Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
Digital Photo Archives             
โดย อเนกระรัว
 





ผมเป็นผู้หนึ่งที่รักการถ่ายภาพและได้บันทึกกิจกรรมต่างๆ ในอดีตลงฟิล์มไว้เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสไลด์ 35 ม.ม. เมื่อนึกถึงอดีตที่ผ่านมาจะพบว่าตัวเองไม่ได้มีโอกาสชื่นชมผลงานการถ่ายภาพของตัวเองอย่างที่ควรจะเป็น และถ้าจะเผื่อแผ่ให้ กับเพื่อนฝูงและคนรอบข้างยิ่งยากขึ้นไปใหญ่ ความยุ่งยากของการนำสไลด์มาฉายดูในห้องมืดและให้ ผู้คนมาดูกันจะเป็นโอกาสพิเศษที่แทบจะไม่มีโอกาสเลย อีกประการสำคัญ ความคงทนในการเก็บรักษา เวลายิ่งผ่านไปสีสันที่บันทึกลงฟิล์มไว้ก็ยิ่งผิดเพี้ยน หรือไม่ก็เกิดความเสียหายจากการเก็บรักษาไม่ดีพอ

ที่กล่าวมาจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องหาหนทางเคลื่อนย้ายภาพจากฟิล์มให้มาอยู่ในรูปดิจิตอล จะได้มีโอกาสชื่นชมผลงานได้ง่ายขึ้นทั้งในรูปของภาพพิมพ์หรือผ่านจอคอมพิวเตอร์ และนอกจากนั้น ยังสามารถนำมาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ประจำบ้าน (ซึ่งเล็กยิ่งกว่าตำบล) ไม่ว่าจะเป็นอัลบั้มภาพ ภาพขยายใส่กรอบ บัตรอวยพร หนังสือรวมภาพและเรื่องราวในรูปของซีดี หรือดีวีดี ทำปฏิทิน สมุด บันทึก เสื้อยืด ภาพพิมพ์บนจานชามแก้วน้ำ สติ๊กเกอร์วัยจ๊าบ ฯลฯ เหล่านี้อาจไม่ได้ตั้งใจค้าขายเป็นเรื่องเป็นราว แต่ก็มีไว้แจกผู้คนในโอกาสต่างๆ และถือเป็นการได้แสดงออกรูปแบบหนึ่ง

ในอดีตการจะนำภาพถ่ายจากฟิล์มแปลงเป็นภาพดิจิตอลคุณภาพสูงจะต้องใช้ Drum Scanner (ซึ่งเป็นสแกนเนอร์คุณภาพสูงใช้ในการพิมพ์ที่ละเอียด) ท่านอาจไปจ้างร้านแยกสี หรือร้านรับจ้างสแกนรูปด้วย Drum Scanner แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ยิ่งถ้าคิดจะซื้อเครื่องมาใช้ส่วนตัว ก็ให้ลืมว่าคิดไปได้เลย (รุ่นพอใช้ได้ก็ถอยเก๋งป้ายแดง ได้แล้ว) ที่พอเป็นไปได้คือ ใช้เครื่อง Film Scanner (CCD) ซึ่งเป็น Scanner สำหรับฟิล์มถ่ายรูปโดยเฉพาะ หลักการทำงานต่างจาก Drum Scanner คือ ฟิล์มจะอยู่กับที่โดยมี Sensor ทำหน้าที่กวาดเพื่อจับภาพ รุ่นประหยัดและมีคุณภาพได้เรื่องได้ราว จะมีราคาอยู่ประมาณ 40,000 บาท มีให้เลือกหลาย ยี่ห้อ เช่น Nikon, Minolta หรือ Canon เป็นต้น

Film Scanner ราคาประหยัดจะสแกนได้เฉพาะฟิล์ม 35 ม.ม.เท่านั้น ถ้าจะสแกนฟิล์ม 120 ด้วยต้องเพิ่มเงินอีกประมาณเท่าตัว ถ้าท่านคิดจะหามาไว้ใช้สักเครื่อง ท่านควรเลือกความละเอียดไม่น้อยกว่า 2,800 DPI ตัวเลข DPI หรือ Dot Per Inch คือจำนวนจุดที่สามารถสแกนเข้ามาได้ใน 1 นิ้ว ความละเอียดขนาดนี้สแกนฟิล์มขนาด 35 ม.ม. จะได้จำนวน Pixel ประมาณ 10 ล้าน Pixels เครื่อง Film Scanner รุ่นประหยัดจะให้ภาพที่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนตัวจนถึงอาชีพย่อมๆ แต่ก็ยังรู้สึกหนักกระเป๋าอยู่

