|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ในปัจจุบันซึ่งถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยน ความยืดหยุ่นและความรวดเร็วในการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ทรัพยากรมนุษย์ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร หากการทำให้องค์กรของท่านมีความสามารถแข่งขันได้ในตลาดถือเป็นสิ่งสำคัญ ท่านควรให้ความสนใจกับทิศทางทั้ง 5 ประการ ที่จะนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จในปี 2551 ดังนี้
ทิศทางที่ 1 ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและการรักษาความสัมพันธ์และความรู้สึกที่ดี
ส่วนใหญ่แล้ว องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะสามารถบริหารปัจจัยด้านเทคโนโลยีและปัจจัยด้านพนักงานให้สามารถดำเนินงานได้อย่างผสมผสานโดยมีประสิทธิภาพ องค์กรที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้จะประสานหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีก็ยังคงมีอยู่เช่นนี้ต่อไปและจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับสถิติการลาออกจากงานของบางบริษัท ซึ่งไม่ว่าเราจะมีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีมากเพียงใด พนักงานก็ยังถือเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จ ผู้นำจะเป็นผู้ที่มีความเข้าใจว่าความสามารถใดที่จำเป็นต่อการนำองค์กรไปสู่อีกขั้นหนึ่ง และจะเป็นผู้ที่จัดเตรียมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้แก่พนักงาน เราจะเห็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวเมื่อเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้ผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผล
ทิศทางที่ 2 การพัฒนาพนักงานถือเป็นกระบวนการไม่ใช่โปรแกรม
การพัฒนาพนักงานควรจะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง จะไม่มีเสียงเรียกร้องว่า "เราต้องการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้" ระหว่างช่วงหลักสูตรการสื่อสารระยะเวลา 1-2 วันอีกต่อไป องค์กรจะประเมินระบบการสื่อสารทั้งหมด กำหนดเป้าหมายโดยรวม และพัฒนาโปรแกรมที่ตอบสนองต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ด้วยความระมัดระวัง แทนที่จะส่งพนักงานและผู้จัดการที่มีความคล้ายคลึงกันเข้าร่วมฝึกอบรมในหลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้ง การสร้างทีม หรือการเป็นหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมกัน พนักงานแต่ละคนและทีมต่างๆจะได้รับการสอนงานและการสนับสนุนที่เฉพาะเจาะจงตามความต้องการของแต่ละคน โปรแกรมต่างๆ จะได้รับการจัดเตรียมไว้อย่าง "ทันเวลา" โดยสอดคล้องกับความจำเป็นต่อธุรกิจในด้านต่างๆ สำหรับผู้นำอุตสาหกรรมแล้ว โปรแกรมเดียวที่ใช้กับทุกสถานการณ์ถือเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้ว
ทิศทางที่ 3 พนักงานในฐานะที่ปรึกษาภายในองค์กร
กล่าวลากับการเป็นจ้าวแห่งการกำหนดรูปแบบและตัวเก็บเอกสาร ถึงแม้ว่าผู้ที่มีข้อมูลหรือเอกสารต่างๆ จะมีความจำเป็นอยู่เสมอก็ตาม แต่เขาเหล่านี้จะกลายเป็นรองให้กับบทบาทที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่า ทอม ปีเตอร์ส ได้กล่าวไว้ในนิตยสาร 200 Workforce ไว้ว่า "...ในความคิดของเจ้านายหรืออาจจะเป็นความคิดของคุณ คุณเป็นเพียงแค่ช่างกลมากกว่าที่จะเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ ...สิ่งที่เป็นข้อกังวลอย่างแท้จริงสำหรับผมก็คือการที่ทรัพยากรมนุษย์ไม่มีบทบาทอื่นนอกเหนือจากกรอบการทำงานของตนเอง" เขายังกล่าวไว้ว่า "แทนที่จะจมอยู่กับงานในตำแหน่งธุรการสนับสนุนภายใต้ระบบการทำงานอันเชื่องช้ามีขั้นตอนมากมายเหมือนราชการ ทำไมคุณไม่เปลี่ยนโฉมตัวเองให้กลายมาเป็นดาวเด่นแห่งยุคของคนมีฝีมือ"
