เมื่อปี 2530 ภาพชุดและเรื่องที่บอกเล่า "กีฬาคนเหนือโลก" ของนักธุรกิจชั้นนำของไทย
5 คน ได้แก่ สุวิทย์ หวั่งหลี ผู้นำแบงก์นครธน, นพพร พงษ์เวช อดีตผู้บริหารแบงก์สยาม,
ประจักษ์ สีบุญเรือง เจ้าของห้างเทพนครพาณิชย์, ดร.รชฎ กาญจนวณิชย์, ธีระ
ต.สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช และภาสุรี โอสถานุเคราะห์
ลูกของเสรีแห่งโอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) ได้ปรากฏเป็นภาพที่หาชมได้ยากเป็นครั้งแรกในนิตยสาร
"ผู้จัดการ" ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน 2530 โดยทีมงานที่นำโดย วิรัตน์ แสงทองคำ,
สมชัย วงศาภาคย์, สมใจ วิริยะบัณฑิตกุล, ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ และช่างภาพ ครรชิต
ธำรงรัตนฤทธิ์
การขับเครื่องบินเล่นเป็นกีฬาในต่างประเทศ มานานแล้ว แต่สำหรับเมืองไทยเพิ่งเริ่มในปี
2520 ซึ่งเป็นปีที่สมาคมสโมสรการบินพลเรือนถือกำเนิด ขึ้น โดยนักธุรกิจกลุ่มที่รักการบินแล้วสั่งเครื่องบิน
Light Aircraft จากสหรัฐฯ 3 ลำ แต่ไม่สามารถจดทะเบียนได้ ศูนย์การบินทหารบกลพบุรีขอยืมไปใช้ชั่วคราว
สมาชิกจึงได้อาศัยบินที่นี่ด้วย
จนกระทั่งปี 2525 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีโครงการจะเปิดหลักสูตรวิศวกรรมการบินขึ้นที่วิทยาเขตบางพระ
ชลบุรี เป็นจังหวะเดียวกับที่รัฐบาลอนุญาตให้จดทะเบียนเครื่องบิน ในนามสมาคมฯ
และได้ร่วมกับวิทยาเขตสร้างสนามบินสำหรับเครื่องบินเล็ก
ขณะนั้น เงินค่าเรียนหลักสูตรการบิน ต้องจ่าย 40,000 บาท โดยเรียนภาคทฤษฎี
120 ชั่วโมง และหัดขับอีก 40 ชั่วโมง โดยเรียนที่หน่วยฝึกบินพลเรือน กองทัพอากาศ
หรือศูนย์ฝึกการบินพลเรือน ของกรมการบิน พาณิชย์แล้วไปสอบใบขับเครื่องบินที่กรมการบินพาณิชย์
ตอนนั้นสมาคมฯ มีเครื่องบิน 14 ลำ โดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินมือสอง มีราคาตั้งแต่
1.8 แสนบาท จนถึง 3 ล้านบาท (ในปี 2530) โดยสมาชิกเป็นผู้ซื้อแล้วบริจาคให้สมาคม
(ต่อมากฎหมายได้เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อ มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของได้)
การสมัครเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมขณะนั้น เสียค่าสมัคร 12,000 บาท ค่าบำรุงสมาคม
200 บาทต่อเดือน ชำระ โดยจ่ายล่วงหน้าครั้งละ 12 เดือน อัตราค่าชั่วโมงบิน
ชั่วโมงละ 1,350 บาท
ธีระ ต.สุวรรณ ซึ่งเป็นเหรัญญิกของสมาคมขณะนั้นกล่าวว่า จำนวนสมาชิกที่เป็นนักธุรกิจเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อตั้งเป็นจำนวนกว่าร้อยคน
โดยส่วนใหญ่สนใจขับเครื่องบินเล็กเพื่อการกีฬา ตอนนั้นมีคนมาสมัครทุกสัปดาห์
ในแต่ละสัปดาห์มีคนมาขับเครื่องบิน เฉลี่ย 10 กว่าคน โดยเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
แต่แล้วอุบัติเหตุเครื่องบินเล็กตกในปี 2537 ได้พรากชีวิต สุวิทย์ หวั่งหลี
ผู้นำตระกูลหวั่งหลี รุ่นที่ 4 ไปทันทีกับ เครื่องบินแบบ Grummanaa-5B (Tiger)
และโศกนาฏกรรมล่าสุด เมื่อ 26 เมษายน 2546 เครื่องบินเล็กลำที่เคน สารสิน
วัย 62 ขับและพาเพื่อนรุ่นน้องวัย 51 อย่างอดิศร จรณะจิตต์ ลูกเขยของหมอชัยยุทธ
กรรณสูต กับหญิงสาวอีกหนึ่งคนไปเชียงใหม่ด้วย ได้โหม่งลงกลางไร่ข้าวโพด ที่ลพบุรี
ถึงแม้กีฬาคนเหนือโลกเช่นนี้จะเสี่ยงมากๆ แต่เหตุผลที่นักธุรกิจมักพูดกันเสมอๆ
คือ "ชอบขับเครื่องบินเพราะมันสนุก ท้าทาย และที่สำคัญคลายเครียด ได้ดี"...