|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สินค้า 4 รายการจ่อขึ้นเร็วๆ นี้ ทั้งแบตเตอรี่ ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์นม และน้ำมันปาล์มขวด หลังราคาวัตถุดิบพุ่งไม่หยุด พร้อมนำน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล มาใช้ในการคำนวณเงินเฟ้อปีนี้ หวังให้สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด ด้านผู้ค้าก๊าซหุงต้มแนะรัฐบาลแยกโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มครัวเรือนและภาคขนส่งและขึ้นราคาเฉพาะภาคขนส่งเพื่อสกัดการใช้ผิดประเภท
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ กรมฯ อาจมีความจำเป็นต้องอนุมัติให้ผู้ประกอบการสินค้าอีก 3 ชนิดทั้งแบตเตอรี่ ปุ๋ยเคมี และผลิตภัณฑ์นม ปรับขึ้นราคาขายปลีกได้อีกเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบของสินค้าดังกล่าวมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ขณะเดียวกัน ยังมีความเป็นไปได้ที่จะอนุมัติให้น้ำมันพืชบรรจุขวดที่ทำจากปาล์มปรับขึ้นราคาอีกครั้งไม่เกินขวดละ 3 บาท (ขวดลิตร) ในไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากที่ได้อนุมัติให้ปรับขึ้นไปแล้วขวดละ 5.50 บาทก่อนปีใหม่มาอยู่ที่ 43.50 บาท จากเดิม 38.50 บาท
ทั้งนี้ ความจำเป็นในการให้ปรับราคา เป็นเพราะราคาวัตถุดิบปรับขึ้นไม่หยุด โดยแบตเตอรี่ วัตถุดิบหลัก คือ ตะกั่วบริสุทธิ์ ราคานำเข้าปรับขึ้นจากตันละ 1,048 เหรียญในปี 2547 เป็น 3,743 เหรียญในปี 2550 และตะกั่วผสม เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.30 บาท เป็น 71.70 บาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์นม ซึ่งวัตถุดิบหลัก คือ นมผงราคาเพิ่มขึ้นสูงมากเป็นตันละกว่า 5,000 เหรียญสหรัฐ จากเดิมประมาณ 4,000 เหรียญ ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 32.50 บาทจากเดิม 29.50 บาท
“การจะให้ปรับขึ้นราคาต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยต้องขึ้นแบบทยอยปรับ ขึ้นอย่างเป็นธรรม และสมเหตุสมผล โดยผู้ประกอบการต้องอยู่ได้ และผู้บริโภคต้องไม่ได้รับความเดือดร้อนมากนัก หากผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ หรือขาดทุนก็อาจมีการลดคุณภาพของสินค้าลง ซึ่งสุดท้ายก็จะกระทบต่อผู้บริโภคอยู่ดี” นายยรรยงกล่าว
ด้านนางนทีทิพย์ ทองเขาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในปีนี้จะนำราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล มาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น จากปัจจุบันที่คำนวณเฉพาะราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซลเท่านั้น เพราะแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล มีผู้ใช้มากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศในปีนี้ คาดว่าจะไม่สูงจากปีก่อนมากนัก แม้ราคาในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้น เพราะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จึงทำให้ดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อไม่มากนักอย่างที่มีความกังวลอยู่ ในส่วนราคาก๊าซหุงต้ม ที่จะลอยตัวในปีนี้นั้น พบว่า ราคาก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้น 1 บาท จะกระทบเงินเฟ้อ เพียง 0.02% เท่านั้น แต่เชื่อว่า ปีนี้เงินเฟ้อจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 3.0-3.5%
แนะรัฐขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคขนส่ง