ดังนั้นการจัดการสร้างวิสัยทัศน์ภายในจำเป็นต้องมุ่งเน้นเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในความต้องการโดยรวมขององค์กร ท่านจะไม่สามารถเป็นที่ปรึกษาภายในได้หากท่านจมปลักอยู่กับรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ การดึงตัวออกจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แล้วมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่จะช่วยก่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดแก่องค์กรถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ตอนนี้ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในสายทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากได้มีการมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความสามารถกันอย่างมาก พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ทั้งหลายควรพิจารณาว่านี่คือช่วงแห่งการเก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาส องค์กรของท่านจะต้องการกลยุทธ์ที่ครอบคลุมสำหรับการดึงและรักษาตัวพนักงานที่มีความสามารถไม่เหมือนกับแต่ก่อน ซึ่งตรงนี้นี่เองที่ท่านสามารถสร้างความแตกต่างได้
ทิศทางที่ 4 องค์กรที่มีทุนความรู้ถือเป็นพระราชา (หรือพระราชินี)
การจัดการองค์ความรู้กำลังเข้ามามีความสำคัญอย่างรวดเร็วในองค์กรต่างๆ และองค์กรเหล่านี้ก็ได้พยายามด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยคงรักษาความรู้เอาไว้เมื่อมีพนักงานลาออก ส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหานี้ก็คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่จะช่วยรักษาให้พนักงานคงอยู่กับองค์กร อย่างไรก็ตาม องค์กรต่างๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลาออกจากงานของพนักงานได้ทั้งหมด
ในกรณีเช่นนี้ การจัดการองค์ความรู้จะเป็นการช่วยให้เกิดความแน่ใจว่าความรู้ต่างๆ ที่พนักงานมีอยู่จะไม่หายไปพร้อมกับที่พวกเขาก้าวออกจากประตู ดร.ยูเกช มาลโฮตรา จาก @Brint.com ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้กับ Inc.Technology และได้เน้นความสำคัญไว้ใน Inc.Technology ฉบับพิเศษที่ 3 ปี 1999 ไว้ว่ามันมากไปกว่า "การรู้ว่าคุณรู้ในสิ่งใดและดึงเอาผลประโยชน์จากสิ่งที่คุณรู้" หากจะกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือว่า "อัพเดทความรู้ความสามารถตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ ก่อนที่คนอื่นจะก้าวมาทำให้ความรู้ที่คุณมีอยู่เป็นสิ่งล้าหลังและสร้างผลประโยชน์โดยการสร้างความท้าทายและโอกาสต่างๆ ที่ผู้อื่นไม่เคยคาดคิดมาก่อน"
การจัดการองค์ความรู้เป็นการใช้สิ่งที่ท่านรู้และนำมาใช้เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน องค์กรแถวหน้าต่างๆ ก็จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
ทิศทางที่ 5 โลกาภิวัฒน์สามารถย่อโลกให้แคบลง
โลกได้กลายมาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ถือเป็นข้อเท็จจริงของธุรกิจและชีวิต ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะแข่งขันกันในเรื่องของการผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ และด้วยการเจริญเติบโตและการขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆ ขององค์กรต่างๆ ความรู้ในประเด็นต่างๆ รอบโลกถือเป็นการบริหารองค์กร กรุณาพิจารณาข้อมูลด้านล่างที่อ้างอิงมาจาก SHRM's Workplace Visions (Number 5-2000) Publication:
* 5 ใน 6 ระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกจะเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2020
* ในปัจจุบัน ฟอร์ดและไอบีเอ็มมีพนักงานที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกามากถึง 54% และ 51% ในอีกไม่ช้า องค์กรต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาก็อาจจะมีพนักงานที่ทำงานอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น
* รูปแบบความชื่นชอบของลูกค้าจากทั่วโลกจะมีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น หกในสิบขององค์กรจากสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่าพวกเขามีบริษัทที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศท่ามกลางบริษัทคู่แข่งของ 5 อันดับต้นตน
แล้วองค์กรของท่านมีลักษณะเช่นใด อะไรเป็นโอกาสและอุปสรรคสำหรับองค์กรของท่าน ซึ่งนักบริหารจำเป็นจะต้องสวมบทบาทผู้นำในการกำหนดกลยุทธ์การใช้ทุนทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระดับสากลอันถือเป็นวิธีการที่จะก้าวไปสู่องค์กรที่ประสบความสำเร็จ
แหล่งข้อมูลจาก บริษัท APMLearning ผู้เชี่ยวชาญในการบริหารและพัฒนาบุคลากร
|
|
 |
|
|