Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2551
The Railway Museum             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Museum
The Railway Museum




หากไม่นับรวมนวัตกรรมทางด้านหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นแล้ว “รถไฟ” โดยเฉพาะรถไฟหัวกระสุน Shinkansen จัดเป็นอีกไอคอนที่สื่อถึงภาพลักษณ์ของ Modern Japan ได้เป็นอย่างดี

รถไฟจักรกลขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำซึ่งประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกของโลกบนเกาะอังกฤษเมื่อปี 1804 เป็นหนึ่งในอารยธรรมตะวันตกที่ไหล่บ่าข้ามฝากเข้ามาถึงเกาะญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยปฏิรูปเมจิ (ค.ศ. 1868-1912) จากนั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดแตกแขนงในหลายมิติทั้งจากภาครัฐและเอกชนก่อเกิดรถไฟหลากหลายรูปแบบในเวลาต่อมา ทั้งรถไฟประเภทที่มีคนขับและที่ขับเคลื่อนเองโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่นรถไฟที่ใช้พลังงานไฟฟ้า รถราง รถไฟใต้ดิน รถไฟ Monorail รถไฟที่แล่นได้ทั้งบนรางและบนถนน รวมถึงรถไฟความเร็วสูงอย่าง Shinkansen ที่เกื้อกูลสานต่อกันเป็นเครือข่ายระบบรถไฟที่ได้ชื่อว่าทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก

นวัตกรรมรถไฟที่พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีความโดดเด่นแตกต่างไปจากสินค้าประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีของรถไฟ Shinkansen ซึ่งได้ส่งกลับไปใช้ยังมาตุภูมิแหล่งกำเนิดของรถไฟในฐานะระบบขนส่งมวลชนสายหลักช่วยชูโรงในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2012 ที่มหานครลอนดอน*

แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีรถไฟญี่ปุ่นนั้นจะเกิดผลสัมฤทธิขึ้นมาได้โดยง่าย ในพัฒนาการแต่ละขั้นนั้นได้ผ่านสมมุติฐาน กระบวนการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก ความเพียรพยายามค้นคว้าวิจัยและพัฒนาจนตกผลึกออกมาเป็นเทคโนโลยีของตัวเองที่ค่อยๆ สั่งสมอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องซึ่งเป็นระยะเวลานานเพียงพอที่เรื่องราวของรถไฟญี่ปุ่นอันเป็นสมบัติชาติที่ควรค่าแก่การสงวนรักษา

ส่วนหนึ่งขององค์ความรู้เหล่านั้นจัดแสดงไว้ให้ชมในพิพิธภัณฑ์การคมนาคมแห่งประเทศญี่ปุ่น (Transportation Museum Japan) ซึ่งเปิดทำการตั้งแต่ปี 1936 ที่ Kanda Sudacho บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟโตเกียวใจกลางเมืองหลวง

แม้ว่าภายในพิพิธภัณฑ์จะมีส่วนอื่นที่นอกเหนือจากการคมนาคมด้วยระบบรางแทรกอยู่บ้างก็ตามแต่ในส่วนของรถไฟนั้นมีเนื้อหาอันอัดแน่นและรายละเอียดปลีกย่อยของสิ่งที่นำมาจัดแสดงซึ่งดูจะเหมาะกับกลุ่มคนที่ชื่นชอบรถไฟเป็นพิเศษที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า Tetsudou Otaku หรือ Railway Mania มากกว่าบุคคลทั่วไป ส่งผลให้พิพิธภัณฑ์การคมนาคมแห่งประเทศญี่ปุ่นถูกขนานนามให้เป็น Mecca of Railway Mania ไปโดยปริยาย

ความคิดริเริ่มโครงการสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ที่จัดแสดงเกี่ยวกับรถไฟโดยตรงได้เริ่มขึ้นในขณะที่อาคารสถานที่ค่อยๆ ทรุดโทรมไปตามกาล ประกอบกับพื้นที่อันจำกัดของพิพิธภัณฑ์การคมนาคมแห่งประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงพอที่จะรองรับความก้าวหน้าของวิทยาการที่มากขึ้นทุกขณะ จนในที่สุดได้ปิดตัวลงชั่วคราวเมื่อปี 2006 และย้ายไปเปิดใหม่ฉลองวาระที่รถไฟญี่ปุ่นครบรอบ 135 ปี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2007 ที่ Oomiya ในจังหวัด Saitama ทางทิศเหนือของโตเกียวพร้อมกันนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น The Railway Museum

การออกแบบพิพิธภัณฑ์ใหม่ตามหลักการจัดการพิพิธภัณฑ์ที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้นช่วยให้สิ่งของจัดแสดงกว่า 580,000 ชิ้น วางเป็นสัดส่วนหมวดหมู่สอดคล้องตามลำดับเรื่องราวได้อย่างสมบูรณ์แบบ ชวนติดตามและเข้าใจได้ง่ายบนเนื้อที่ทั้งหมด 42,500 ตารางเมตร (จากเดิม 5,000 ตารางเมตร) ดำเนินการโดย East Japan Railway Culture Foundation ซึ่งเป็นองค์กร non-profit ของบริษัท East Japan Railway Company หรือที่เรียกกันว่า JR Higashi-nihon

