Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 มกราคม 2551
ปี51จุดเปลี่ยนธุรกิจบล.หวั่นรื้อโครงสร้างตลาดทุนกระทบรายได้             
 


   
search resources

กัมปนาท โลหเจริญวนิช
Funds




นายกสมาคมโบรกเกอร์ ฟันธงธุรกิจหลักทรัพย์ปีหนูไฟต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เหตุ 2 หน่วยงานกำกับ "ก.ล.ต.-ตลท." เตรียมปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ตลาดทุน ชี้โบรกเกอร์ต้องเร่งปรับตัวรับสภาพการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหาแหล่งรายได้เพิ่มเติม ชูรายได้จากพอร์ตการลงทุนสำคัญ ขณะที่เทรนใหม่การควบรวมแบงก์-ประกัน ร่วมแจมถกรวบบล.หวังขยายธุรกิจให้ครบวงจร

นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวถึง ภาพรวมธุรกิจหลักทรัพย์ในปี 2551 ว่า ในปีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของธุรกิจหลักทรัพย์ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. จะมีการแยกการกำกับดูแลจากเดิมที่มีคณะกรรมการเพียง 1 ชุด เป็น 2 ชุด โดยจะแบ่งหน้าที่ดูแลในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ซึ่งขณะนี้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้มีการเสนอขอแก้ไขได้ผ่านกระบวนการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) เป็นที่เรียบร้อยรอเพียงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้ต่อไป

ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับกระแสทุนโลกที่เปลี่ยนแปลงจนอาจจะต้องมีการเปลี่ยนสภาพกลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) หรือจะต้องมีการแปรรูปเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือเป็นประเด็นที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นแรงผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจหลักทรัพย์ที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่กำลังใกล้ช่วงเวลาที่ต้องเปิดเสรีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

"การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทำให้ต้องมีคนใหม่เข้ามาทำงาน ซึ่งเรายังไม่รู้ว่านโยบายหรือแนวทางในการพัฒนาจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ในปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการหลักทรัพย์" นายกัมปนาท กล่าว

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างของทั้ง 2 หน่วยงานซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผู้ที่เข้ามารับผิดชอบในการกำกับดูแล รวมถึงการวางกรอบนโยบายในการพัฒนาตลาดทุนยังเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปในทิศทางเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ มุมมองในเรื่องธุรกิจที่จะต้องเพิ่มขึ้นของตลาดหลักทรัพย์หลังการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในขณะนี้ยังประเมินได้ยากว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมจะมีมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการสบายใจได้ในระดับหนึ่งคือก็การเปิดให้มีการรับฟังข้อเสนอเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎเกณฑ์บางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการรับฟังเพื่อการปรับแก้ไขในเรื่องต่างๆให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากกว่าในอดีต

นายกัมปนาท กล่าวอีกว่านอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจและผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเพื่อตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งจะต้องเร่งในการหารายได้จากด้านอื่นนอกเหนือจากรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ รายได้จากด้านอื่นๆที่จะเข้ามาเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายได้จากตลาดอนุพันธ์ (TFEX) รายได้จากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) รวมถึงสินค้าประเภทต่างๆ เช่น การนำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในรูปแบบใบรับฝากหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) เป็นต้น

นอกจากนี้ รายได้อีกด้านหนึ่งซึ่งควรจะเข้ามาส่วนสำคัญในรายได้ของบริษัทหลักทรัพย์ คือ พอร์ตการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาหลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสนใจและเริ่มมีรายได้จากส่วนดังกล่าวมากขึ้น

ส่วนเรื่องการควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มศักภาพในการแข่งขันนั้น ในช่วงที่ผ่านมามีการหารือกันระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปการควบรวมได้ ซึ่งรูปแบบที่เริ่มได้เห็นในช่วงนี้จะเป็นการหารือระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทประกัน ธนาคาร ฯลฯ เพื่อเป็นการขยายและสร้างความครบวงจรให้กับธุรกิจ

ด้านแหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า นอกเหนือจากการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในแข่งขันกับบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศแล้ว การปรับตัวเพื่อให้พร้อมกับการเข้ามามากขึ้นของบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศภายหลังการเปิดเสรีถือว่าเป็นอีกเรื่องที่ทุกบริษัทต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากศักยภาพของบริษัทในต่างประเทศรวมถึงสินค้า บริการที่หลากหลายและความชำนาญจะทำให้ได้รับความน่าสนใจมากกว่าบริษัทในประเทศ

ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือเวลาก่อนการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทหลักทรัพย์ไทยต้องเร่งความชำนาญทั้งการให้คำแนะนำสินค้าใหม่ รวมถึงการสร้างบริการที่หลากหลายเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อขายอยู่ในปัจจุบันไม่ย้ายการซื้อขายหุ้นรวมถึงการใช้บริการต่างๆไปยังบริษัทอื่น

"นอกจากต้องมีการแข่งขันกับบริษัทในไทย การที่ต้องแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นและเป็นเรื่องเร่งด่วน เรามีข้อได้เปรียบตรงที่เรามีฐานลูกค้ามาก่อนการรักษาลูกค้าให้อยู่กับบริษัทถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายหลังการเปิดเสรี" แหล่งข่าวกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us