Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์31 ธันวาคม 2550
ส่องเส้นทางบริหาร.... สู้วิกฤตปี'51             
 


   
search resources

บุญฤทธิ์ มหามนตรี
Knowledge and Theory
สรณ์ จงศรีจันทร์
สุวิทย์ กิ่งแก้ว




- จะบริหารอย่างไรเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในปี 2551
- ที่ปรึกษาองค์กรชั้นนำชี้ทาง "ภาวะผู้นำ" ปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จ
- ผู้บริหารระดับสูงในเครือซีพี เน้น "พัฒนาศักยภาพภายใน" สู่ความยั่งยืน
- เครือสหพัฒน์ฯ แนะมุ่งนำ "ปัจจัยใหม่" สร้างความแข็งแกร่งองค์กรต่อกรการแข่งขันระดับโลก

แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวมในด้านลบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งในปี 2551 ที่กำลังมาถึงนี้ นักวิเคราะห์ทั้งที่เป็นนักวิชาการและนักบริหารต่างแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า แม้ปัจจัยลบด้านการเมืองของไทยซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศดูเหมือนจะผ่อนคลายลง แต่ยังไม่ใช่ทิศทางที่สดใส สิ่งสำคัญที่จะทำได้คือผู้บริหารต้องเตรียมพร้อมรับมือและเน้นการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์

ที่ปรึกษาแนะทางฝ่าวิกฤต

สรณ์ จงศรีจันทร์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท Young & Rubicam ที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กร มองว่าแนวโน้มด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2551 ยังไม่มีทีท่าจะฟื้นตัวในทิศทางที่ดีนัก ดังนั้น แนวโน้มด้านการจัดการเพื่อฝ่าวิกฤตในปีหน้า สิ่งที่จะเป็นทางรอดต้องมาจากการจัดการด้วยการเน้นสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ารายเดิม เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและสามารถจัดการได้ง่ายกว่าลูกค้ารายใหม่

การจะตอบโจทย์ความต้องการในระยะยาวนั้น ผู้ประกอบการและผู้บริหารต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตน โดยควรจะร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อให้สินค้าของตนเกิดความหลากหลายและมีคุณค่าเกินกว่าความคาดหมายของผู้ใช้

ขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงการบริหารต้นทุนให้เหมาะสมกับรายรับของหน่วยงาน ซึ่งต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีในระยะยาวเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองในอนาคต และต้องถามตนเองอยู่เสมอว่า สินค้าและบริการที่มีอยู่มีความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดหรือไม่? เพราะความแตกต่างจะเป็นตัวกำหนดอนาคตขององค์กร ขณะที่ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ต้องขึ้นอยู่กับการวางรากฐานด้านการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในอย่างเป็นระบบและจริงจังในกระบวนการจัดการ

"ถามตนเองว่า สินค้าและบริการเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้ารายเก่าและรายใหม่หรือไม่ ด้วยการสำรวจความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาแนวทางป้องกันความเสี่ยงกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว"

สรณ์ ยังแนะนำถึงบทบาทของ CEOว่า ต้องเป็นทั้งผู้นำทางความคิดและนักปฏิบัติ เพราะในโลกขณะนี้การจะชักจูงพนักงานให้ทำงานตามที่สั่งไม่ได้อีกต่อไป แม้จะนำเทคโนโลยีด้านอีเมลมาใช้ก็ตาม เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นแรงจูงใจของกระบวนการสู่ความสำเร็จของผู้บริหาร ต้องมาจากการทำตนเองให้เป็นแบบอย่าง

สำหรับบทเรียนในปี 2550 ที่ผ่านไป องค์กรธุรกิจได้เรียนรู้ถึงบทบาทของความเป็นผู้นำที่ต้องมีการตัดสินใจที่ชัดเจน จะเห็นได้จากความผิดพลาดในการบริหารประเทศโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่ไม่มีความชัดเจนในการตัดสินใจ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจและสังคมขาดผู้นำที่เข้มแข็ง

"ในปีหน้า องค์กรที่มีอายุของการทำงานมาอย่างยาวนานมีสิทธิที่จะตกอยู่ในภาวะวิกฤติได้หากไม่มีการปรับตัว เพราะองค์กรที่มีอายุยืนยาวทำให้บุคคลากรภายในยึดติดกับสิ่งที่เป็นอยู่เดิม ดังนั้น ในการแก้ปัญหา องค์กรจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เพื่อให้มีความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง"

สรณ์ ยังได้แนะนำอีกว่า ผู้ประกอบการไทยและผู้บริหารต้องประยุกต์การบริหารจัดการ ด้วยการนำจุดเด่นในการบริหารแบบครอบครัว คือการมีความใกล้ชิดกับลูกน้องมาใช้ ขณะเดียวกันต้องระวังการใช้อารมณ์ในการจัดการกับปัญหาโดยต้องมีสติทุกครั้งทั้งการคิดและปฏิบัติ

"วันนี้ผู้ประกอบการควรจะเลิกหวังพึ่งความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือคนอื่นได้แล้ว แต่ต้องหันมาสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานของตนให้มากที่สุด"

มองปัจจัยลบให้เป็นโอกาส

สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มองถึงทิศทางการบริหารองค์กรในปี 2551 ว่า จากสถานการณ์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจโดยรวมที่คาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลลบทำให้ผู้ประกอบการต้องเน้นการสร้างศักยภาพภายในของตนเองให้มากขึ้น และเลิกรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพราะในความเป็นจริงความยั่งยืนที่เกิดขึ้นในธุรกิจนั้นเป็นสิ่งต้องสร้างขึ้นเองจากภายในองค์กร

สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องทำคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการทำให้เกิดการคิดเชิงกลยุทธ์อย่างเป็นระบบผ่านการฝึกอบรมและเพิ่มประสบการณ์ตรงในภาคปฏิบัติ

ทั้งนี้ จากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้บริหารองค์กรต้องมีการวางแผนลดต้นทุนในการขนส่ง ต้องมีการจัดระบบการทำงานเพื่อลดกระบวนการผลิตที่สิ้นเปลือง เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างรายรับกับรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่งของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีกำลังในการซื้อสินค้าสูงขึ้นตามไปด้วย กลายเป็นผลดีกับผู้ผลิตสินค้าและบริการที่สนองต่อกลุ่มลูกค้าเหล่านี้

สุวิทย์ แนะนำถึงการเตรียมความพร้อมในการบริหารองค์กรเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นว่า ผู้บริหารต้องเปลี่ยนแนวความคิดของตนเองจากการเน้นกระบวนการผลิตเพียงอย่างเดียว มาเป็นการสร้างสมดุลในการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรให้มีความรู้และสนับสนุนความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในปี 2550 หลายองค์กรได้เรียนรู้ถึงการจัดการความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น ผู้บริหารต้องเตรียมแผนการบริหารงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตจะประสบกับภาวะวิกฤตหากไม่มีการปรับตัว เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ เศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกรูปแบบหนึ่งในแนวทางที่ไม่เหมือนเดิมเพราะการผลิตจะต้องเพิ่มความรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ค่าครองชีพของพนักงานเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มรายได้ให้กับพนักงาน ผู้บริหารจึงต้องมีแนวความคิดที่กว้างไกล อย่าคิดถึงกระบวนการทำงานแบบเดิมเพราะปัจจัยภายนอกของการทำธุรกิจได้เปลี่ยนไป มองว่าองค์กรไทยควรจะนำศักยภาพเดิมของตนเองที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้กับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสม

ค้นปัจจัยใหม่ มุ่งสู่ผลสำเร็จ

บุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผงซักฟอกเปา ให้ความเห็นถึงแนวโน้มภาพรวมธุรกิจในปี 2551 ไปในทิศทางเดียวกันว่า ผู้ประกอบการและผู้บริหารจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานเก่า ดังนั้น นักบริหารต้องมองหาปัจจัยใหม่เพื่อสร้างศักยภาพให้องค์กรมากกว่าพึ่งพาปัจจัยเดิมๆ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานไปสู่เป้าหมาย

ปัจจัยใหม่ในวงจรธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรวดเร็วจะต้องถูกพัฒนามาจากความสามารถของบุคลากรภายในองค์กรเอง เช่น ต้องมีการบริหารราคาสินค้าไม่ให้แพงกว่าคู่แข่ง สร้างสินค้าให้มีความแตกต่าง ส่งมอบของให้ตรงเวลา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้องค์กรอยู่ได้ในทุกสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

"การพัฒนาศักยภาพภายในต้องมีเป้าหมายให้องค์กรเป็น benchmark ของธุรกิจที่อยู่ในตลาด เพราะจะเป็นผลดีให้ธุรกิจมีการแข่งขันได้กับคู่แข่งทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งเมื่อเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปสนใจกับปัจจัยเดิมๆ เพราะองค์กรมีบุคลากรที่มีศักยภาพในทุกระดับ"

บุญฤทธิ์ มองว่าวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการและผู้บริหารในอนาคตจะต้องพยายามค้นหาปัจจัยใหม่ๆ ในการบริหารจัดการ ด้วยการพยายามคิดบวกเพราะหลายปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่สิ่งที่หนักหนาสาหัส แต่คนภายในองค์กรกลับมองในด้านลบจนลดทอนประสิทธิภาพของตนเองลง

นอกจากนี้ ผู้บริหารต้องมองหาโอกาสให้เป็น เพราะบางเรื่องเป็นเพียงโอกาสระยะสั้นแต่ผู้ประกอบการและผู้บริหารให้ความสนใจมากกว่าการตัดสินใจในเรื่องที่เป็นผลต่อหน่วยงานในระยะยาว รวมทั้ง ต้องมีการจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยง โดยควรจะนำปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบมาช่วยประเมินในการตัดสินใจ ซึ่งสิ่งที่ได้มาจะก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ขององค์กรชัดเจนมากขึ้น

สุดท้ายผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่เป็นสากล ไม่ควรนำการตัดสินใจแบบคนไทยไปใช้กับกระบวนการทำงานในประเทศยุโรปหรือที่อื่นๆ เพราะต้องยอมรับในทัศนคติที่แตกต่างกันและเคารพในสิทธิของคนที่ร่วมทำงาน เพื่อให้การตัดสินใจเหล่านั้นประสบความสำเร็จทั้งสองฝ่าย

"สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการก้าวสู่ความสำเร็จ ผู้บริหารงานต้องมีสติในการตัดสินใจ มองทุกอย่างที่เกิดขึ้นให้เข้าใจและรู้ถึงความเป็นไปของกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง และสุดท้ายจะเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นอย่างชัดเจน" บุญฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

ปี 2551 ย่อมเป็นอีกบทพิสูจน์ของนักบริหารว่า จะนำพาองค์กรด้วยการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยสรรพกำลังของตนเองอย่างไรและทำได้ดีเพียงใด ?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us