Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 ธันวาคม 2550
ปีใหม่เงินสะพัด1.8หมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
Economics




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินเทศกาลปีใหม่มีเม็ดเงินสะพัด 1.8 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 10% เหตุประชาชนยังไม่มั่นใจสภาวะเศรษฐกิจปีหน้า ทำให้มีการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อของขวัญและงานสังสรรค์ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจพฤติกรรมการฉลองปีใหม่ 2551 ของคนกรุงเทพฯ โดยคาดว่าในช่วงระหว่าง 29 เดือนธันวาคม 2550 - 1 มกราคม 2551 ก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัด 18,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากคาดว่าผู้บริโภคยังคงเน้นประหยัด โดยผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในสภาพเศรษฐกิจปีหน้า และไม่แน่ใจถึงเสถียรภาพทางการเมือง แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งแล้วในช่วงปลายปี แต่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าน่าจะยังคงมีความขัดแย้งในทางการเมือง ทั้งนี้ พบว่าคนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.3 วางแผนลดค่าใช้จ่ายลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อีกร้อยละ 37.8 พยายามคุมค่าใช้จ่ายให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และมีเพียงร้อยละ 15.9 ที่วางแผนจะเพิ่มค่าใข้จ่ายในช่วงปีใหม่

ทั้งนี้ การใช้จ่ายเม็ดเงินจำนวนดังกล่าว แบ่งเป็นการซื้อของขวัญ งานเลี้ยงสังสรรค์ และการทำบุญของคนกรุงเทพฯจำนวน 7,500 ล้านบาท แยกเป็นการซื้อของขวัญ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 50 ระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันดับแรกที่ต้องลดลงหรือพยายามควบคุมให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนที่ 1,858.50 บาท ,งานเลี้ยงสังสรรค์ในครอบครัวและญาติพี่น้องใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 1,611.78 บาท ,การทำบุญตักบาตรปีใหม่ใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 605.61 บาท ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธุรกิจด้านอาหาร การจัดงานเลี้ยง และบริการด้านบันเทิงต่างๆ

นอกจากนี้ เป็นการใช้จ่ายกิจกรรมนอกบ้านจำนวน 2,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.3 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.1 วางแผนใช้เวลาในช่วงวันหยุดปีใหม่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งกิจกรรมนอกบ้านของคนกรุงฯที่อยู่กรุงเทพฯอนดับหนึ่งคือ การกินเลี้ยงสังสรรค์ ไปวัดทำบุญ เดินทางไปอวยพรญาติผู้ใหญ่ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 1,446.53 บาท มีธุรกิจที่เกี่ยวข้อง คือ ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าขนาดใหญ่

สำหรับคนกรุงฯที่มีแนวโน้มเดินทางออกจากกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 48.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็นผลจากการเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น ขณะที่ไปเที่ยวต่างจังหวัดและการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนของคนกรุงฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่วางแผนจะเดินทางท่องเที่ยวมีเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยในส่วนของการเดินทางกลับบ้านเพื่อเยี่ยมญาติทำให้มีเม็ดเงินสะพัด 1,800 ล้านบาท ประเด็นที่น่าสนใจคือ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของคนกรุงฯที่กลับบ้านต่างจังหวัดเป็นค่าใช้จ่ายในซื้อสินค้าหรือของฝากญาติพี่น้องในต่างจังหวัด และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ผลกระทบจากปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปัญหาราคาน้ำมัน ทำให้ในปีนี้คนกรุงฯกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือของฝากญาติพี่น้องในต่างจังหวัดลดลง

ส่วนคนกรุงฯที่เดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดมีการใช้จ่ายประมาณ 4,200 ล้านบาท โดยกระแสการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปีนี้มีแนวโน้มคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา จากบรรยากาศการท่องเที่ยวในประเทศช่วงปีใหม่ที่คึกคัก นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นให้คนกรุงเทพฯเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 13.8 วางแผนที่จะเดินทางไปเที่ยวค้างคืนในต่างจังหวัด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบเท่าตัว โดยคนกรุงฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างระบุค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเที่ยวค้างคืนในต่างจังหวัดเฉลี่ยคนละ 6,245.90 บาท ประเด็นที่น่าสนใจคือ ค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนกรุงฯนิยมท่องเที่ยวต่างจังหวัดโดยการขับรถไปเองมากกว่าการใช้บริการบริษัทท่องเที่ยว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us