Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 มกราคม 2551
'ฟิทช์'ประเมินฐานะLHแข็งแกร่ง ปรับแนวโน้มเครดิตมีเสีถยรภาพ             
 


   
www resources

โฮมเพจ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ - แลนด์แอนด์เฮ้าส์
โฮมเพจ ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.
ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย), บจก.
Real Estate




รายงานข่าวจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งว่า ได้ปรับแนวโน้มเครดิตของบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH เป็นแนวโน้มมีเสถียรภาพจากแนวโน้มเป็นลบ ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ของ LH ระยะยาวที่ระดับ "A- (tha)" (A ลบ (tha)) และระยะสั้นที่ระดับ "F2 (tha)" ทั้งนี้ การปรับแนวโน้มเครดิตเป็นมีเสถียรภาพของ LH สะท้อนถึงความสามารถของบริษัทในการบริหารกระแสเงินสดรับและจ่ายได้ดีกว่าที่ฟิทช์คาดการณ์ไว้ในปี 2550 ถึงแม้บริษัทจะมีนโยบายจ่ายเงินปันผลที่สูงและมีการลงทุนในธุรกิจอื่น โดยปัจจัยดังกล่าวช่วยลดความกังวลของฟิทช์ต่ออัตราส่วนหนี้สินที่สูงขึ้นซึ่งมีผลทำให้ฟิทช์ปรับแนวโน้มเครดิตของ LH เป็นลบในเดือนพฤศจิกายน 2549

นอกจากนี้ ฟิทช์คาดว่าแนวโน้มที่ดีขึ้นของตลาดบ้านเดี่ยวและความสามารถในการชิงส่วนแบ่งตลาดจากผู้ประกอบการบ้านเดี่ยวรายเล็กน่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของกำไรและช่วยให้อัตราส่วนหนี้สินของบริษัทปรับตัวดีขึ้นได้ในปี 2551

สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ยอดหนี้สินสุทธิของ LH ลดลงเหลือ 1.21 หมื่นล้านบาทจากระดับ 1.32 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ลดลงมาที่ 3.0 เท่า จาก 3.6 เท่า ณ สิ้นปี 2549 การปรับตัวดีขึ้นของระดับหนี้สินสุทธิและอัตราส่วนหนี้สินเป็นผลมาจากการที่บริษัทลดการขยายโครงการใหม่ในปี 2550 ซึ่งทำให้มีการซื้อที่ดินใหม่ที่ไม่สูงมากนักและมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการใหม่ที่ลดลง รวมทั้งมีผลจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของบริษัท

ขณะที่ผลประกอบการของ LH น่าจะยังคงแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ซึ่งน่าจะทำให้ระดับของหนี้สินสุทธิและอัตราส่วนหนี้สินลดลงต่อไปอีก แม้ว่าบริษัทจะมีแผนขยายโครงการใหม่ที่เพิ่มขึ้นในปี 2551 มีการจ่ายเงินปันผลที่ยังสูงอยู่ที่ระดับ 80% และมีความต้องการใช้เงินเพื่อลงทุนในกิจการอื่น ฟิทช์มองว่าความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งขึ้นและการที่บริษัทอาจจะมีการขายทรัพย์สินจะช่วยลดระดับของหนี้สินสุทธิและอัตราส่วนหนี้สินให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับอันดับเครดิต ณ ปัจจุบันได้ภายในสิ้นปี 2551 อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของหนี้สินสุทธิและอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่า 3.0 เท่า อย่างต่อเนื่อง อาจจะมีผลกระทบในทางลบต่ออันดับเครดิตได้

ทั้งนี้ อันดับเครดิตของ LH สะท้อนถึงความเป็นผู้นำในการประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ชื่อเสียงอันแข็งแกร่ง ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ LH เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยเป็นผลจากการที่ LH มีการถือครองที่ดินเปล่าจำนวนมากและความสามารถในการประหยัดเชิงต้นทุนจากขนาดการผลิตของโครงการขนาดใหญ่ของบ้านประเภทสร้างเสร็จก่อนขายบนทำเลที่ดีในกรุงเทพมหานคร รวมทั้ง LH ยังมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินและความสามารถในการสร้างกระแสเงินสด

อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตของ LH ได้พิจารณารวมถึงลักษณะความผันผวนของวัฎจักรธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย รวมถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงจากการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินและวัสดุก่อสร้าง การที่ LH ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจธนาคารที่เน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อรายย่อยทำให้บริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยงเนื่องจากบริษัทมีดำเนินธุรกิจธนาคารมาก่อน ในปี 2550 LH ได้มีการลงทุนเพิ่มอีก 301 ล้านบาท ในธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารแห่งนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us