|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2551
|
|
ความนิยมและกระแสความชื่นชมสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี่ เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ของราชอาณาจักรภูฏานที่เสด็จมาประเทศไทย ทำให้ความสัมพันธ์และความรู้สึกของคนไทยกับคนภูฏานใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
ว่ากันว่า หลังจากเสด็จมาประเทศไทยแล้ว บริษัททัวร์ต้องทำงานหนักเพื่อพาคนไทยไปเที่ยวภูฏาน แม้จะมีเงื่อนไขในการเข้าประเทศที่เข้มงวด ในเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวก็ตาม
อาจจะเป็นความคล้ายคลึงกันของคนทั้งสองประเทศที่มีจุดยึดเหนี่ยวเดียวกันนั่นก็คือกษัตริย์ของแต่ละประเทศที่ดูแลประชาชนมาโดยตลอด และแบบอย่างของกษัตริย์ไทยก็หาไม่ได้ในโลกนี้อีกแล้ว
การเปิดประเทศทำให้ภูฏานเป็นที่รู้จักในกลุ่มสังคมโลกกำลังเริ่มต้นอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาก็ทำมาอย่างต่อเนื่องและคราวนี้ภูฏานเลือกวาระการเฉลิมฉลอง 100 ปีของราชวงศ์วังชุกมาจัดพิมพ์เป็นแสตมป์ มอบหมายให้บริษัทไทยซิเคียว ริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของไทยเป็นผู้จัดพิมพ์
บรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซิเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด บอกในงานแถลงข่าวว่า แสตมป์ที่ระลึก 1 แผ่นประกอบด้วยแสตมป์รูป 4 เหลี่ยมจำนวน 5 ดวง ซึ่งพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน 5 พระองค์ไว้ด้วยกัน จำหน่ายในราคา 1-25 งุลตรัม (หน่วยเงินของภูฏาน) และจะเปิดจำหน่ายในเดือนมีนาคมนี้
แน่นอนว่าคนไทยที่สนใจก็สามารถซื้อมาสะสมได้ แต่ถ้าจะใช้ส่งจดหมายก็ต้องเดินทางไปส่งที่ภูฏาน
นอกจากแสตมป์ปกติแล้วยังมีการผลิตแสตมป์ซีดี เป็นการผสมระหว่างแสตมป์และวิดีโอซีดีขนาด 8 เซนติเมตร ซึ่งบรรจุเรื่องราวของภูฏานในรูปแบบภาพยนตร์ความยาว 8 นาที ถือเป็นแสตมป์ ซีดีแผ่นแรกของโลกและสามารถติดซองนำส่งได้จริง
สำหรับการจัดทำแสตมป์ในภูฏานมีบริษัทครีเอทีฟ โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งบริษัทนี้มีฟรานเชส ทอดด์ สจ๊วต เป็นประธานบริษัท โดยเธอรับสืบทอดบริษัทนี้มาจากพ่อที่เดิน ทางเข้าไปในภูฏานตั้งแต่ปี 1951 ในสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 3 ของราชวงศ์วังชุก และได้ตัดสินใจผลิตแสตมป์เพื่อเผยแพร่แก่คนทั่วโลกให้รู้จักประเทศภูฏานผ่านดวงแสตมป์
การเลือกบริษัทในไทยเป็นผู้ผลิตแสตมป์ให้ก็มาจากผลงานของบริษัทไทยซิเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด ที่จัดพิมพ์แสตมป์วาระพิเศษ ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะชุดพระเครื่องเบญจภาคีรุ่นบล็อกแตก แสตมป์ดอกกุหลาบที่มีกลิ่นในเทศกาลวาเลนไทน์ และล่าสุดแสตมป์ ชุดเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา และได้รับรางวัลในการพิมพ์แสตมป์อีกมากมาย
คนที่ยังไม่ได้ไปเที่ยวภูฏานก็ให้มองภูฏานผ่านดวงแสตมป์ไปก่อน
|
|
|
|
|