่คาดผลงานเข้าตา ส่วนแบงก์เล็กก็มีปันผลงาม

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์(บล.)กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะออกมาในทิศทางขาดทุน เนื่องจากมี 2 ธนาคารหลักคือ ธนาคารทหารไทย (TMB) ที่มีผลขาดทุนจำนวนมากถึง 25,000 ล้านบาท และธนาคารไทยธนาคาร (BT) ที่มีเรื่องของการตั้งเงินสำรอง CDO ซึ่งเข้ามาฉุดให้ผลประกอบการโดยรวมปรับตัวลง

“จากการประเมินผลประกอบการของกลุ่มแบงก์ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 ในเบื้องต้น ก่อนที่จะมีการสรุปตัวเลขจริง ยอมรับว่าการทำกำไรของกลุ่มแบงก์ทั้งกลุ่มเชื่อว่าน่าจะขาดทุน โดยการขาดทุนดังกล่าวมาจาก 2 ธนาคารหลักที่ชุดให้การทำกำไรของแบงก์ทั้งกลุ่มปรับตัวลงมา คือ TMB และ BT”

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ก็ยังนับว่ามีผลประกอบการดีอยู่และแนวโน้มการทำกำไรน่าจะเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงปีก่อนหน้า โดยในเบื้องต้นจากการประเมินพบว่า ธนาคารกรุงเทพ (BBL) จะทำกำไรได้ประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณ 20% ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คาดว่ามีกำไรประมาณ 4,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 300% ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คาดว่ามีกำไรประมาณ 3,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 5% ธนาคารกรุงไทย (KTB) มีกำไรประมาณ 2,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 390% และธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ทำกำไรได้ประมาณ 950 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 6%

ส่วนทิศทางการลงทุนในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงปีนี้ มองว่าหลักทรัพย์ในกลุ่มดังกล่าวน่าสนใจและสามารถเข้าไปลงทุนได้ ส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารขนาดใหญ่ คือ BBL, SCB และ KBANK เนื่องจากมีพื้นฐานดีรองรับกับปัจจัยลบเข้ามากระทบได้ผลประกอบการการเติบโตของสินเชื่อปี 2551 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2550

ในส่วนของกลุ่มธนาคารขนาดเล็กประเภทเช่าซื้อช่วงปีนี้ถือเป็นอีกปีที่จะเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะหากสถานการณ์ต่างๆเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะจะช่วยส่งเสริมได้อีกทาง ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงปีที่ผ่านมา แม้มีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ก็ยังสามารถเดินต่อไปได้ ดังนั้นหากสถานการณ์ปรับไปในทิศทางดีขึ้น ก็จะยิ่งช่วยสนับสนุนธุรกิจมากขึ้น สำหรับธุรกิจเช่าซื้อและน่าสนใจในการเข้าไปลงทุนปีนี้ คือ ธนาคารทิสโก้ (TISCO) และธนาคารเกียรตินาคิน (KK)

ด้านนักวิเคราะห์จาก บล.ทรีนีตี้ มองสอดคล้องกันว่า ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 อย่างไม่เป็นทางการคาดว่าน่าจะขาดทุนมากกว่า เนื่องจากธนาคารทหารไทย (TMB) มีผลขาดทุนมากถึง 24,000 ล้านบาท ซึ่งการขาดทุนจำนวนมากขนาดนี้จะส่งผลให้ฉุดยอดการกำไรของธนาคารพาณิชย์ทั้งกลุ่มปรับตัวลงมา อย่างไรก็ตามมองว่าในช่วงปีนี้ ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากการตั้งการสำรองของธนาคารตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดลง ซึ่งเป็นผลให้ธนาคารต่างกลับมาทำกำไรมากขึ้น ที่สำคัญช่วงปีนี้หลายธนาคารมีการหันมาเน้นในเรื่องของค่าธรรมเนียมมากขึ้นด้วย

