มีข่าวลือว่า Credit Suisse Group อาจจะขาย
Credit Suisse First Boston ออกไป แต่บรรดาแบงเกอร์
และผู้จัดการกองทุนหุ้นออกมาคาดเดาว่า หากจะขายจริงๆ
น่าจะเป็น Credit Suisse Asset Management มากกว่า
ด้วยตัวเลขสินทรัพย์ในปี 2002 จำนวน 297.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การบริหารโดย
Credit Suisse Asset Management หรือ CSAM สามารถดึงดูดผู้ที่ต้องการซื้อ
เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัท ประกัน หรือสถาบันการเงิน
ตามความเป็นจริงแล้ว Bank of America (BoA) เคยให้ความสนใจในความพยายามที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจบริหารกองทุน
ขณะที่มีข่าวเล็ดลอดออกมาจาก Credit Suisse First Boston หรือ CSFB ผู้ถือหุ้น
CSAM ว่ากำลังมองหาผู้ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม เหตุผลดังกล่าวไม่ได้เป็นหลักฐานที่จะทำให้ CSFB ออกมาประกาศ
ถึงดีลดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ โดยทางด้านโฆษกของ CSAM แสดงจุดยืนว่า
ธุรกิจนี้จะไม่ขายให้ใครเด็ดขาด "บริษัทกำลัง มองหาช่องทางการลงทุนต่อไป"
สิ่งที่พิสูจน์ได้ชัดเจนสำหรับการดำเนิน ธุรกิจของ CSAM ก็คือ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้ดึง
Mike Kenneally มาจาก Banc of America Capital Management มาดำรงตำแหน่งประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร
รวมถึงนำ Jack DiMaio ประธานตลาดตราสารหนี้ของ CSFB มาเป็นประธานเจ้าหนี้
บริหารดูแลหน่วยงานการลงทุนทั่วไป
ขณะที่บรรดาวาณิชธนากรและผู้เชี่ยว ชาญในสถาบันการเงินเห็นด้วยว่า CSAM
จะ ถูกบีบบังคับให้ขายออกไปหาก Credit Suisse Group ต้องการเงินสดอย่างมากจาก
CSAM เป็นที่ดึงดูดใจนักลงทุนทั่วโลก เนื่องเพราะไม่ได้ดำเนินธุรกิจในตลาดท้องถิ่นเท่านั้นยังขยายออกไปอย่างกว้างขวาง
อาทิ ตลาดญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
หาก CSAM ขายออกมาจะช่วยให้ Credit Suisse Group ที่มีฐานธุรกิจในเมืองซูริค
สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
"ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์สำหรับธุรกิจธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์"
Jacques-Henri Gaulard นักวิเคราะห์เมอร์ริล ลินช์บอก "ปีที่ผ่านมาพวกเขาขาดทุนสุทธิ
3.3 พันล้านเหรียญฟรังก์สวิส หรือลดลง 309% จากปีก่อนหน้า"
ประเด็นที่นักวิเคราะห์กังวลมากที่สุดเกี่ยวกับสถานการณ์ของสถาบันการเงินกลุ่มนี้อยู่ที่
BIS ขั้นที่ 1 ปรับตัวลดลงจาก 11.8% ในปี 1999 เป็น 9.7% ในปีที่ผ่านมา "เงินกองทุนที่ตกต่ำลงส่งผลต่อการขยาย
และเป็น ไปได้ที่พวกเขาต้องเร่งเงินทุนถ้าในอนาคตผลประกอบการออกมาย่ำแย่"
Jeremy Sigee นักวิเคราะห์ Salomon Smith Barney กล่าว
สำหรับการขายธุรกิจหลักทรัพย์ของ CSFB ให้กับ Bank of New York มูลค่า
2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมา ตลาดคาดว่าจะสามารถเพิ่มเงินกองทุน
ขั้นที่ 1 ได้มากกว่า 5 basis points กระนั้นก็ดีบริษัทยังต้องการตัวเลขที่สูงกว่านี้
อีกเงื่อนไขของ Credit Suisse Group ยังเป็นหัวข้อถกเถียง นั่นคือ การขายหรือแยก
CSFB ออก แต่นักวิเคราะห์บอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะในอดีตเคยพยายามขายธุรกิจดังกล่าวออกไปในช่วงครึ่งหลังปี
2001 ให้กับ BoA แต่ดีลล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่ธุรกิจวาณิชธนกิจจะกลายเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุน
สนใจ ที่สำคัญ CSFB มีผลการดำเนินงานไม่น่าสนใจ บวกกับเรื่องอื้อฉาวในองค์กรทำให้ภาพลักษณ์องค์กรย่ำแย่
โดย Gaulard พูดว่าเป็นบริษัทที่น่ากลัวมาก โดยเฉพาะเรื่องฉาวโฉ่ของวาณิชธนากร
"เป็นเรื่องลำบากในการหาใครมาซื้อ CSFB"
ขณะที่ CSAM กลับไม่มีปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปีที่ผ่านมาทำกำไรได้
169.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับการควบรวมกิจการ
โดย BoA มี ท่าทีสนใจมาเกือบสองปีแต่ดีลยังไม่บรรลุ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องราคา
นอกจากนี้ Mellon Financial และ Bank One ให้ความสนใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากขนาดธุรกิจของ
CSAM เหมาะสมกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในระยะยาว หากเปรียบเทียบกับต้นทุนต่ำและผลตอบแทนสูงในตลาดทุน
โดยธนาคารทั้งสองต้องการจัดหาผลิตภัณฑ์หลากหลายเพื่อเสนอต่อลูกค้าผ่านสาขาตนเอง
"ถ้าพวกคุณถูกบีบบังคับให้ขายสินค้า ในปริมาณมาก ทำไมไม่แสวงหาสินค้าเข้ามา
ขายเพิ่ม" แบงเกอร์รายหนึ่งกล่าว