|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2551
|
|
ต้นยูคาลิปตัสสายพันธุ์ที่ถูกคัดมาแล้วว่าทนแล้งได้ดีและรับสภาพดินของไทยได้ยอดเยี่ยม ซึ่งดั๊บเบิ้ลเอ เรียกชื่อเสียใหม่ว่า "ต้นกระดาษ" กว่า 500 ต้น ถูกขนส่งถึงมือเด็กพิเศษ หรือเด็กพิการทางสมองและพิการทางการได้ยินในโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้เด็กพิเศษทั้งหมดร่วมกันปลูกในพื้นที่ว่างด้านหลังโรงเรียน หวังจะช่วยสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนในอีก 3 ปีข้างหน้า
ต้นกระดาษราคาต้นทุน 4.50-5.50 บาทต่อต้น สามารถปลูกและตัดขายได้ภายใน 3 ปี หลายร้อยต้นนี้จะถูกส่งไปยังอีกหลายๆ โรงเรียน ในภาคตะวันออกและภาคอีสาน หลังจากก่อนหน้านี้ดั๊บเบิ้ลเอเคยให้การสนับสนุนต้นกระดาษให้กับโรงเรียนบ้านโคกกระท้อน หมู่ 10 ตำบล ลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และพบว่าในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ต้นกระดาษที่ตัดแล้วงอกจากลำต้นเดิมเติบโตได้อีกครั้ง สามารถช่วยให้โรงเรียนโคกกระท้อนตัดแล้วนำขายได้ถึง 3 หน สร้างรายได้ถึง 4 แสนบาทให้กับโรงเรียนแห่งนี้ ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับโรงเรียนที่ต้องคอยเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเพียงอย่างเดียว
สนามฟุตบอลที่เรียบเสมอมีหญ้าเขียวปกคลุมพองาม อินเทอร์ เน็ตผ่านสัญญาณดาวเทียม ชั้นล่างของอาคารเรียนจัดซื้อชุดนักเรียน เครื่องเขียนให้กับนักเรียนขัดสน และสมทบทุนโครงการอาหารกลางวัน สำหรับเด็กยากจน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของต้นกระดาษที่โรงเรียนโคกกระท้อนปลูกในพื้นที่ว่าง 20 ไร่ของโรงเรียน และทำการตัดขาย ไปตั้งแต่เมื่อปี 2536
โครงการปลูกต้นกระดาษบนพื้นที่ว่างของโรงเรียนถูกโยงไปถึงโครงการปลูกต้นกระดาษที่ดั๊บเบิ้ลเอพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรมาอยู่ในเครือข่ายหรือเป็น contact farmer ของตนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยทำการโฆษณาหาคนปลูกต้นกระดาษผ่านหน้าจอโทรทัศน์อย่างหนัก
โครงการปลูกต้นกระดาษของเกษตรกรก็ได้รับการประชา สัมพันธ์ว่าคนปลูกสามารถนำไปปลูกในพื้นที่ว่างอย่างเช่น หัวไร่ปลายนา เมื่อถึงเวลา 3 ปีก็ตัดขายคืนให้กับดั๊บเบิ้ลเอ โดยปล่อยให้ลำต้นงอกขึ้นมาใหม่แล้วก็ตัดวนแบบนี้ได้อีกรอบ
เกษตรกรได้เงินจากพื้นที่ว่าง เช่นเดียวกันกับโรงเรียนได้เงินสนับสนุนโครงการต่างๆ ของตน ดั๊บเบิ้ลเอได้ผลผลิตเป็นต้นกระดาษป้อนโรงงานผลิตกระดาษในปราจีนบุรี ขณะที่ทุกคนมีส่วนช่วยโลกไม่ให้ร้อนไปกว่านี้ นี่เป็นความหมายที่แฝงอยู่ในโครงการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ลเอ
|
|
|
|
|