Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 543
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี51แจ่มใส ศก.สหรัฐฯหดไม่ฉุดดีมานด์ในปท.             
 


   
search resources

อดิเทพ พิศาลบุตร์
Oil and gas
ปตท. เคมิคอล, บมจ.




อุตสาหกรรมปิโตรเคมีปี 51 สดใสหลังราคาน้ำมันดิบพุ่งหนุนราคาแนฟธาและเม็ดพลาสติกพุ่งตาม มั่นใจตลาดปิโตรเคมีไทยไม่กระทบแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลง เนื่องจากดีมานด์ในประเทศน่าจะขยายตัวหลังมีรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น

นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปี 2551 ดีอยู่ต่อเนื่องจากปีนี้ ถ้าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่ระดับ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จะทำให้กลุ่มประเทศผู้ผลิตปิโตรเคมีในตะวันออกไกลอย่างจีน ไต้หวันและญี่ปุ่นที่ใช้วัตถุดิบจากแนฟธามีราคาสูงประมาณ 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน ส่งผลให้ราคาเม็ดพลาสติกHDPE เฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 เหรียญสหรัฐ/ตัน และโมโนเอทิลีนไกลคอล (MEG)อยู่ที่ 1,200-1,300 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากปัจจุบันราคาอยู่ที่ 1,400-1,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน

จากราคาเม็ดพลาสติกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดังกล่าว ทำให้แนวโน้มราคาสินค้าที่ใช้พลาสติกเป็นวัตถุดิบมีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้น โอกาสที่ราคาสินค้าจะต่ำเหมือนเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มลดลงนั้นเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีการขยายตัวดีอยู่และกำลังการผลิตปิโตรเคมีในตะวันออกกลางที่จะเพิ่มขึ้นในปีหน้าอีก 2 ล้านตัน มีแนวโน้มที่จะล่าช้าออกไปทำให้ปริมาณกำลังการผลิต และความต้องการใช้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน

ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มราคาปิโตรเคมีน่าจะอยู่ในช่วงขาลงปี 2552 เนื่องจากมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกจากตะวันออกกลางเข้ามามากทำให้เกิดโอเวอร์ซัปพลายประมาณ 1-2 ล้านตัน แต่คงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะมีการเลื่อนโครงการอีกหรือไม่

“ หากเศรษฐกิจสหรัฐลดลง ทำให้ความต้องการใช้ปิโตรเคมีลดลง และโรงงานปิโตรเคมีในตะวันออกกลางหากเดินเครื่องผลิตได้ จะทำให้เกิดโอเวอร์ซัปพลาย แต่บริษัทฯจะยังสามารถเดินเครื่องจักรผลิตได้เต็มที่ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ คือก๊าซธรรมชาติที่มีราคาต่ำกว่าแนฟธา ทำให้ยังสามารถแข่งขันในตลาดได้ แต่ผู้ผลิตในประเทศตะวันออกไกลจะต้องลดกำลังการผลิตลงเพราะต้นทุนสูงสู้คู่แข่งไม่ได้”นายอดิเทพกล่าว

ส่วนแนวโน้มความต้องการใช้ปิโตรเคมีในไทยคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางGDP หลังจากมีรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น หากGDPเติบโต 4% ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็น 5%

“ปีหน้าคาดว่าความต้องการใช้เม็ดพลาสติกจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าปีนี้ ขณะที่ปริมาณกำลังการผลิตส่วนเพิ่มของบริษัทจะเริ่มเข้ามาในปลายปี 2551 ทำให้ต้องลดการส่งออกเม็ดพลาสติกลงจากเดิมที่เคยส่งออกถึง 50%ของกำลังการผลิต เหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่งเพื่อส่งออก โดยตลาดส่งออกหลัก คือจีน คิดเป็น 25%ของการส่งออก”

ปีหน้าบริษัทฯคาดว่าจะมีรายได้รวม 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท

วานนี้ (25 ธ.ค.) บริษัทปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มปตท.เคมิคอล ได้ลงนามสัญญาสนับสนุนโครงการวิจัยการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริภายใต้การดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวงเงิน 30 ล้านบาท โดยจะอาศัยหลักธรรมชาติช่วยธรรมชาติในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานเอทิลีนออกไซด์และเอทิลีนไกลคอล แล้วนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us