Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์31 ธันวาคม 2550
เปิดกลยุทธ์ "ซีพีแรม" เบื้องหลังความสำเร็จ 7-Eleven สร้างแต้มต่อจากฟังเสียงลูกค้า             
 


   
search resources

Retail
ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด, บจก. - CPRAM
วิเศษ วิเศษฏ์วิญญู




จุดเริ่มต้นของ ซีพีแรม หรือบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด (C.P. Retailer and Marketing Co.,Ltd-CPRAM) ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย เครือเจริญโภคภัณฑ์นั้น ค่อยๆก่อรูปสร้างตัวขึ้นมา ในขณะที่กำลังสยายปีกเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade Retailer) และธุรกิจบริการอาหาร (Food Service) ภายในประเทศ ซึ่งมีทั้ง แม็คโคร 7-Eleven ซันนี่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และเชสเตอร์ฟู้ดส์

การขยายธุรกิจดังกล่าวทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์นั้น ต้องก่อตั้งหน่วยผลิตอาหารขึ้นมาเพื่อรองรับหลายธุรกิจ นับตั้งแต่กิจการอาหารพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็ง และกิจการเบเกอรี่ ซึ่งนอกจากจะผลิตสินค้าส่งร้านค้าปลีกและตลาดบริการอาหารในเครือแล้ว ในขณะนั้นยังเปิดร้านเบเกอริช บนถนนสีลม และในซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาถนนศรีนครินทร์อีกด้วย

อีกเหตุผลที่สำคัญ ซีพีแรม แจ้งเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกทั่วไป โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย และที่สำคัญยังถือว่าเป็นห้องครัวใหญ่ของร้าน 7- Eleven ซึ่งจะมีหน้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อบสด เพี่อวางขายในร้านทุกสาขาทั่วประเทศ โดยการทำตลาดซีพีแรมในปัจจุบัน มีการแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 2 ส่วนคือ ตลาดในประเทศ ทำตลาดโดยจัดจำหน่ายสินค้าผ่านกลุ่มลูกค้า โมเดิร์นเทรด ซึ่งมีลูกค้าหลักคือ ร้าน7-11 จิ๊ฟฟี่ ชอป แม็คโคร คาร์ฟูร์ เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ส่วนตลาดต่างประเทศ จะทำตลาดผ่านกลุ่มลูกค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งมีลูกค้าหลักคือ บริษัทฟิวชั่นฟูดส์ บริษัทไอเท็กซ์ เทรดดิ้ง ส่วนกระจายสินค้าให้ลูกค้าตนเองคือ เทสโก้(UK) Iceland และ Sainsbury

วิเศษ วิเศษฏ์วิญญู รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ของซีพีแรม กล่าวว่า "ในวันที่ 7- Eleven เปิดตัวขึ้นมา สิ่งที่เริ่มไปพร้อมๆกันก็คือ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่สด (Freshly - Baked Product) นั่นเป็นเพราะว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะจะมีขายในร้านสะดวกซื้อ โดยศึกษาความต้องการของลูกค้าที่พบว่า อยากได้อาหารที่กินได้เลยโดยไม่ต้องนำไปปรุงอีก ที่สำคัญคืออิ่มท้อง ทำให้ผลิตภัณฑ์ในช่วงนั้นจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรับประทานโดยแบ่งเป็นสองกลุ่มหลักๆคือ กลุ่มผลไม้แช่เยือกแข็ง และกลุ่มเบเกอรี่สด

ต่อมาในภายหลังพบว่า ผลไม้แช่เยือกแข็งไม่เหมาะกับตลาด เนื่องจากผู้บริโภคมีทางเลือกของผลไม้สดมากกว่า จึงคิดกันใหม่ เปลี่ยนมาผลิตขนมจีบและซาลาเปาแช่เยือกแข็ง ซึ่งมองว่าเหมาะสมกับวิถีชีวิตคนไทย และเป็นที่มาของประโยคที่ว่า "รับขนมจีบ ซาลาเปามั้ยค่ะ"

สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะเน้นทำการวิจัยไปถึงผู้บริโภคปลายทาง นั่นก็คือ ไม่ได้มองลูกค้าเช่น 7- Eleven เทสโก้โลตัส แม็คโคร เป็นเพียงผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ แต่มองลึกไปถึงใครที่เป็นผู้ซื้อสินค้าและบริการจากลูกค้าไปอีก บางครั้งสินค้าชนิดหนึ่งเข้า 2-3 ช่องทาง ทำให้ความต้องการลูกค้าก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะมีการเข้าไปศึกษาเพื่อตอบสนองแต่ช่องทางด้วย "เสียงที่แตกต่างกันของลูกค้า คือสิ่งที่บอกให้รับรู้ถึง ความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญต่อกระบวนการจัดการและเทคโนโลยีในการผลิตทั้ง 2 ด้านคือ Software และHardware ซึ่งมีใหม่เข้ามาเรื่อยๆ" วิเศษกล่าว

