Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มกราคม 2551
น้ำมันพืชเบนเข็มโกยส่งออก ขายเมืองไทยไม่คุ้ม ขู่ในปท.ขาดแคลน             
 


   
search resources

Food and Beverage
น้ำมันบริโภคไทย, บจก.




น้ำมันรำข้าวคิง ชี้ตลาดน้ำมันพืชปีหนู ผู้ประกอบการบ่ายหน้าส่งออกน้ำมันพืชโกยรายได้ทดแทน หลังตลาดภายในประเทศขายไม่ได้ราคา ลั่นน้ำมันพืชภายในประเทศอาจขาดแคลน ระบุหากราคาน้ำมันโลกทะลุ 130-140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล โอกาสราคาน้ำมันพืชปรับเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 50 บาทต่อขวด “น้ำมันพืชทิพ” รุกปั้นทิพไวส์ เจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ต

นายประวิทย์ สันติวัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าวคิง เปิดเผยว่า แม้ว่ากรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ปรับขึ้นราคาได้ในอัตรา ขวดละ 5.50 บาท แต่ทยอยปรับเป็น 2 ช่วง คือ 3 บาท ในเดือนธันวาคม และปรับอีก 2.50 บาท ในเดือนมกราคม โดยราคาน้ำมันปาล์มเป็นขวดละ 43.50 บาท น้ำมันถั่วเหลือง 45.50 บาท ซึ่งราคาที่ปรับขึ้น ถือว่าเป็นราคาที่ชนเพดาน ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการมีรายได้ลดลง

ดังนั้นมีโอกาสที่กลุ่มผู้ประกอบการจะหันมามุ่งเน้นส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพตลาดน้ำมันพืชต่างประเทศปรับราคาขึ้นตามการผันผวนของน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ประมาณ 98 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล การส่งออกจึงมีรายได้ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่น้ำมันพืชจะขาดแคลนบ้างภายในประเทศ หรือหากราคาน้ำมัน 130-140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล โอกาสที่ราคาน้ำมันพืชจะเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 50 บาทต่อขวดมีสูง ขณะที่ปัจจุบันราคาเฉลี่ยไม่เกิน 46 บาทต่อขวด แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการอนุมัติของกรมการค้าภายในด้วย

สำหรับสภาพตลาดน้ำมันพืชมูลค่า 7,500 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าเติบโต 3-5% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนแนวโน้มการแข่งขันจะไม่มีความรุนแรงมากนัก เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยน้ำมันพืชถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 70-80% เป็นต้น ผู้ประกอบการต้องควบคุมการใช้งบการตลาด ทั้งนี้คาดว่าตลาดน้ำมันถั่วเหลืองมูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท และน้ำมันปาล์มกว่า 4,800 ล้านบาท เติบโตไม่มากนัก เพราะราคาใกล้เคียงกับน้ำมันรำข้าวมาก อีกทั้งกระแสสุขภาพมาแรง มีโอกาสที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้น้ำมันรำข้าวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ตลาดน้ำมันรำข้าวมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท เติบโต 10-15%

คิงเน้นส่งออกโกยรายได้ทดแทน

นายประวิทย์ กล่าวถึงแผนการตลาดของบริษัทฯว่า ปีนี้มุ่งเน้นขยายตลาดต่างประเทศในเชิงรุก ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออก 55% เป็น 60% และภายในประเทศเหลือจาก 45 % เป็น 40% ส่วนการทำตลาดภายในประเทศ ไม่เพิ่มงบการตลาดโดยใช้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา 10 ล้านบาท สำหรับผลประกอบการปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 10-15% หรือมีรายได้เกือบ 700 ล้านบาท จากในปีที่ผ่านมามีรายได้ 600 ล้านบาท เติบโต 20% ขณะที่ส่วนแบ่งน้ำมันรำข้าวคิง 8 % เท่าปีที่ผ่านมา

ทิพเดินเกมเจาะตลาดพรีเมียม

นายสาธิต จิตตนิคม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิพอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันพืชทิพ เปิดเผยว่า แผนการตลาดในปีนี้ของบริษัทฯจะมุ่งเน้นภายใต้แบรนด์ “ทิพไวส์” หรือน้ำมันพืชแบ่งแยกตามการปรุงอาหาร เจาะตลาดนิชมาร์เก็ต ประกอบด้วย การเปิดตัวน้ำมันพืชใหม่ 2 ประเภท ได้แก่ น้ำมันเมล็ดฝ้าย เหมาะสำหรับทอด และน้ำมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันปาล์ม สำหรับทอดและผัด ซึ่งเซกเมนต์นึ้คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกระแสสุขภาพที่กำลังมาแรง สำหรับภาวะตลาดน้ำมันพืชบรรจุขวดมูลค่า 7,500 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่ามีอัตราการเติบโต 7-8%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us