Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 ธันวาคม 2550
เทเลคอมยุคกินรวบตลาด จับตา "AIS" บนกระดานใหม่             
 


   
www resources

AIS Homepage

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
Telecommunications
วิกรม ศรีประทักษ์




- เกมธุรกิจเทเลคอมสู่ยุคกินรวบตลาดโมบาย ฟิกซ์และโซลูชั่น
- กระดานการแข่งขันใหม่ที่โอเปอเรเตอร์จะสร้างรายได้มหาศาล
- จับตา "เอไอเอส" เปิดฉากวางหมากยุทธศาสตร์รุกทุกพื้นที่
- ก้าวสู่ผู้นำยุคใหม่ที่แตกต่างจากดีแทคและทรูฯ

อุตสาหกรรมการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปีนี้เติบโตขึ้นอย่างมาก เห็นได้ชัดจากมูลค่าของตลาดโดยรวมที่ทะลุหลัก 151,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกในปี 2551 ด้วยตัวเลขการคาดการณ์ประมาณ 5% หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 159,000 ล้านบาท

การพิจารณาเรื่องรายได้จากการให้บริการถือเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้ให้บริการอันดับหนึ่งในตลาดอย่างเอไอเอสได้หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นท่ามการแข่งขันที่รุนแรง และคู่แข่งขันไล่บี้เรื่องของจำนวนฐานผู้ใช้บริการ และโชว์ตัวเลขออกมาเป็นระยะ

"ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการไม่สามารถจับต้องได้ เพราะจำนวนซิมการ์ดที่อยู่ในตลาดในขณะนี้มีมากกว่าจำนวนผู้ใช้งาน การที่จะดูว่าผู้ให้บริการรายใดสามารถครองส่วนแบ่งทางตลาดมากที่สุดจะต้องเปลี่ยนวิธีการพิจารณาใหม่ โดยดูจากมูลค่าตลาดรวมที่มาจากค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการ"

เป็นคำกล่าวของ วิกรม ศรีประทักษ์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส

เมื่อเป็นเช่นนั้นเกมการแข่งขันการสร้างรายได้คือเรื่องใหม่ที่ผู้ให้บริการแต่ละรายจะต้องคำนึงมากกว่าตัวเลขของผู้ใช้บริการ อยู่ที่ว่าใครจะมีกลยุทธ์และวิธีการแสวงหารายได้จากผู้ใช้บริการที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลในขณะนี้ได้มากน้อยกว่ากัน

การเตรียมธุรกิจให้พร้อมสู่การแข่งขันรูปแบบใหม่จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะแนวโน้มที่เกิดขึ้นในธุรกิจเทเลคอมในเมืองไทย ก็ไม่แตกต่างจากเกมการแข่งขันที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และกำลังจะพลิกโฉมหน้าของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงอย่างเดียวไปสู่การให้บริการที่ครบวงจรในลักษณะของการเป็นโทเทิ่ล เทเลคอมโพรวายเดอร์ที่สมบูรณ์แบบ ที่มีศักยภาพความพร้อมทางธุรกิจทั้งในธุรกิจโมบาย ฟิกซ์ และโซลูชั่น

หากมองสิ่งที่เกิดขึ้นในเอไอเอสกับโครงสร้างธุรกิจปัจจุบัน ถือได้ว่ามีการเตรียมความพร้อมที่จะให้บริการทั้งในส่วนของโมบาย ฟิกซ์ และโซลูชั่น ด้วยการเตรียมบริษัทที่จะดำเนินการและขุมกำลังต่างๆ ที่เป็นเสริมแนวรบออกไปสู่ตลาดใหม่ โดยมีเป้าหมายที่รายได้อื่นๆ นอกเหนือจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว

โครงสร้างธุรกิจของเอไอเอสในส่วนของฟิกซ์นั้นจะเป็นรูปแบบการให้บริการสื่อสารประจำที่ในลักษณะของไฮสปีดเดต้า โดยมีบริษัท แอดวานซ์ เดต้า คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท ซูเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ตเวิร์กจำกัด เป็นผู้ให้บริการในส่วนนี้ ส่วนด้านโมบายนั้นมีเอไอเอสเป็นแกนหลัก รวมกับบริษัท ดิจิตอลโฟน แอดวานซ์ไวร์เลสเน็ตเวิร์ก จำกัด ซึ่งจะทำเรื่องของ 3จี และบริดจ์อัลลายแอนท์ ด้านธุรกิจโซลูชั่นมีบริษัท ไวร์เลสดีสทริบิวเตอร์เซอร์ จำกัด บริษัท แอดวานซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ก จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด เป็นหัวหอก

วิกรม มองว่า การแข่งขันในรูปแบบของเอไอเอสที่กำลังเกิดข้นนั้น เป็นการแข่งขันสร้างสรรค์รูปแบบการให้บริการที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าอย่างแท้จริง ไม่ใช่แข่งขันที่จำนวนฐานลูกค้า เพราะไม่ถือเป็นความสำเร็จที่ยั่งยืน

