Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
เฟยเตี่ยน             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 





"ยังไม่กลับบ้านอีกเหรอ?" โชเฟอร์ขับรถแท็กซี่ป้ายดำที่คุ้นหน้าคุ้นตา เพราะใช้บริการกันเป็นประจำ ถามหลังผมออกมาเดินเตร็ดเตร่ซื้อของกิน-ของใช้ตุนไว้

"ยัง ... โรงเรียนยังไม่ปิด" ผมตอบ

"อืม ถ้าจะอยู่ก็ระวังตัวด้วย ตอนนี้ปักกิ่งอยู่ใน ขั้นอันตรายมาก"

โชเฟอร์แท็กซี่กล่าวเตือนด้วยความเป็นห่วงเป็นใย เช่นหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ เพื่อนชาวจีน ป้าขายบัตรโทรศัพท์ แม่บ้านดูแลหอพัก เด็กเสิร์ฟในร้านสุกี้ หม้อไฟ หรือพนักงานร้านขายของชำ แม้แต่ยามหน้า ประตูโรงเรียน

กลางเดือนมีนาคม 2546 ขณะที่ "โคโรน่า ไวรัส" ที่เป็นต้นเหตุของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือ ไข้หวัดมรณะ "ซาร์ส" (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) ซึ่งในภาษาจีนเรียกว่า "เฟยเตี่ยนสิง ซิ่งเฟ่ยแหยน

" หรือที่ เรียกกันสั้นๆ ว่า"เฟยเตี่ยน"

กำลังเริ่มแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง และเกาะฮ่องกง น้อยคนนักที่คาดคิดว่า เชื้อไวรัสตัวนี้จะรุกขึ้นเหนือมาแพร่ระบาดอย่างหนักในปักกิ่ง หัวใจทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมของจีน

ถัดมาอีกเพียง 1 เดือน หลังการประกาศยอมรับ จากกระทรวงสาธารณสุขจีนว่า "เฟยเตี่ยน" ได้คืบคลานมาถึงเมืองหลวงแห่งนี้ และกำลังแพร่กระจายอย่างเหนือความสามารถจะควบคุมได้ ภาวะของความตื่นตระหนกของผู้คนก็เกิดขึ้น

เริ่มจาก มีการซื้อหน้ากากอนามัยมาใช้กันอย่างแพร่หลาย การซื้อยาที่ชื่อว่า "ปั่นหลานเก็น " "น้ำส้มสายชู " รวมถึงตัวยาสมุนไพรจีน 8 ชนิด มากักตุน โดยทั้งสามอย่างนี้มีความเชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันโรคได้ ขณะที่ทางการจีนก็แจกคู่มือ ป้องกันโรคซาร์ส ซึ่งแนะนำวิธีสังเกตว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีแนวโน้มจะเป็นหรือไม่ รวมถึงวิธีการปฏิบัติตัว และดำเนินชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงโรค

การรักษาความสะอาด มีการรณรงค์ให้ล้างมือกันเป็นประจำ ทุกครั้งที่สัมผัสกับสิ่งที่เป็นของสาธารณะ ทุกครั้งที่ออกไปนอกที่พักและกลับเข้ามา สบู่และน้ำยารักษาความสะอาดเป็นสินค้ายอดนิยม สถานที่ทุกแห่ง ต่างคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ห้องน้ำสาธารณะ แทบทุกแห่ง รวมถึงตามร้านอาหารต่างๆ ต่างต้องมีขวดสบู่เหลวตั้งไว้ข้างอ่างล้างหน้า

สถานที่สาธารณะอย่าง ธนาคาร ไปรษณีย์ ที่ทำงาน ห้องเรียน รวมถึงหอพัก ห้องพักต่างเปิดหน้าต่าง เพื่อถ่ายเทอากาศ พฤติกรรมการเข้าคิวก็เปลี่ยนไป จาก ที่เคยต่อคิวกันอย่างเบียดเสียด ก็กลับกลายเป็นต่อคิวกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

เดินทาง-คมนาคม เนื่องจากเชื้อ "โคโรน่า ไวรัส" ที่เชื่อกันว่ากลายพันธุ์ได้หลายรูปแบบนี้สามารถแพร่กระจายได้ง่าย แม้แต่ทางอากาศ จึงมีการแนะนำไม่ให้อยู่ ในที่ซึ่ง "ผู้คนแออัด" พร้อมกับแนะนำด้วยว่า หากจะใช้ บริการขนส่งสาธารณะก็ควรใส่หน้ากากอนามัยไว้ด้วย

คำเตือนนี้ทำให้การใช้บริการรถประจำทาง รถไฟรถไฟใต้ดิน เครื่องบิน รวมถึงแท็กซี่กันน้อยลงอย่างถนัดตา แม้พาหนะเหล่านี้จะมีการทำความสะอาด พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อกันอย่างสม่ำเสมอแต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์อะไร เพราะผู้คนเดินทางกันน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ในทางตรงกันข้าม พาหนะสองล้ออย่างจักรยาน กลับได้รับความนิยมมากขึ้น และในระยะสั้นราคาสูงขึ้นราวร้อยละ 20-30

แน่นอนว่าเมื่อมีการคมนาคมกันน้อยลงย่อมทำให้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ น้อยลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ร้านอาหารทุกระดับ ห้างสรรพสินค้า แหล่งบันเทิง แหล่งพักผ่อนหย่อนใจในร่ม ทั้งโรงภาพยนตร์ ผับ บาร์ คาราโอเกะ โบว์ลิ่งต่างไม่มีผู้ใช้บริการ สังเกตได้จาก แม้ในช่วงเวลาที่ธุรกิจเหล่านี้น่าจะวุ่นวายที่สุดคือในช่วงพักกลางวัน หรือตอนเย็น พนักงานต่างจับกลุ่มล้อมวงนั่งคุยกันอย่างหมดอาลัยตายอยาก