History Zone เป็นห้องโถงเพดานทรงสูงจัดแสดงรถไฟประวัติศาสตร์ขบวนจริง 36 ขบวนที่ชั้นล่าง โดยเริ่มตั้งแต่รถไฟขบวนแรกๆ ในยุคสมัย Meiji รถไฟขบวนหลักในยุคที่เครือข่ายรถไฟขยายคลอบคลุมไปทั่วญี่ปุ่นในสมัย Taisho (ค.ศ.1912-1926) รถไฟในยุคก่อนสงครามโลก การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงในช่วงทศวรรษ 1950 กระทั่งถึงกำเนิดรถไฟ Shinkansen ที่เป็น Flagship Transportation ใน Tokyo Olympic 1964 พร้อมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของรถไฟตามลำดับเวลาก่อนหลังเป็นลายลักษณ์อักษรในบริเวณชั้น 2 ของห้องโถง

การเปลี่ยนแปลงใน The Railway Museum ซึ่งฉีกภาพเดิมของ Mecca of Railway Mania ออกไปนั้นอยู่ที่การเพิ่มเติมส่วนของ Learning Zones บริเวณชั้น 1, 2 และ 3 ที่ออกแบบเพื่อการเรียนรู้เชิงสันทนาการสำหรับเด็กกับอีกส่วนที่อยู่บริเวณภายนอกอาคาร ซึ่งมีลักษณะกึ่ง Theme Park เป็นพื้นที่เปิดโล่งให้สัมผัสกับ Mini Train ซึ่งจำลองระบบรักษาความปลอดภัยของไฟจราจรที่ใช้กับรถไฟ Mini Shuttle Train ซึ่งย่อส่วนรถไฟ Shinkansen ขบวน Hayate ที่ใช้วิ่งระหว่างโตเกียว-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ Hayate ยังเป็นขบวน Shinkansen แม่แบบที่ส่งออกไปยังประเทศจีนเมื่อกลางปีที่ผ่านมา Friendly Train ขบวน Moha 455 และ Kuha 455 สำหรับการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถโดยสารได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กโดยเฉพาะที่มากันเป็นครอบครัว

ขณะเดียวกัน Train Simulators ภายในอาคารที่ขยายจอกว้างขึ้นจากเดิม 2 เท่า สามารถทดลองฝึกขับรถไฟเสมือนจริง ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นและวัยทำงานไม่แพ้ Railway Model Diorama ขนาดความกว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร ย่อส่วนจากของจริง 1 ใน 80 ส่วน สำหรับรถไฟธรรมดา และ 1 ใน 87 ส่วน สำหรับรถไฟ Shinkansen ซึ่งวิ่งอยู่บนราง HO Guage เป็นโมเดลรถไฟจำลองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น

นอกจากนี้ยังมี facilities อื่น เช่น ห้องสมุดรถไฟ ร้านอาหาร Kid Space สำหรับเด็กเล็ก และ Museum Shop ที่ขายดีจนต้องต่อคิวเข้าร้าน

สีสันของพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอีกอย่างอยู่ที่การจัดแสดงพิเศษครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม 2007 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2008 ในหัวข้อ “Challenge of Shinkansen” ว่าด้วยนวัตกรรมล่าสุด FASTECH 360 : Next Generation of Shinkansen แล่นด้วยความเร็วปกติ 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เน้นความสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร ตัวรถมีน้ำหนักเบาประหยัดพลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมเพิ่มความปลอดภัยให้สูงยิ่งขึ้นโดยใช้ระบบเบรกที่มีลักษณะเหมือนหูแมว ซึ่งจะกางออกต้านอากาศช่วยลดความเร็วลงอย่างปลอดภัยเมื่อรถไฟเบรก

แม้ว่าในระยะแรกทางพิพิธภัณฑ์จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งซึ่งวัดได้จากจำนวนผู้เข้าชมที่มากกว่าที่คาดไว้ก็ตามที การจัดแสดงพิเศษที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามหัวข้อและช่วงเวลานี้ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัวเพื่อดึงดูดให้คนที่เคยมาแล้วเดินทางกลับมาชมอีก

ตราบใดที่รถไฟในประเทศญี่ปุ่นยังคงแล่นไปบนรางเหล็กคู่ขนาน ร่องรอยแห่งการเดินทางไม่รู้จบของการรถไฟญี่ปุ่นก็จะนำมาเสนอและเก็บรวบรวมเอาไว้ที่ The Railway Museum แห่งนี้

*อ่านเพิ่มเติม : นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับมีนาคม 2550 คอลัมน์ Japan Walker   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us