"บรรยากาศการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้กับคุณประชัย ในช่วงหลังเริ่มรุนแรง ถึงขั้นมีการใช้คำพูด
ที่เรียกได้ว่าหมดความเกรงใจกันแล้ว" ตัวแทนเจ้าหนี้รายหนึ่ง เล่ากับ "ผู้จัดการ"
บรรยากาศ ที่ว่า เริ่มเห็นได้ชัดตั้งแต่วันที่ประชัยตัดสินใจส่งทนายความ
ไปยื่นคำร้องคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI)
ของเจ้าหนี้ 5 ราย ในช่วงเย็นของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาก่อน ศาลล้มละลายกลางจะเริ่มต้นการไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพียง
3 วัน
ทำให้กระบวนการเจรจานอกศาลระหว่าง TPI กับกลุ่มตัวแทนเจ้าหนี้ เกี่ยวกับเรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียน
ต้องสะดุดลงทันที
ก่อนหน้านี้เพียงไม่ถึงเดือน กลุ่มเจ้าหนี้ 148 ราย ของ TPI เพิ่งจะถอนหายใจอย่างโล่งอกออกมาเฮือกใหญ่
เมื่อ TPI ยอมให้ตัวแทนเจ้าหนี้ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง
ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญในกระบวนการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้รายนี้
หลังจากใช้เวลาเจรจามาถึง 2 ปีเต็มๆ
ไม่เพียงแต่กลุ่มเจ้าหนี้เท่านั้น ที่โล่งใจ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในภาครัฐทุกฝ่ายก็สบายใจ
เพราะวงเงินกู้ ของ TPI ที่สูงถึง 3,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จัดเป็น NPL ก้อนใหญ่
หากการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะลดยอด NPL ลงไปได้มากแล้ว
ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนภาค อุตสาหกรรมในไทย ในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ
ยิ่งจะเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อการเจรจาต้องสะดุดลงอีกครั้ง จึงสร้างความหนักใจให้กับทั้งเจ้าหนี้
และรัฐบาลเป็นอย่างมาก
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงกับยอม รับว่ากรณีการปรับโครงสร้างหนี้
TPI ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ออกมาเป็นจำนวนมาก
จนทำให้ดัชนีราคาหุ้นหลุดลงมาต่ำกว่าระดับ 400 จุด เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์
ประเด็นสำคัญ ที่ประชัยดึงดันมาตลอด ในการเจรจากับเจ้าหนี้ คือ ต้องการให้มีการลดยอดหนี้ลง
และต้องการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเงินไปชำระคืน
แก่เจ้าหนี้
เพราะประชัยมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วง
ที่ผ่านมา เจ้าหนี้ โดยเฉพาะบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ กับธนาคาร เพื่อการส่งออก
และนำเข้าแห่งสหรัฐอเมริกา จ้องหา โอกาส ที่จะเข้ามาครอบครองความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเพียงอย่างเดียว
คนที่ติดตามสถานการณ์เรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ว่าการเพิ่มทุน
จดทะเบียน และการขอลดยอดหนี้ ถือเป็นแนวทางเดียว ที่ประชัยคิดว่าจะทำ ให้เขายังคงความเป็นเจ้าของบริษัทแห่งนี้ต่อไปได้
โดยเฉพาะหนี้ดอกเบี้ยค้างจ่าย ซึ่งในข้อตกลงเบื้องต้น ที่ทำไว้กับเจ้าหนี้
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542 จะต้องถูกแปลงเป็นทุนนั้น ถ้าถูกปรับลดลงมา หมายความว่าสัดส่วนการเข้ามาครอบครองหุ้นของเจ้าหนี้
ต้องลดลงตามไป ด้วยเช่นกัน
ขณะเดียวกัน ประชัยเห็นว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่อยู่ในภาวะซบเซา มาหลายปี
กำลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น บรรยากาศแวดล้อมเช่นนี้ น่าจะช่วยให้ TPI มีรายได้
และเงินสดหมุนเวียนเข้ามามากขึ้นในอนาคต
จากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้ประชัยค่อนข้างเชื่อมั่นว่าวิกฤติทางการ เงินของ
TPI สามารถจะคลี่คลายลงได้ด้วยตัวของมันเอ ง ในระยะเวลา ที่ไม่นานเกินไปนัก
เรื่องราวความขัดแย้งระหว่าง TPI กับเจ้าหนี้ ขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง
และคาดว่าจะได้ข้อสรุป ที่ชัดเจนออกมาภายในเดือนนี้
เพื่อให้เห็นภาพความต่อเนื่องของปัญหา "ผู้จัดการ" ขอทบทวนเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นอีกครั้งหนึ่ง