|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2551
|
|
ชื่อเสียงของ TATA กรุ๊ป จากอินเดีย เป็นอีกหนึ่งแรงที่ทำให้ฝรั่งจากยุโรปและอเมริกาต้องประเมินศักยภาพของประเทศในเอเชียใหม่ เพราะมีอย่างน้อย 2 ประเทศ คือ จีน และอินเดีย ที่กำลังกลายเป็นแหล่งลงทุนและแหล่งผลิตที่มีมูลค่ามหาศาล
จีนกับแขกทำให้ฝรั่งต้องหยุดคิดและหันกลับมามองดูว่าเกิดอะไรขึ้นในเอเชีย แต่ในส่วนของประเทศไทย การเข้ามาของกลุ่ม TATA ก็ได้รับการพูดถึงไม่แตกต่างจาก นักร้องสาวชื่อดังที่มีชื่อเดียวกัน การลงทุนครั้งล่าสุดของกลุ่ม TATA คือการเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ในบ้านเรา
ความท้าทายอยู่ตรงที่ว่า TATA เลือกเข้าตลาดรถกระบะ ที่ว่ากันว่าไม่แน่จริงมีโอกาสล้มหมอนนอนเสื่อได้ เพราะตลาดเป็นของ 2 รายใหญ่คือ อีซูซุ และโตโยต้าแม้แต่ค่ายอเมริกันอย่างฟอร์ด จีเอ็ม ก็ยังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
อาจิต เวนคาทารามัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TATA Motors ประเทศไทย บอกในการแถลงข่าวเปิดตัวครั้งแรกว่า เฝ้าดูตลาดรถในเมืองไทยมาเป็นเวลานานและก่อนที่จะเข้ามาลงทุน ได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้รถกระบะในเมืองไทยแล้วว่าต้องการอะไรเป็นพิเศษ และนั่นจะเป็นจุดแข็งของรถกระบะ TATA ที่จะวางจำหน่ายในเดือนมีนาคมนี้
การเลือกลงตลาดรถกระบะที่บ้านเรามียอดจำหน่ายเป็นอันดับ สองของโลกรองจากสหรัฐฯ หากมองในแง่ของความเสี่ยงก็มีอยู่สูง แต่หากมองในแง่ของการช่วงชิงตลาดใหม่ๆ TATA ก็มีโอกาสไม่น้อย เพราะผู้บริหารย้ำชัดเจนว่า รถกระบะที่จะวางขายเหมาะกับผู้บริโภค ทั้งในเรื่องคุณภาพ และราคา
อีกทั้งการเลือกผลิตรถกระบะในไทย เขาก็ตั้งใจว่าจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะขนาด 1 ตันออกไปจำหน่ายทั่วโลก เช่นเดียวกับที่โตโยต้า อีซูซุ มิตซูบิชิ ทำอยู่ในขณะนี้
กลุ่ม TATA เลือกลงทุนร่วมกับบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ที่ได้ปรับปรุงโรงงานส่วนหนึ่งเพื่อใช้ประกอบรถกระบะ TATA พร้อมกับสร้างโรงงานประกอบใหม่อีกแห่งด้วยเงินลงทุนทั้งหมด 1,300 ล้าน บาท โดยโรงงานใหม่มีกำลังการผลิตรถปีละ 35,000 คัน
รถกระบะที่ประกอบในไทยจะมีครบทุกแบบคือ แบบตอนเดียว กระบะแคป และกระบะ 4 ประตู เครื่องยนต์ดีเซล คอมมอลเรล ขนาด 2000 ซีซี และ 3000 ซีซี ช่วงแรกมีดีลเลอร์และศูนย์บริการ 25 ราย หน่วยช่วยเหลือฉุกเฉิน 700 จุดทั่วประเทศ
ก่อนหน้านี้รถ TATA เคยเข้ามาจำหน่ายในบ้านเรากว่า 10 ปี มาแล้ว เป็นรถแบบตรวจการณ์ขับเคลื่อนสี่ล้อแต่ไม่ได้รับความสนใจ จากผู้บริโภคคนไทยนัก เพราะด้วยรูปร่าง หน้าตา และแบรนด์ ไม่ถูกใจผู้ซื้อ ทำให้รถ TATA ออกจากตลาดไทยไปอย่างรวดเร็ว
กลุ่ม TATA คงต้องมีอะไรเป็นทีเด็ดในการเข้าตลาดรถกระบะ เพราะตลาดนี้แม้แต่คนไทยเองที่คุ้นเคยกับตลาดและผู้บริโภคอย่างวิวัฒน์ แพรพริ้วงาม ก็ยังล้มเหลวมาแล้วจากรถกระบะของคนไทยในแบรนด์ VMC ที่น่าจะกลายเป็นเรื่องในตำนานไปแล้ว แม้แต่รถกระบะเปอโยต์จากฝรั่งเศส ที่บริษัทยนตรกิจนำเข้ามาจำหน่ายก็ยัง ต้องพับเก็บไป
ตลาดรถกระบะกว่า 90% ถือครองโดยค่ายญี่ปุ่น ที่เหลือก็แบ่งให้ค่ายอเมริกัน แต่จากนี้ไปต้องนับค่ายแขกเข้าไปด้วย
|
|
|
|
|