อันที่จริง นอกจากการฟังเสียงของลูกค้าแล้ว ต้องยอมรับว่าเครือข่ายร้าน 7-Eleven ที่มีจำนวนมากกว่า 3 พันสาขา ซึ่งจะสามารถเข้าถึงลูกค้าอย่างได้ได้เปรียบมากกว่า ซึ่งนับว่าเป็นอาวุธที่ใช้พิฆาตคู่แข่งได้ดี สำหรับบทบาทผู้ผลิตให้กับตลาดทั้ง 2 ส่วนลูกค้าคือ Retailer และผู้บริโภคคนสุดท้าย

ทางด้าน กิจการผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นขึ้นมา เพื่อผลิตสินค้าเบเกอรี่ให้กับร้าน7-Eleven ตั้งแต่สาขาแรก ซึ่งเป็นสไตล์โฮมเมด เช่นเดียวกับที่วางจำหน่ายในร้านเบเกอรี่ทั่วไป แต่การปรับรูปแบบนำมแพ็คขายผ่านช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ "ถือได้ว่าเราเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจอาหารนี้ก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้านี้ เบเกอรี่ในรูปแบบที่แพ็คจำหน่าย จะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม หรือ Mass Product แต่ถ้าเป็น Home Made Product ก็จะวางจำหน่ายในร้านที่มีพนักงานคอยให้บริการเท่านั้น"

รำไพพรรณ พรตรีสัตย์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด (กิจการเบเกอรี่)กล่าวและให้มุมมองอีกว่าอีก เทคโนโลยีของตะวันตก แต่ว่าเมื่อมาอยู่ในเมืองไทยแล้ว คนไทยไม่ได้บริโภคเบเกอรี่เป็นอาหารหลัก เพราะฉนั้น การสร้างยอดขายให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ก็คือต้องให้ความสำคัญกับ P ตัวแรก นั่นคือ Product ต้องมีคุณภาพที่ดี และหลากหลายตอบสนองได้ทุกกลุ่มลูกค้า ซึ่งมี 2 ระดับทั้ง Retailer หรือร้านค้าปลีกทั่วไปที่ซื้อสินค้าจากเราไป อีกส่วนหนึ่งคือ ลูกค้าคนสุดท้ายที่เข้ามาซื้อเป็นผู้บริโภค เพราะฉะนั้นในการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับผู้บริโภคสุดท้ายและ Retailer จึงต้องมีเกณฑ์ในการพัฒนาสินค้า

สำหรับการทำตลาดแต่ละช่องทางนั้น 3 แบรนด์หลักไล่เลียงตั้งแต่ เบเกอรี่ที่เป็นขนมปังใส้คาว ขนมปังหวาน เค้ก โรล และคุ้กกี้ ที่จำหน่ายผ่านร้าน 7-11 โดยเฉพาะนั้น จะใช้ "เบเกอร์แลนด์" เป็น Exclusive Brand ในการทำตลาดช่องทางนี้

"เลอแปง" กลุ่มเบเกอรี่อบสด มีสินค้าที่เน้นผ่านช่องทางขายในตลาดค้าปลีกสมัยใหม่คือ กลุ่มแซนวิซ ขนมปังสอดใส้ ขนมปัหน้าพิซซ่า และเค้กชิ้นสำหรับร้านสะดวกซื้อ และกลุ่มเค้ก เค้กแต่งหน้า และโรล วางตลาดในช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ต ส่วนแบรนด์ "มิสแมรี่" เน้นจับตลาดซูเปอร์สโตร์

กิจการเบเกอรี่ ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ ไม่แพ้กิจการอาหารพร้อมรับประทาน และโดยลักษณะของสินค้าเบเกอรี่ เป็นธุรกิจที่ต้องบริหารความสดใหม่ ผลิตและกระจายสินค้าทันทีรอบต่อรอบ ดังนั้นจึงให้ความสำคัญและต้องมีความพร้อมทั้ง 3 กระบวน การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และการจัดจำหน่าย

อีกทั้งการพัฒนาสินค้าที่ตอบสนองตรงกับความต้องการของลูกค้า และที่สำคัญสินค้ากลุ่มเบเกอรี่ส่วนใหญ่ลูกค้าจะมีพฤติกรรมชอบทดลองของใหม่ๆอยู่เสมอ ซึ่งหากมีสินค้าใหม่เข้ามาจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคซื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งกิจการเบเกอรี่จะมีกลไก 10 ช่องทางในการรับฟังเสียงลูกค้า เช่น การสำรวจตลาด การทำวิจัยผู้บริโภค การพัฒนาร่วมกับผู้ค้าคือ Retailer ต่างๆ หรือการวิเคราะห์จากยอดขายของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