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซหุงต้ม เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มในภาคขนส่งยังคงไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนักเนื่องจากการปรับราคาเพิ่ม 1.20 บาทต่อกิโลกรัมเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2550 ยังไม่ทำให้ราคาก๊าซหุงต้มสูงขึ้นมากหากเทียบกับราคาน้ำมันจึงทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์ยังคงใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงอยู่เพื่อลดค่าใช้จ่าย ดังนั้นรัฐบาลควรจะพิจารณาปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มแยกกันระหว่างภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง ด้วยการขึ้นราคาในภาคขนส่งให้มากกว่าปัจจุบันเพื่อลดการใช้ให้ต่ำลงมา
“ ถ้ารัฐบาลใหม่มาตัดสินใจเห็นว่า ก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนไม่ควรขึ้นเพราะเวลานี้ค่าใช้จ่ายก็สูงอยู่แล้ว แต่ภาคขนส่งที่ใช้ผิดประเภทน่าจะปรับตัวให้เพิ่มขึ้นอีกเป็นไปได้ก็สะท้อนตลาดโลกตามโครงสร้าง 40% ทันทีหรือจะต้องขยับอีกประมาณ 6 บาทต่อกก.หรือไม่พร้อมก็อาจทยอยขึ้น 1-2 บาทต่อกก. เพราะรถยนต์มีทางเลือกมากกว่าที่จะหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ NGV หรือพลังงานทดแทนอื่นๆ อีก ซึ่งหากลดลงไทยก็จะได้ประโยชน์จากการส่งออกก๊าซหุงต้มอย่างมาก”นายชิษณุพงศ์กล่าว
ทั้งนี้จากรายงานตัวเลขการใช้ก๊าซหุงต้มของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ปี 2550 จะเห็นว่าการใช้ก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้น 12.9% โดยการใช้ในรถยนต์ขยายตัวเพิ่มสูงถึง 24.2% การใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 8.5% และการใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 17.7% ซึ่งเป็นผลจากการอุดหนุนราคาจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาตลอดมีผลให้ระดับราคาของก๊าซหุงต้มกับเบนซินแตกต่างกันมาก
สำหรับกรณีราคาดีเซลที่อยู่ในระดับ 29.74 บาทต่อลิตรและมีโอกาสจะทะลุระดับ 30 บาทต่อลิตรเร็วๆ นี้นั้นทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอร้องให้ทางสมาคมฯตรึงค่าขนส่งออกไปก่อนจากที่เตรียมจะยื่นขอปรับเพิ่มอีก 5 บาทต่อถังเพราะมีภาระที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทางสมาคมฯได้สนองตอบต่อนโยบายรัฐด้วยการตรึงค่าขนส่งออกไปก่อนในขณะนี้เพราะไม่ต้องการให้เป็นภาระกับประชาชน โดยจะขอพิจารณาราคาดีเซลอีกระยะหนึ่งว่าจะมีการปรับตัวลดลงมาหรือไม่หากราคาทะลุ 30 บาทต่อลิตรไปโดยไม่ปรับตัวลดลงก็อาจจะต้องมีการยื่นขอปรับราคาอีกครั้ง
“ ทางกรมการค้าภายในยังแจ้งสมาคมฯมาให้ช่วยดูแลร้านค้าไม่ให้เอาเปรียบประชาชนในระยะนี้เพราะมีกระแสข่าวว่ารัฐจะขึ้นราคาก๊าซหุงต้มอีก 1 บาทต่อกก.จึงเกรงว่าจะมีการปรับราคาเพื่อฉวยโอกาสดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้เราได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดและได้ชี้แจงชัดเจนว่ารัฐบาลยังไม่มีการตัดสินใจแต่อย่างใด”นายชิษณุพงศ์กล่าว
นายชิษณุพงศ์กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนที่จะทยอยลอยตัวก๊าซหุงต้มด้วยการอิงราคาตลาดโลก 40% เพื่อให้ราคาสะท้อนกลไกตลาดโลกเชื่อว่าจะส่งผลให้ค่าการตลาดมีความคุ้มทุนเพียงพอที่จะจูงใจให้เกิดการเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันมีผู้จำหน่ายก๊าซหุงต้มรายใหญ่เพียง 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มปตท. สยามแก๊สและ ปิกนิกแก๊ส เท่านั้น
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ราคาก๊าซหุงต้มตลาดโลกล่าสุดอยู่ในระดับ 872 เหรียญต่อตันคงจะต้องติดตามราคาก๊าซหุงต้มอีกระยะหนึ่งก่อนซึ่งรัฐบาลชุดนี้จะมีการตัดสินใจปรับราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นตามกรอบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ที่กำหนดไตรมาสแรกปีนี้ให้อิงตลาดโลก 5% หรือไม่นั้นยังมีเวลาอีกพอสมควรที่จะตัดสินใจ
“ ยังมีเวลาอยู่อีกไม่ต้องรีบขอดูตลาดโลกก่อนที่จะตัดสินใจ แต่ราคาที่จะขึ้น 1 บาทต่อ กก.นั้นผมคิดว่าไม่ใช่ตัวเลขนี้”นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
|
|
|
|
|