เร็วๆ นี้มีทางเลือกที่สมเหตุสมผลมากขึ้นสำหรับการสแกนฟิล์มให้ได้คุณภาพที่ไม่ด้อยกว่า Film Scanner มากนัก นั่นคือ Flatbed Scanner เดิมทีเครื่อง Flatbed Scanner ที่สามารถสแกนฟิล์มได้จะอยู่นอกสายตาของมืออาชีพ เพราะคุณภาพของภาพที่ได้ไม่เป็นที่พอใจ แต่จะเหมาะกับการสแกนภาพปริ้นท์ที่ขยายแล้ว ระยะหลังความละเอียดของ Flatbed Scanner เพิ่มขึ้นจนสามารถสแกนได้ละเอียดถึง 3200 DPI และพัฒนาคุณสมบัติ ด้าน Optical Density หรือ Dynamic Range ของอุปกรณ์รับภาพ เป็นผลให้สามารถไล่ Shade สีได้ละเอียดและสมจริงมากขึ้น คุณภาพของภาพที่ได้เป็นที่น่าพอใจแม้จะยังสู้ Film Scanner ไม่ได้ แต่มีข้อได้เปรียบคือ สามารถสแกนฟิล์มขนาดใหญ่ได้ เช่น 120 จนถึงขนาด 4 x 5 นิ้ว และยังใช้สแกนภาพปริ้นท์จากเนกาทีฟขนาดใหญ่จนถึง A4 หรือจะเป็นภาพจากหนังสือ หรือเอกสารก็ได้ และที่สำคัญถูกสตางค์กว่า

ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องสแกนเนอร์แบบ Flatbed ที่เอาใจตลาดนักถ่ายภาพ (ด้วยเคมี) อยู่ 3-4 เจ้า ได้แก่ Epson, Canon, HP และ Microtek (ใครดีกว่าใครหรือรุ่นไหนต้องค้นกันเอง) ซึ่งราคาอยู่ประมาณ 20,000 บาท

สำหรับผู้สนใจจะหาซื้อเครื่อง Flatbed Scanner ที่สามารถสแกนฟิล์มได้ดีผมขอแนะนำให้ ท่านเลือกเครื่องที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 2400 DPI ถ้าเป็น 3200 DPI ยิ่งดี

ผมมีโอกาสได้ทดสอบเครื่อง Flatbed Scanner ความละเอียด 3200 x 6400 DPI นำมา สแกนสไลด์ และฟิล์มเนกาทีฟ ขนาด 35 ม.ม. สแกนแต่ละรูปจะได้ไฟล์ขนาด 37-40 MB ที่ความละเอียด 3200 DPI การสแกนสไลด์ทำได้ง่าย อาศัย อุปกรณ์ประกอบสำหรับวางสไลด์ (ที่เมาท์กรอบแล้ว) ใช้เวลาประมาณ 1 นาที 15 วินาทีต่อ 1 รูป ผม จะสแกนภาพด้วยความละเอียดสูงสุด (Optical Resolution) โดยไม่มีการแต่งเติมอะไร

นอกจากตั้งค่า Unsharp Mask Filter เพื่อเพิ่มความคมชัดของการสแกน ภาพที่ได้จะเป็นภาพดิบ ผมจะเก็บภาพดิบโดยไม่ลดทอนข้อมูลและขนาดไว้ชุดหนึ่ง ถ้าต้องการนำไปใช้งานผมก็จะนำภาพดิบมาปรับแต่งขอบ ลบริ้วรอยของฝุ่นผงที่ติดตามฟิล์ม

ข้อแนะนำ ท่านควรใช้ลูกยางลมเป่าฝุ่นผงที่ติดตามฟิล์มและกระจกของสแกนเนอร์ ก่อนการสแกนแต่ละครั้งเพื่อลดริ้วรอยของฝุ่นผง จากนั้นปรับภาพเพื่อให้สีและความละเอียดของสีให้ดีและใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด

ผมจะเก็บภาพที่ปรับแต่งสีนี้เป็นภาพพร้อมใช้งาน โดยไม่ใส่ Filter ใดๆ ผมจะใส่ Filter ตอนที่จะนำไปใช้งานจริง เช่น ถ้าต้องการนำไปพิมพ์ขยาย เพื่อให้ภาพคมชัดก็จะใช้ Sharpen Filter ถ้า ต้องการนำไปใช้ในการทำวิดีโอหรือดีวีดี อาจต้องใช้ Blur Filter ลดความคมชัดหลังการย่อขนาดรูป เพื่อลดอาการสั่นไหวส่วนของภาพที่มีรายละเอียดสูงบนจอทีวี (ทีวีทั่วไปที่เป็น Interlace scan) ท่านอาจต้องใช้เวลาทดลองอยู่สักพัก เพื่อให้ภาพที่จะนำไปเก็บสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ทดลองพิมพ์รูปที่สแกนไว้ด้วยเครื่องพิมพ์ Photo Inkjet Printer ในขนาด A4 ได้รูปที่มีความคมชัดใกล้เคียงกับการขยายด้วยเครื่องขยายรูป ภาพที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้วผมจะเก็บในรูปแบบของการลดทอนข้อมูล คือใน Format JPEG โดยตั้งค่าการลดทอนให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงสุด ภาพที่ได้ทั้ง ภาพดิบและภาพที่ตกแต่งไว้แล้วสามารถเก็บบันทึกลง ซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ในรูปของข้อมูลพร้อมใช้งาน

สำหรับผมคิดว่าการลงทุนลักษณะนี้น่าจะเป็นประโยชน์ ถือเป็นการเก็บรักษาภาพถ่ายระยะยาวที่มีประสิทธิภาพและยังสามารถนำภาพต่างๆ ไปใช้งานได้สะดวก ทำให้สิ่งมีคุณค่าที่เคยเก็บซ่อนไว้ได้ผลิดอกออกผลและคงอยู่ต่อไปในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us