|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ว่าแบงก์ชาติรับบาทแข็งเหตุมีเงินไหลเข้า และเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ยันพร้อมดูแลให้เกาะกลุ่มกับภูมิภาค ระบุขณะนี้กนง.อยู่ระหว่างเตรียมปรับกรอบเงินเฟ้อหลังราคาน้ำมันพุ่งแรง รอพ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่-รมว.คลังคนใหม่สรรหากนง.ชุดใหม่ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐเชื่อยังไม่ถึงขั้นทรุดหนัก และยังมีผลต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยน้อย
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้วาการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเงินบาทแข็งค่าขึ้นนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากเงินทุนไหลเข้ามายังไทย ซึ่งทุกประเทศก็มีแนวโน้มเช่นนี้ แต่ต้นตอใหญ่เป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง แต่ธปท.ก็จะพยายามดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับประเทศคู่ค้าและเกาะกลุ่มกับประเทศแถบภูมิภาค เพื่อไม่ให้เสียเปรียบด้านการแข่งขัน
"ช่วงที่ผ่านมาผู้ส่งออกของไทยมีการปรับตัวดีขึ้น โดยหันไปเจาะตลาดใหม่มากขึ้น ขณะที่อัตราการการส่งออกไปยังสหรัฐก็มีสัดส่วนลดลง ดังนั้น ต่อไปผู้ส่งออกเองก็ควรหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพของสินค้าให้มีต่อเนื่อง ส่วนที่มีบางฝ่ายมองว่าค่าเงินบาทจะแตะที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐนั้น ธปท.ไม่กล้าฟันธงว่าบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าหรืออ่อนตัวลง ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสำคัญ”
ค้าเงินคาดบาทแกว่ง 33.10-33.25
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ (9 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 33.18-33.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากช่วงเช้าที่ค่าเงินบาทเปิดตลาดอยู่ที่ 33.26-33.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐและอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยในวันนี้ (10 ม.ค.) คาดว่าทิศทางค่าเงินบาทน่าจะยังคงมีการปรับตัวแข็งค่าได้อีกตามการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ ทั้งนี้จะต้องติดตามดูว่าธปท.จะมีการเข้าแทรกแซงหรือไม่ โดยหากมีการเข้าแทรกแซงก็จะช่วยให้ค่าเงินบาทชะลอการแข็งค่าลงได้บ้าง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ 33.10-33.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
กนง.เล็งปรับเป้าเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนกรอบเงินเฟ้อที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินใหม่ ซึ่งปัจจุบันใช้กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0-3.5% เฉลี่ยเป็นรายไตรมาส อย่างไรก็ตามจะต้องรอการสรรหาคณะกรรมการกนง.ชุดใหม่ ตามพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะได้ลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ได้ในราชกิจจานุเบกษา พร้อมทั้งขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ที่จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อสรรหาคณะกรรมการชุดกนง.ชุดใหม่ด้วย
"ไม่แน่ใจว่ากนง.ชุดปัจจุบันหรือชุดใหม่ที่ได้จากการเลือกของรมว.คลังคนใหม่จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือก เพราะเป็นช่วงรอยต่อ แต่ตอนนี้บอร์ดกนง.ชุดปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างทบทวนว่าจะใช้กรอบเงินเฟ้อวิธีการใหม่หรือหาวิธีที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงนำกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศมาศึกษาด้วย จึงกำลังดูข้อดีและข้อเสียประกอบกัน”
นอกจากนี้ ขณะนี้ธปท.ได้มีหารือและปรึกษากับรัฐบาลชุดปัจจุบันในการเตรียมเสนอนโยบายการเงินในการทำหน้าที่ของธปท.ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ด้วย
BISชี้ซับไพรม์รุนแรงกระทบไทยแน่
ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ส่วนการเข้าร่วมประชุมของธปท.และธนาคารกลางประเทศต่างๆ 55 แห่งร่วมกับธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) เมื่อวันที่ 5-8 มกราคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ภาคการเงิน และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ซึ่งพิจารณาว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจริงทั้งภาคการผลิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคแค่ไหน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมองว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวรุนแรงจะมีผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงไทยด้วยบ้าง แต่ก็มีผลไม่มากนัก เพราะในช่วงที่ผ่านมาในหลายประเทศได้กระจายการส่งออกมากขึ้น ขณะที่ภาพสถาบันการเงินก็แข็งแกร่งเช่นกัน ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังดีอยู่ และมีเงินสำรองระหว่างประเทศในปริมาณที่สูง
"ขณะนี้สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ(Recession) ของสหรัฐยังไม่เห็นจนส่งผลกระทบต่อประเทศพัฒนาอย่างไทย ซึ่งยังไม่ได้รับผลมากนัก ดังนั้น แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะแย่ แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ปลอดภัย เพราะภาวะเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงของสหรัฐไม่มากนัก จึงได้รับผลกระทบน้อย”
ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์มองว่าประเทศสหรัฐจะเกิด Recession นั้นในที่ประชุมบีไอเอสมองว่าภาวะเช่นนั้นยังไม่เกิดขึ้น เพราะภาพเศรษฐกิจสหรัฐไม่ต่างกับ 2 เดือนที่ผ่านมา แม้ข้อมูลอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกลับมองว่าก็เป็นไปตามที่ประเมินไว้ และเชื่อว่าในครึ่งหลังของปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น
"ส่วนภาวะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ในที่ประชุมก็มีการพูดคุยกันหลายหลายประเด็น โดยบางฝ่ายก็มองว่าค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเยอะแล้ว จึงมีการหันไปซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐมากขึ้นจากปัจจุบันที่ราคาอสัหาริมทรัพย์ถูกลง ขณะเดียวกันมีสถาบันการเงินบางแห่งมีการเพิ่มทุนจากปัญหาซับไพรม์แล้ว นอกจากนี้เงินดอลลาร์ที่อ่อนเยอะแล้วจะช่วยเรื่องการส่งออก จึงไม่มีใครกล้าฟันธงว่าจะอ่อนหรือแข็งค่า เพราะสามารถพลิกกลับกันได้”
ด้านนางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ราคาน้ำมันและการจ่อปรับขึ้นราคาสินค้าในประเทศ รวมถึงปัญหาซับไพรม์ที่ยังไม่นิ่งและอาจส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะนำเข้าไปในที่ประชุมกนง.ว่าจะมีผลต่ออัตราการขยายตัวเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเครื่องชี้เศรษฐกิจในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปด้วย
"ต้องดูว่าอะไรที่เหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันทั้งอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพพอสมควร และในอนาคตอัตราเงินเฟ้อก็มีความเป็นไปได้ที่จะสูงขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศที่เราไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องดูให้เหมาะกับกรอบในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบัน”นางดวงมณีกล่าว
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันสูงกว่าสมมุติฐานที่กนง.ได้ประมาณการไว้ครั้งก่อน คือ วันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา จึงคาดว่าจะมีการปรับสมมุมติฐานใหม่ในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งจะวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ในอนาคตทั้งดีมานส์และซับพลายของตลาดโลก เทียบกับราคาน้ำมันดูไบในปัจจุบัน และสถานการณ์การเมืองในส่วนของต่างประเทศด้วย
"ทางกนง.จะนำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเป็นประเด็นในการพิจารณาของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) มาประกอบการตัดสินใจด้วย โดยมองว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอประเทศจะส่งผลต่อประเทศคู้ค้าของสหรัฐอย่างไรบ้าง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วจะมีผลให้เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวแล้วส่งผลให้ราคาน้ำมันอาจจะไม่ปรับขึ้นก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในการประชุมของกนง.จะนำมาวิเคราะห์”นางอมรากล่าว
|
|
|
|
|