นอกจากนั้นหัวใจหลักทางด้านพัฒนาสินค้าใหม่นั้น ยังอยู่ที่จุดแข็งซึ่งนับว่าเป็นข้อได้เปรียบที่แตกต่างจากการคู่แข่งในธุรกิจเบเกอรี่ เพราะบริษัทแม่มีเครือข่ายร้าน7-11 เป็นช่องทางหลักเพื่อฟังเสียงลูกค้า และนำมาศึกษาวิเคราะห์แนวทางให้รู้เบื้องลึกความต้องการของลูกค้ากับฝ่าย R&D เมื่อสินค้าเป็นรูปร่าง จึงนำไปเสนอกับ Retailer เพื่อให้เพิ่มเติมแนวคิด ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันก่อนสินค้าจะออกวางตลาด

แผนการตลาดทุกปี ในแต่ละเดือนจะมีการออกสินค้าใหม่ ในร้าน7-11 ประมาณ 5-10 ชนิดต่อเดือน อย่างต่อเนื่อง และถ้าสินค้าตัวใดขายดีติดตลาด จะกลายเป็นสินค้าหลัก ขณะที่สินค้ามียอดขายน้อย ก็เป็นเพียงแค่สินค้าแฟชั่นที่เข้ามาสร้างการสีสันเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเบเกอรี่ ภายใต้แบรนด์ "มิสแมรี่"ซึ่งเป็นสินค้าเพื่อเทศกาลเช่น เค้กรูปหัวใจหรือเค้กสตรอเบอรี่ในเดือนแห่งความรัก ขนมสูตรเจ เค้ก คุ้กกี้ สำหรับปีใหม่ พอหมดเทศกาลจะหยุดขาย

วิสุทธิ์ อร่ามเรือง ผู้จัดการทั่วไปด้านการตลาด กิจการเบเกอรี่ กล่าวว่า "ยอดขายเป็นตัวที่ทำให้รู้ว่า กระแสหรือความนิยมบริโภคสินค้านั้นมีแนวโน้มไปในทิศทางใด นอกจากนั้นการไปศึกษาตลาดต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นกระแสนิยมการบริโภคเบเกอรี่ที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงค์โปร์ ฮ่องกง ซึ่งมีลักษณะการบริโภคคล้ายๆกับทางเอเชียด้วยกัน การเห็นแนวโน้มบางอย่างเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีเพื่อนำสร้างสินค้าแนวคิดใหม่ๆ"

จาก Finger Food สู่ Ready Meal

สำหรับการเปิดตำนานผลิตภัณฑ์อาหารยุคใหม่ของเมืองไทยที่หยิบเรื่องความสะดวกมาเป็นโจทย์ใหญ่ในการผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับช่องทางร้าน 7- Eleven ทำให้ในปัจจุบันซีพีแรม ได้พัฒนาอาหารในกลุ่มอื่นๆออกมาอีกมากมายตามความต้องการของลูกค้าในทุกช่องทาง

นับตั้งแต่ Finnger Food ที่มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิด เพื่อความสะดวก เพราะเป็นอาหารที่จับต้องด้วยนิ้วมือและป้อนเข้าปากได้ทันทีนั้น เป็นอาหารกลุ่มแรกๆ ที่ครีเอทขึ้นมาเพื่อตอบสนองความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการรับประทานอาหารในมื้อหลัก หรือมื้ออาหารระหว่างมือ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ใด ก็สามารถรับประทานได้ ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาสในระหว่างการเดินทาง หรือขณะทำงาน รวมถึง ติ่มซำ ในชื่อแบรนด์ "เจด ดราก้อน" และข้าวกล่องพร้อมรับประทานแบรนด์ "เดลี่ไทย" และโอ อาโรจัง ข้าวปั้นพร้อมทานสไตล์ญี่ปุ่น ชูจุดเด่นสร้างความสะดวกในแบบฉบับของข้าวมือถือ ตามมาด้วยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาจับกระแสความนิยม Chilled Food เปิดตัวอาหารแช่เย็นออกมาวางขายในร้าน7-11 บางสาขา

รวมทั้งอาหารมื้อพร้อมรับประทาน (Ready Meal) ผ่านช่องทางร้านค้าที่มีพร้อมให้บริการ(Ready to Serve) จำหน่ายให้กับธุรกิจอาหาร Food Servivce เช่น ภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน และสายการบินต่างๆ รวมทั้งอาหารสำเร็จรูปขายผ่านช่องทางผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us