ดังนั้น หากนักลงทุนที่ต้องการเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็ทำได้ แต่ตัวที่โดดเด่นน่าสนใจเป็นพิเศษ คือ SCB และ KBANK ส่วนธนาคารขนาดเล็กประเภทเช่าซื้อรถยนต์ คือ TISCO และบริษัททุนธนชาต (TCAP)

ขณะที่บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส คาดการผลประกอบการไตรมาส 4 ของกลุ่มแบงก์จำนวน 8 แห่งว่า จะมีกำไรรวมกันทั้งสิ้น 2,476 ล้านบาท ลดลง 67.1% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีกำไรสุทธิ 1,863 ล้านบาท BBL มีกำไรสุทธิ 4,364 ล้านบาท BT ขาดทุนสุทธิ 3,265 ล้านบาท KBANK มีกำไรสุทธิ 3,598 ล้านบาท KTB มีกำไรสุทธิ 2,731 ล้านบาท SCB มีกำไรสุทธิ 4,658 ล้านบาท SCIB มีกำไร 1,043 ล้านบาท และ TMB ขาดทุนสุทธิ 12,516 ล้านบาท

นอกจากนี้เอเซียพลัสยังคาดว่ากลุ่มแบงก์จะมีการตั้งสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และหนี้จัดชั้นเชิงคุณภาพไตรมาส 4 รวมกันประมาณ 32,625 ล้านบาท โดย TMB เป็นแบงก์ที่มีการตั้งสำรองสูงสุดจำนวน 25,428 ลบ.

ทั้งนี้เอเซียพลัส แนะนำซื้อหุ้นBAY ,KBANK ,SCIB ,SCB ,KTB และแนะนำขายหุ้น TMB ,BT ส่วน BBL ไม่มีคำแนะนำ

ด้าน สิริณัฏฐา เตชะศิริวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส ประเมินแนวโน้มการจ่ายปันผลของธนาคารพาณิชย์งวดปี 2550 ว่าหลายธนาคารอาจมีการจ่ายปันผลลดลงจากปีก่อน หรืออาจจะงดการจ่ายปันผล เนื่องจากผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาของธนาคารพาณิชย์รวมปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตามในส่วนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ถือว่ามีผลการดำเนินงานที่ดี จึงคาดว่าจะจ่ายปันผลเท่ากับปี2549 โดยคาดว่า KBANK ผลการดำเนินงานในรอบปี 2550จะสามารถจ่ายปันผลได้ 1.75 บาท/หุ้น ซึ่งครึ่งปีจ่ายปันผลไปแล้ว 0.50 บาทต่อหุ้น ,BBL คาดว่าทั้งปีจะจ่ายปันผลได้ 2.75 บาท/หุ้น จ่ายไปแล้ว 1 บาทต่อหุ้น และ SCB คาดว่าจะสามารถจ่ายปันผลทั้งปีได้ 2 บาท/หุ้น

"ธนาคารขนาดใหญ่น่าจะจ่ายปันผลได้ในอัตราเท่ากับปีก่อนหน้าเพราะกำไร 9 เดือน เพิ่มขึ้นประมาณ 10% "

ส่วน KTB คาดว่าจะจ่ายปันผลลดลง จากปีก่อนหน้า(2549)ที่จ่ายปันผลทั้งปี 0.50 บาทต่อหุ้น แต่ BAY อาจงดจ่ายเงินปันผลในปีนี้เนื่องจากขาดทุนจากการตั้งสำรอง และมีค่าใช้จ่ายมากในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับ SCIB ซึ่งคาดว่าจะไม่จ่ายเงินปันผล

สำหรับธนาคารขนาดเล็กยังสามารถจ่ายปันผลตอบแทนในอัตราสูง เช่น TISCO คาดว่าจะสามารถจ่ายปันผล 2.00 บาท/หุ้น ,KK คาดว่าจะจ่ายได้ 2.20 บาท/หุ้น และ TCAP คาดว่าจะจ่ายได้ 0.80 บาท/หุ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us