Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มกราคม 2551
เปิดกลยุทธ"ไทยประกันชีวิต"ปีชวด ตอกย้ำแบรนด์ธุรกิจสัญชาติไทยอันดับ1             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยประกันชีวิต

   
search resources

ไทยประกันชีวิต, บจก.
Insurance




แม้ว่าในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจจะชะลอตัวอย่างเห็นชัดทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบตามไปด้วย แต่ธุรกิจประกันชีวิตเป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่ยังสามารถเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจได้ในระดับที่ดี ขณะที่ในปีนี้แม้ว่าหลายๆฝ่ายจะประเมินภาวะเศรษฐกิจในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ภาพการแข่งขันของธุรกิจประกันชีวิตเริ่มมีความรุนแรงขึ้นภายใต้ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง”ผู้จัดการรายวัน” ได้สัมภาษณ์พิเศษ "อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล" กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด "ธุรกิจประกันชีวิตสัญชาติไทยอันดับ 1" เพื่อเปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานและผลกระทบต่อประชาชนเมื่อโครงสร้างต่างๆ ของธุรกิจประกันชีวิตได้เปลี่ยนไป

ทิศทางของธุรกิจประกันชีวิตในปี 2551

ปี 2551 ธุรกิจยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเบี้ยประกันภัยรับรวมจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% โดยปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจจะเกิดจากการแข่งขันกันภายในธุรกิจ ที่จะมีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และส่งผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจคือการขยายตลาดผ่านช่องทางอื่นๆ โดยเฉพาะ Bancassurance ที่มีแนวโน้มการเติบโตในทิศทางที่ดี

โดยในปี 2550 เบี้ยประกันรับปีแรกจากช่องทาง Bancassurance คิดเป็นประมาณ 30% ของเบี้ยประกันรับปีแรกทั้งหมด สินค้าในรูปแบบใหม่ๆ เช่น สินค้าควบการลงทุน ที่ทำให้เกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในกลุ่มลูกค้าระดับบนการขยายตลาดผ่านตัวแทน ธุรกิจจะให้ความสำคัญต่อการแสวงหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในกลุ่มลูกค้าระดับล่าง ในภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังกว้าง

กรมธรรม์ประเภทชำระเบี้ยครั้งเดียว หรือ Single Premium ได้รับความสนใจลดลง รวมถึงบริษัทประกันชีวิตต่างๆก็ชะลอการขาย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่ให้กับผู้เอาประกันภัย และทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดด้วย ส่วนกรมธรรม์ประเภทยูนิตลิงก์ ยังไม่น่าสนใจนัก เนื่องจากบริษัทประกันชีวิตต้องทำหน้าที่เสมือนโบรกเกอร์ อาจขาดความชำนาญ รวมถึงได้รับค่าคอมมิสชั่นไม่สูงนัก

ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในอีก 3 ปีข้างหน้า

คาดว่าธุรกิจจะมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้ ธุรกิจยังมีศักยภาพในการขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีสัดส่วนจำนวนผู้ถือกรมธรรม์ต่อประชากรทั้งประเทศ เพียงประมาณ 20% ซึ่งทำให้โอกาสในการขยายตัวของธุรกิจยังมีอีกมาก นอกจากนี้ธุรกิจยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างดีโดยการบรรจุความรู้ด้านการประกันชีวิตเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน ทำให้ประชาชนเห็นถึงความจำเป็นของการประกันชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้สิทธิในการลดหย่อนภาษีซึ่งอาจมีการปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต

ด้านการแข่งขันของธุรกิจ ทำให้มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต การพัฒนาช่องทางการขยายตลาดผ่านช่องทางอื่นๆ นอกจากตัวแทน เช่น Bancassurance ซึ่งเป็นช่องทางที่มีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของธุรกิจในปี 2550 รวมถึงสินค้ารูปแบบใหม่ๆ เช่น สินค้าแบบ Single premium สินค้าควบการลงทุน

การปรับตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ และค่าบริการในการรักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนตระหนักถึงการสร้างสวัสดิการให้แก่ตนเองผ่านการประกันชีวิตเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบทางไหนบ้าง และต้องปรับตัวอย่างไร