ร้านขายสินค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะเสื้อผ้า ของใช้ฟุ่มเฟือย แม้พยายามจะปรับตัวใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาเท่าใด ก็ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านได้ จนบางแห่งต้องปิดตัวไปภายในระยะเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์ หลังจากข่าวการแพร่ระบาดของโรค (ยกเว้น ซูเปอร์มาร์เก็ต ขายอาหาร และของใช้ประจำวันที่คนล้นหลามเนื่องจากมีการซื้อสินค้าไปกักตุน)

การท่องเที่ยวจีนซบเซาอย่างรุนแรง บริษัทท่องเที่ยวรับจัดทัวร์ต่างๆ ที่พิมพ์เอกสารแนะนำการท่องเที่ยว ในช่วงเทศกาลวันแรงงาน (วันหยุด 1-7 พ.ค.) หนึ่งในสามเทศกาลวันหยุดที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ต้องเจ็บตัว อย่างหนัก เนื่องจากรัฐบาลจีนผ่านกระทรวงสาธารณสุข ประกาศลดวันหยุดเหลือเพียง 5 วัน (1-5 พ.ค.) รณรงค์ไม่ให้มีการท่องเที่ยวต่างเมือง พร้อมกับออกมาตรการอย่างเด็ดขาด ห้ามเข้า-ออก เมืองอันตรายอย่างปักกิ่ง ขณะที่ชาวบ้านต่างเมืองที่เห็นรถติดทะเบียนปักกิ่งก็แสดงความรังเกียจ รวมถึงขับไล่ เนื่องจากความหวาด หวั่นว่าจะเป็นตัวแพร่กระจายโรค

ข่าวสาร-ข่าวลือ ท่ามกลางความหวาดหวั่นต่อสิ่งที่มองไม่เห็น ควบคุมไม่ได้ หัวข้อการสนทนา ต่าง วกเวียนอยู่เฉพาะในเรื่องนี้ ข่าวคราวที่น่ากลัวที่สุดไม่ได้เป็นยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในระดับร้อยรายต่อวัน หรือยอดผู้เสียชีวิตราว 5-10 รายต่อวัน (เฉพาะในปักกิ่ง) แต่กลับเป็น "ข่าวลือ"

"ที่หอพักนั้น ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตโน้น มีคนติดเชื้อ แล้ว ... อย่าไป!!!"

"ตอนนี้มีคนติดเชื้อหลายพันแล้ว!!! (ขณะที่ตัวเลขทางการอยู่ในระดับร้อย)"

ในภาวะของความอลหม่าน ข่าวลือที่ออกมาเสมือน เป็นบทลงโทษกับความไม่โปร่งใสทางการเผยแพร่ข้อมูล-ข่าวสารของทางรัฐบาลจีน ที่ในช่วงแรกปกปิดข้อมูลไว้ และข่าวลือนี้เองที่กระทบชิ่งให้เกิดผลลบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ และลงทุนอย่างรุนแรง

บริษัทข้ามชาติหลายแห่ง ไม่เพียงยกเลิกการประชุมและการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในจีน แต่แนะนำจนถึงสนับสนุนทางด้านค่าใช้จ่ายให้พนักงานของตนที่ทำงานอยู่ในจีน กลับบ้านเสีย ส่วนนักศึกษาต่างชาติก็ขนกระเป๋ากลับประเทศ

นักศึกษาเกาหลีมากกว่าสองพันคนในปักกิ่ง กลับประเทศภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์!

ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งเดือน ภาพของสิ่งต่างๆ เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ปักกิ่งเมืองที่มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน และ ผู้อยู่อาศัยชั่วคราวอีก 4 ล้านคน คล้ายเป็นพื้นที่อันตรายตามประกาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) ทุกคนหากไม่มีธุระสำคัญจริงๆ ต่างเก็บตัวอยู่กับบ้าน ในช่วงปลายเดือนเมษายนต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคม โรงเรียน-มหาวิทยาลัยต่างๆ ปิดตาย ห้ามนักเรียน บุคลากรเข้า-ออก ตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของทางการ

วิกฤติ "เฟยเตี่ยน" หรือ "ซาร์ส" ที่เกิดขึ้น เป็นจุดผกผันจุดหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน โรคระบาดนี้กำลัง จะเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในชีวิตของคนจีน จากเป้าหมายเพื่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เป็นเพื่อความมั่นคง-ปลอดภัยในชีวิต

บทเรียนจากปี 2546 นี้จะเปลี่ยนการดำเนินนโยบาย ทางการเมืองของทางจีน ให้ออกมาในรูปโฉมใหม่

20 ปี ภายใต้ร่มธงทางเศรษฐกิจของผู้นำรุ่นเก่า เติ้งเสี่ยวผิง เจียงเจ๋อหมิน (รวมถึง จูหรงจี) จากมรดกการพัฒนาแบบก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ผู้นำรุ่นใหม่ หูจิ่นเทา เวินเจียเป่า ถูกบังคับให้เปลี่ยนเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างสังคมจีน ที่มั่นคง ปลอดภัย และเปิดกว้างกว่าเดิมอย่างกะทันหัน

หมายเหตุ : หลังจากผู้เขียนเดินทางจากปักกิ่งถึงไทยต้นเดือน พฤษภาคมก็ต้องกักบริเวณตัวเอง 14 วันในที่รโหฐาน จนถึงวันเพ็ญ 15 พฤษภา จึงดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us