"เรามุ่งเน้นที่จะผู้นำส่งบริการที่ดีในทุกด้าน และเป้าหมายที่จะทำหน้าที่ผสมผสานบริการด้านสื่อสารโทรคมนาคมอย่างครบวงจรเพื่อก้าวสู่การเป็นโทเทิ่ล เทเลคอม โพรวายเดอร์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเริ่มเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในปีหน้า"

ทั้งนี้เอไอเอสมีแนวทางที่จะดำเนินธุรกิจบน 5 แกนหลัก คือ เรื่องของเครือข่ายคุณภาพ สินค้าบริการที่ดีกว่า การบริการลูกค้าทุกด้านต้องดี การให้สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าและการตอบแทนสังคม

การที่เอไอเอสจะก้าวไปสู่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมครบวงจรได้นั้น เรื่องของเครือข่ายคือเป็นหัวใจสำคัญ ในปีหน้าเอไอเอสมีแผนการลงทุนเรื่องของเครือข่ายอีกกว่า 15,000 ล้านบาท โดยมุ่งขยายในพื้นที่ใหม่ อาทิ ชุมชนสองฝั่งคลองต่างๆ เส้นทางถนนใหม่ๆ เส้นทางลัด แหล่งท่องเที่ยวใหม่ พื้นที่ริมชายฝั่งทะเล อาคารสำนักงานใหม่ นิคมอุตสาหกรรม โรงงานต่างๆ พร้อมริเริ่มแนวคิดเรื่องของ "Green Network"

ในด้านการพัฒนาสินค้าและบริการนั้น สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด เอไอเอส กล่าวว่าแนวคิดการตลาดของเอไอเอส คือ การชนะใจลูกค้า ทำแนวคิดการตลาดไปสู่ยุคที่ 3 ของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รวมยุคแรกที่เน้นเรื่องของฟังก์ชั่นนอล และยุคที่สองที่เน้นเรื่องของอีโมชั่นนอลมาไว้ด้วยกัน

"ขณะนี้ผู้ให้บริการรายอื่นยังอยู่ในยุคที่หนึ่งและสองของการให้บริการ เห็นได้จากผู้ให้บริการรายหนึ่งพยายามให้ผู้ใช้บริการลองซิ ซึ่งถือว่าเป็นยุคแรกของการให้บริการ ส่วนผู้ให้บริการอีกรายก็ยังเน้นการสร้างแบรนด์ดิ้งที่ให้ความรู้สึกดี"

แนวทางการตลาดของเอไอเอสจะทำตลาดแบบ Integrated Marketing ที่จะผนวกรวมการให้บริการที่หลากหลายไปพร้อมกับโปรดักส์ต่างๆ ของเอไอเอส ที่ยังคงเน้นเรื่องของเซกเมนต์เทชั่นอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางแบรนด์สวัสดี วัน-ทู-คอล! และจีเอสเอ็มแอดวานซ์ รวมไปถึงสมาร์ทโซลูชั่น นำมาประกอบเข้ากับโซลูชั่นอัจฉริยะต่างๆ จากเครือข่าย อาทิ Super IN จะทำให้เอไอเอสสามารถสร้างบริการแบบ Flexible และ Customize ได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วง

ส่วนบริการนอนวอยซ์เอไอเอสคาดว่าจะเติบโตขึ้นมากกว่า 10% โดยมีแผนที่จะเดินหน้าพัฒนาโมบายอินเทอร์เน็ตและรูปแบบการใช้งานคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะทางด้านเอนเตอร์เทนเมนต์

"ในปีหน้าลูกค้าของเอไอเอสทุกคนจะได้ทดลองใช้บริการนอนวอยซ์ฟรีก่อนที่จะตัดสินใช้จริง" สมชัยกล่าว

ความแตกต่างสำคัญอีกด้านใน 5 แกนหลักในแนวทางการดำเนินธุรกิจของเอไอเอส คือเรื่องของการบริการและการให้สิทธิพิเศษกับผู้ใช้บริการ โดยใช้แนวคิดที่ว่า คัสโตเมอร์ เซอร์วิส ไม่ใช่เพียงบริการหลังการขาย แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าผ่านการดูแลและการให้บริการแบบครบวงจร

เอไอเอสจะใช้ช่องทางต่างๆ อาทิ เอไอเอส คอลเซ็นเตอร์ สำนักงานบริการเอไอเอสและร้านเทเลวิซกว่า 720 แห่ง จุดชำระบริการที่มีมากกว่า 60,000 จุด และ Mobile Payment Agent นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนานวัตกรรมบริการรูปแบบใหม่ เช่น คอลเซ็นเตอร์ภาษาต่างประเทศ ภาษาถิ่นและ Face to Face Singing Call Center และสิทธิพิเศษจากเอไอเอสพลัสที่ยึด 3 แกนหลัก คือ ชอปปิ้ง อาหารและบันเทิง โดยในปีหน้าจะมีการเพิ่มแกนใหม่ คือ กีฬา การศึกษา และสุขภาพ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us