สำหรับผลกระทบต่อผู้บริโภค จากการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อม และการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในอนาคต ซึ่งโดยภาพรวมก็ส่งผลกระทบในด้านดีต่อผู้บริโภค เช่น การแยกตัวเป็นองค์กรอิสระของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ที่จะมีคณะกรรมการจากภาคประชาชนเข้ามาดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค เป็นการถ่วงดุลระหว่าง 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

พระราชบัญญัติประกันชีวิตฉบับใหม่ ที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการทำประกันชีวิตเพิ่มขึ้น เช่น การจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัย การกำหนดให้บริษัทประกันชีวิตเป็นมหาชน เพื่อความโปร่งใส สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค การแข่งขันในธุรกิจที่รุนแรงขึ้นจากการเปิดเสรี ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเข้าถึงการประกันภัยเพิ่มมากขึ้นผ่านช่องทางที่หลากหลาย และมีทางเลือกในการตัดสินใจเพิ่มขึ้น

ผลกระทบจากพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากก็เป็นอีกหนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่มีเงินฝากธนาคาร ที่ต้องเตรียมตัวเพื่อกระจายความเสี่ยงของเงินออม โดยธุรกิจประกันชีวิตเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกระจายเงินฝาก

แนวทางการบริหารงานของไทยประกันชีวิตในปี 2551

หลักสำคัญของการดำเนินงานในปี 2551 โดยพื้นฐานยังคงยึดหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนสินค้า ทั้งในด้านสินไหม การลงทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะการรู้ต้นทุนที่แท้จริง ทำให้บริษัทบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ความสำคัญกับระบบฐานข้อมูล เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญ ในการตัดสินใจและการบริหารจัดการองค์กร และกระตุ้นการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การนำข้อมูลสถิติการจ่ายสินไหม กำหนดอัตราเบี้ยประกัน เป็นต้น และให้ความสำคัญในการตอกย้ำการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ซึ่งการสร้างแบรนด์มีทั้งการโฆษณา และการจัดกิจกรรมสนับสนุน

นอกจากนั้นบริษัทยังวางนโยบายเพื่อขยายตลาดและกระตุ้นการขาย ประกอบด้วย การพัฒนาช่องทางการขายใหม่ๆ และออกสินค้าใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

ด้านระบบฐานข้อมูล บริษัทจะนำ Database Management มาใช้ในการบริหารงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่ของการขยายตลาดกลุ่มลูกค้าเดิมและการกระตุ้นการขยายตลาดของตัวแทน ซึ่งปัจจุบันสามารถออนไลน์เชื่อมโยงกับสำนักงานใหญ่ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ด้านการตลาด บริษัทมุ่งเน้นการบริการผู้เอาประกันที่เป็นมากกว่าการประกันชีวิต ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของบริการเสริมต่างๆ นอกจากนั้นยังมีสิทธิประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัย ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่บริษัทจัดขึ้นตามไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้า ผ่านคลับไทยประกันชีวิต เช่น การชมภาพยนตร์ การเรียนแต่งหน้า สปา ทำอาหาร หรือการอบรมเกี่ยวกับสุขภาพ

เป้าหมายธุรกิจของไทยประกันชีวิตในปี 2551

สำหรับปี 2551 บริษัทตั้งเป้าหมายทางการตลาด สำหรับการเติบโตของเบี้ยปะรกันรับปีแรก 6,500 ล้านบาท เบี้ยประกันรับรวม 30,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 30% ในสมมติฐานบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และนโยบายของบริษัทในปี 2551 เน้นการสนับสนุนการเติบโตให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว โดยการพัฒนาตัวแทนด้วยหลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาความคงอยู่ของตัวแทนและเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายตลาด การปรับเพิ่มโครงการแข่งขันโดยเน้นการกระตุ้นการขายอย่างทั่วถึง ทั้งโครงการเพิ่มความคงอยู่ของตัวแทน และโครงการแข่งขันสร้างจำนวนราย ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้แก่ตัวแทนในภาวะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น การขยายช่องทางการขายอื่นๆ เช่น แบงก์แอสชัวรันส์, เทเลมาร์เก็ตติ้ง, เวิร์กไซต์มาร์เก็ตติ้ง และการขายผ่านสื่ออื่นๆ การนำระบบ Database Management มาช่วยในการบริหารงานของตัวแทน ทั้งในส่วนของงานขายและการบริการผู้เอาประกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us