Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มกราคม 2551
กระดาษเล็งขยับขึ้นราคา5-10% แจงต้นทุนวัตถุดิบ-พลังงานพุ่ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
Pulp and Paper
เชาวลิต เอกบุตร




ผู้ผลิตกระดาษส่งสัญญาณราคากระดาษต้นปีนี้ขยับเพิ่มขึ้นอีก 5-10% ตามต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่วิ่งขึ้นไปก่อนหน้า ชี้ราคากระดาษในประเทศปรับไม่สูงเท่าต่างประเทศ เนื่องจากกำลังการผลิตเกินความต้องการ คาดปีนี้ความต้องการใช้กระดาษขยายตัวเล็กน้อย4-5% แถมเจอดัมป์กระดาษเคลือบ ทำให้ผู้ผลิตบาดเจ็บ

นายเชาวลิต เอกบุตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจกระดาษเครือซิเมนต์ไทย เปิดเผยว่า ราคากระดาษในภูมิภาคนี้มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานในช่วงปลายปีที่แล้ว 20 % แต่ราคากระดาษในประเทศปรับราคาขายเพิ่มขึ้นแค่ 2-3% ดังนั้นต้นปีนี้คงต้องมีการปรับราคาขายผลิตภัณฑ์กระดาษขึ้นอีกไป 5-10% เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นไปแล้ว15-20% ไม่ใช่เป็นการปรับราคาสินค้าเพื่อเก็งกำไรแต่เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจโดยปลายปี 2550 ต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะเยื่อกระดาษได้มีการปรับเพิ่มขึ้นมา โดยราคาเยื่อกระดาษใยยาวอยู่ที่ 750 เหรียญสหรัฐ/ตัน สูงกว่าเมื่อต้นปีที่แล้วถึง 150 เหรียญสหรัฐ และเยื่อใยสั้นราคาต้นปี 2550 อยู่ที่ 500 เหรียญสหรัฐ ได้ปรับราคาขึ้นไปอยู่ที่ 700 เหรียญสหรัฐในปลายปี ขณะที่ราคากระดาษคราฟท์ 400-500 เหรียญสหรัฐ/ตัน กระดาษพิมพ์เขียนอยู่ที่ 900-1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งผู้ผลิตกระดาษคราฟท์ในต่างประเทศได้ขยับขึ้นราคาในช่วงไตรมาส 3/2550 ประมาณ 15% และได้มีการปรับเพิ่มขึ้นมาอีกในช่วงปลายปี แต่ผู้ผลิตกระดาษของไทยเพิ่งปรับขึ้นมาราคาใสช่วงต.ค. 2550 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

"แม้ว่าต้นทุนวัตถุดิบจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ราคากระดาษพิมพ์เขียนในประเทศแทบไม่ได้ขยับราคาขึ้น สวนทางประเทศเพื่อนบ้านที่ได้ปรับราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เนื่องจากกำลังการผลิตในประเทศเกินความต้องการใช้ "

นายเชาวลิต กล่าวต่อว่า ในปีนี้ความต้องการใช้กระดาษของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่มากเพียง 4-5%ใกล้เคียงกับปี 2550 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศจะใช้เวลาระยะหนึ่งในการฟื้นตัวภายมีการหลังจากเลือกตั้งได้รัฐบาลชุดใหม่ ขณะที่ภาคการส่งออกของไทยในปี 2551 ยังดีอยู่ เพราะบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยยังมีการส่งออกดี แต่ปัจจัยลบต่อการส่งออก คือ ค่าเงินบาทแข็งค่า ต้นทุนวัตถุดิบและ พลังงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ปัจจัยลบดังกล่าวยังไม่มีสัญญาณว่าจะกระทบต่อการส่งออกรุนแรง

สำหรับธุรกิจเยื่อและกระดาษในเครือซิเมนต์ไทยมีการส่งออกประมาณ 20%ของกำลังการผลิตใกล้เคียงกับปีนี้ โดยส่งออกไปยังมาเลเซียและเวียดนามที่มีอัตราการใช้กระดาษเติบโตถึง 17-18% ทำให้เครือซิเมนต์ไทยมีการส่งออกกระดาษไปยังเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ก่อนตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตกระดาษคราฟท์ที่เวียดนาม ซึ่งโรงงานดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ปี 2552

นายเชาวลิต กล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วงในขณะนี้ คือ การเข้ามาทุ่มตลาดของกระดาษเคลือบในราคาที่ต่ำกว่าราคากระดาษเคลือบที่จำหน่ายในประเทศค่อนข้างมาก ทำให้มีปริมาณการนำเข้าสูงขึ้นเรื่อยๆในช่วง 2 ปีนี้ ซึ่งสมาคมเยื่อและกระดาษคงต้องไปเข้าไปตรวจสอบหาหลักฐานว่ามีการทุ่มตลาดจริงหรือไม่ หลังจากเห็นว่าราคาขายในตลาดต่ำกว่าในประเทศเข้าข่ายการทุ่มตลาด ปัจจุบันไทยมีการผลิตกระดาษเคลือบประมาณ 1.5 แสนตัน/ปี ความต้องการใช้อยู่ที่ 1.1-1.2 แสนตัน/ปี แต่มีปริมาณการนำเข้ากระดาษเคลือบในแต่ละปีสูงถึง 2-3 หมื่นตัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us