Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
สร้างเสน่ห์บนแผ่นไม้เก่า             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

หทัยรัตน์ นาคสุวรรณ
Crafts and Design




เศษไม้ริมถนนในจังหวัดอยุธยา ถูกจับมาแต่งแต้มใหม่ด้วยสีอะคริลิค เป็นรูปดอกไม้เมืองร้อนที่เรียบง่าย แต่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาอีกมากทีเดียว

"ผู้จัดการ" เห็นภาพวาดดอกไม้ด้วยสีอะคริลิคบนแผ่นไม้จากฝาบ้านเก่า ครั้งแรกใน สปาแบบรีสอร์ตแห่งหนึ่งในซอยทองหล่อ ยังติดใจงานง่ายๆ แต่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของแผ่นไม้เก่า และสีสันอันเจิดจ้า ที่ทำให้ผนังทึมๆ สว่างไสวขึ้นมาทันที

ไปเจองานไม้แบบนี้อีกครั้งที่จตุจักร ซอย 7 แหล่งรวมงานศิลปะของศิลปินหน้าใหม่ และนั่นคือสาเหตุที่ต้องตามไปถึงบ้านไม้หลังเล็กๆ หลังหนึ่งในย่านลาดกระบัง ซึ่งมีเด็กหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งนั่งทำงานกันอย่างขะมักเขม้น

กระติก หรือหทัยรัตน์ นาคสุวรรณ เด็กสาววัย 25 ปี ที่เพิ่งจบจากคณะจิตรกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร และเพื่อนๆ น้องๆ จากสถาบันเดียวกัน คือ เจ้าของผลงานที่ชื่อ "ช่อสกุล" นี้เธอเล่าว่า เคยได้มีโอกาสไปทำงานหาประสบการณ์ 2 ปี ที่ร้าน At Home ซึ่งเป็นร้านที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการนำไอเดียแปลกใหม่มาใส่ในแผ่นไม้เก่าๆ จนกลายเป็นสินค้าตกแต่งบ้านราคาแพง งานของเธอในตอนนั้นคือการวาดรูปดอกไม้ และลวดลายต่างๆ ลงบนแผ่นไม้ก่อนที่จะนำไปประกอบ เป็นสิ่งของเครื่องใช้ หลังจากนั้นเธอก็กลับมาศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี และเริ่มงานวาดรูปในแผ่นไม้เก่าๆ ในชื่อ "ช่อสกุล" เป็นของตนเองเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง

ไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นฝาบ้านที่ถูกเลาะทิ้ง กองไว้ริมทาง ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดอยุธยา สภาพของมันจึงอิ่มน้ำ อิ่มฝนและถูกแสงแดดแผดเผามานานจนอยู่ตัว เธอจะซื้อมาทั้งกอง แล้วค่อยๆ มานั่งเลาะออกเป็นแผ่นๆ ทำความสะอาด โดยยังคงสีเดิมซึ่งเป็นสีน้ำมันบนแผ่นไม้ไว้อย่างนั้น หลังจากนั้นก็ค่อยนำมาคัดขนาด และเรียงสีเป็นพื้นไม้ใหม่ก่อนประกอบ เข้าด้วยกัน แล้วจึงจะวาดรูป และระบายสี

รูปส่วนใหญ่ที่วาด จะเป็นรูปดอกลั่นทม ชบา ชงโค กุหลาบ ดอกไม้เมืองหนาวต่างๆ รวมทั้งผลไม้ ผัก และสัตว์ต่างๆ โดยใช้เวลาในการวาดและลงสี รูปละประมาณ 4 ชั่วโมง

วันนี้หทัยรัตน์อาจจะมีความสุขกับการได้ทำในสิ่งที่ ตัวเองรัก ได้หาช่องทางให้น้องๆ และเพื่อนๆ ได้มีงานทำ และ ยังได้ใช้ชีวิตรวมกลุ่ม ไม่ต่างกันกับการทำกิจกรรมในรั้วของสถาบัน แต่ต่อไปเธอต้องหาจุดแข็งของแบรนด์ "ช่อสกุล" เพิ่มความสำคัญในเรื่องคุณภาพ และคิดค้นรูปแบบงานที่หลากหลายออกไป พร้อมกับเริ่มหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อชิงความเป็นผู้นำไปก่อนที่สินค้าประเภทเดียวกันนี้ จะถูกทำเลียนแบบออกมาขายอย่างรวดเร็ว

 

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us