Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
งัดเทคโนโลยีพยากรณ์อากาศ สู้ปัญหาน้ำท่วม             
 





ในรายงานซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนมกราคม 2001 Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) สรุปปัญหาว่า นับจากทศวรรษ 1950 ถึงทศวรรษ 1990 ทั่วโลกต้องได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจอันสืบเนื่องมาจากหายนภัยเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว ซึ่งนับรวมถึงภัยธรรมชาติทุกประเภท โดยมีอุทกภัยหรือน้ำท่วมสร้างความเสียหายมากที่สุดในบรรดาภัยที่เกิดจากน้ำด้วยกัน

นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนธันวาคมยังตีพิมพ์รายงานของ IPCC ต่อไปว่า ทศวรรษ 1990 ถือเป็นทศวรรษที่โลกเผชิญกับความร้อนสูงที่สุดเท่าที่บันทึกได้ โดยปี 1998 เป็นปีที่ร้อนที่สุด

"โลกยิ่งร้อนมากขึ้นเท่าไร น้ำก็ระเหยกลายเป็นไอมากขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดฝนตกชุกมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งนำไปสู่ภาวะน้ำท่วมรุนแรงขึ้น" Dr.Wolfgang Grabs แห่ง World Meteorological Organization (WMO) อธิบายเสริมให้เห็นภาพชัดขึ้น

นอกจากปัญหาอุทกภัยแล้ว ที่เลวร้ายไม่แพ้กันเห็นจะเป็นสภาพอากาศนั่นเอง มีการพยากรณ์ว่า เมื่อถึงช่วงปลายของศตวรรษนี้ อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นราว 5-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนำไปสู่ภาวะธารน้ำแข็งและภูเขา น้ำแข็งละลายจนก่อให้เกิดน้ำท่วมชายฝั่งทะเล และการก่อตัวของพายุมากขึ้นในประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลและตามหมู่เกาะขนาดเล็ก

John Sparrow แห่ง International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies (IFRC) ซึ่งรับผิดชอบร่วมกับทีมแก้ปัญหาภัยพิบัติของแต่ละประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ตกเป็น เหยื่ออุทกภัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้ภาพรวมเกี่ยวกับปัญหานี้ว่า "ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ แต่อยู่ที่การหาทางป้องกันมากกว่า ตอนนี้งบประมาณในส่วนของมาตรการป้องกันมีอยู่น้อยนิดมาก เราจึงต้องการสื่อกับรัฐบาลแต่ละท้องถิ่นว่า สิ่งจำเป็นเบื้องแรกที่ต้องทำคือ การจัดทำแผนงานระดับภูมิภาคเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัย"

มาตรการที่เชื่อว่าน่าจะได้ผลดีที่สุดสำหรับการรับมือกับอุทกภัย ในปัจจุบันคือ เทคโนโลยีการพยากรณ์อากาศ ซึ่งองค์กรต่างๆ อาทิ World Weather Watch, NOAA National Severe Storms Laboratory ในสหรัฐอเมริกา และ European Centre for Medium-Range Weather Forcasts (ECMWF) จึงใช้วิธีรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากภาพถ่ายดาวเทียม เรดาร์ หอสังเกตการณ์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ 10-12 วันล่วงหน้า โดยเน้นที่การสร้างระบบพยากรณ์สภาพอากาศเลวร้ายที่น่าเชื่อถือขึ้นมาให้ได้

"น้ำท่วมฉับพลันจะเกิดในระดับท้องถิ่นและไม่สามารถตรวจพบได้ล่วงหน้า หนทางเดียวที่จะพยากรณ์การเกิดของมันได้ก็คือ สร้างเครือข่ายเรดาร์ตรวจจับสภาพอากาศขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายหนาแน่นดังกล่าว จะมีเฉพาะในเขตชุมชนเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น" Dr.Wolfgang Grabs แห่ง WMO สะท้อนปัญหา

อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดก็มีสิทธิจะไร้ประโยชน์ได้ ถ้ารัฐบาลของแต่ละท้องถิ่นล้มเหลวในการเข้มงวดกับระเบียบการก่อสร้าง การอพยพโยกย้ายผู้คนออกจากเขตน้ำท่วม และการพัฒนาแผนอพยพโยกย้ายที่มีประสิทธิภาพ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us