Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 ธันวาคม 2550
“ปตท-โบรกฯ”ชี้คืนท่อก๊าซไม่กระทบหวั่นสหพันธ์ฯจิกไม่เลิก-ต่างชาติกระเจิง!             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
Energy




ปตท.รับสภาพเดินหน้าตามคำสั่งศาลฯ พร้อมคืนสิทธิ-อำนาจของรัฐ-ท่อก๊าซ 3 เส้นทางให้คลัง พ้อหนี้สินที่เกิดขึ้นต้องแบกรับฝ่ายเดียว จวก “องค์กรผู้บริโภค” ได้คืบจะเอาศอกเดินหน้าเล่นฟ้องดะไม่กลัวประเทศชาติเสียหายทำนักลงทุนทั้งไทย-นอกผวา.! ขณะที่โบรกเกอร์เชื่อโอนคืนท่อกาซ 3 เส้นทาง ปตท.กระทบเพียงเล็กน้อย ด้านองค์กรผู้บริโภคยังเดินหน้าเช็คบิล ปตท.ถึงที่สุด ฟันธง“ปตท.-รัฐบาล.” ฮั้วกันเองเรื่องค่าเช่า

เป็นข่าวทอล์กออฟเดอะทาวน์ในช่วงนี้สำหรับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีแปรรูปปตท.เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมาโดยคำพิพากษาดังกล่าวแม้ไม่ให้ยกเลิกแปรรูปปตท. แต่ก็ให้ปตท.คืนท่อก๊าซ 3 เส้นทาง (บางปะกง-วังน้อย ,ชายแดนพม่า-บางปะกง,ราชบุรี-วังน้อย) แก่กระทรวงการคลัง ซึ่งทำให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงานและผู้บริหารปตท. เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้และนำเสนอคณะรัฐมนตรีชี้ขาดเมื่ออังคารที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สิน การโอน ค่าเช่า เบื้องต้นและทำให้สามารถเปิดขายหุ้นปตท.ได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด

ขณะที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคยังเดินหน้าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายแพ่งและทางอาญาต่อไป ขณะเดียวกันมีแนวโน้มว่าองค์กรรัฐวิสาหกิจอื่นๆอาทิ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ MCOT, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ กสท. และบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOTเป็นต้น จะถูกฟ้องในเรื่องการแปรรูปที่มิชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

ปตท.เดินหน้าโอนคืนท่อก๊าซ

รายงานข่าวจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ระบุถึงความคืบหน้าโอนท่อก๊าซคืนแก่รัฐว่า ปตท.จะยึดตามหลักของคำพิพากษาอย่างเคร่งครัดโดยปตท.ต้องโอนทรัพย์สินคืนได้แก่ 1.)ที่ดินเวนคืน 32 ไร่ที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้โอนให้แก่ บมจ.ปตท. 2.)สิทธิการใช้ที่ดินของเอกชนเพื่อการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อที่โอนให้แก่ บมจ.ปตท. 3.ทรัพย์สินระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยท่อก๊าซ (3 เส้นทาง บางปะกง-วังน้อย ,ชายแดนพม่า-บางปะกง,ราชบุรี -วังน้อย) รวมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติอันเกิดจากการใช้อำนาจมหาชนเหนือที่ดินของภาคเอกชน

ส่วนทรัพย์สินที่ปตท.ได้มาโดยมิได้ใช้อำนาจมหาชนแต่ได้มาโดยวิธีการอื่นเช่น การซื้อ จัดหา หรือแลกเปลี่ยนตามมาตรา 7 (1)แห่งพ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511นั้นไม่ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ โดยปตท.มีการบันทึกบัญชีทรัพย์สินอย่างถูกต้องครบถ้วนโดยมีสำนักงานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)เป็นผู้ตรวจสอบมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันการแบ่งแยกทรัพย์สินตามที่ศาลสั่งจึงสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ได้

ชี้องค์กรผู้บริโภคป่วนชาติพัง.!

“ปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่มูลค่าในการโอนทรัพย์สินหรือ มูลค่าในตลาดหุ้นที่ลดลง คือหากมีตัวเลขออกมาตรงๆว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ปตท.ก็พร้อมจ่ายอยู่แล้ว เพื่อให้ทุกอย่างจบและเดินไปข้างหน้าได้ แต่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกลับไม่อยากหยุดยังจะเดินหน้าตอแยปตท.ไปเรื่อยๆโดยไม่คำนึงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศตอนนี้นักลงทุนต่างประเทศเริ่มกังวลมากขึ้นต่อกรณีดังกล่าวเพราะตอนนี้องค์กรดังกล่าวยังจะทำทุกทางเพื่อหยุดปตท.ให้ได้นี่คือสิ่งที่เรากังวลมากที่สุด”แหล่งข่าวระดับสูง ระบุ

อย่างไรก็ดีคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนจึงจะโอนเสร็จสิ้นซึ่งในรายละเอียดการโอนจะต้องมีฝ่ายกฎหมายของรัฐ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาดูรายละเอียดในเรื่องหลักเกณฑ์การโอนท่อก๊าซ ทั้งการประเมินราคาสินทรัพย์ ค่าเช่าท่อ และอื่นๆ

กรมธนารักษ์คิดค่าเช่าเท่ากฟผ.

ส่วนเรื่องค่าเช่าท่อก๊าซนั้น ทางกรมธนารักษ์จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ เหมือนกับการคิดค่าเช่าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และท่าอากาศยานไทยที่คิดประมาณร้อยละ 2- 5 มูลค่ารายได้ต่อปี

“ภาระหนี้ที่เกิดจากการสร้างท่อก๊าซไม่มีผู้ใดที่จะช่วยรับผิดชอบกับปตท.มีแต่บอกให้โอนท่อก๊าซคืนแต่ภาระหนี้สินยังอยู่กับปตท. ซึ่งเจ้าหนี้ต้องเรียกคืนหนี้อยู่ดีไม่มีใครรับโอนหนี้จากปตท.ภาระตรงนี้ยังคงเป็นของปตท.”แหล่งข่าวยืนยัน

ค่าโอนท่อเส้น1-2 แค่ 2.8 พันล้าน

ด้านบมจ. หลักทรัพย์ทรีนีตี้ วิเคราะห์ว่าความน่าจะเป็นสูงสุดของกรณีแยกท่อก๊าซครั้งนี้โดยท่อก๊าซทั้ง 3 เส้นมูลค่ารวมกัน 101,000 ล้านบาทคือท่อเส้นที่ 1 (บางปะกง-วังน้อย) ท่อเส้นที่2 (ชายแดนพม่า-บางปะกง) จะใช้วิธีการโอนทรัพย์สินกลับไปแล้วเช่ากลับคืน(Transfer and Lease Back)โดยโอนสินทรัพย์ท่อก๊าซเส้นที่ 1 และ 2 คืนให้กระทรวงการคลัง และหลังจากนั้นเช่าคืนกลับมาใหม่เพราะมีความเหมาะสมและยุติธรรมกับภาครัฐและเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น ปตท.มูลค่าของท่อก๊าซเส้นที่ 1 เท่ากับ 9,000 ล้านบาทและท่อก๊าซเส้นที่ 2 เท่ากับ 19,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 28,000 ล้านบาทหากมีการโอนกลับไปคาดว่าอาจต้องเสียภาษีการโอนประมาณ 10% คิดเป็น 2,800 ล้านบาท

ขณะที่ท่อก๊าซเส้นที่3 (ราชบุรี-วังน้อย) จะใช้วิธีทางบัญชีว่าการขายคืนให้กระทรวงการคลังและเช่ากลับคืนมา (Sell and Lease Back) เพราะเงินที่ใช้สร้างท่อก๊าซเส้นที่ 3 เป็นเงินระดมทุนจากเจ้าหนี้และส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่บมจ.ปตท.ได้มาหลังจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้วโดยท่อเส้นที่ 3 มูลค่า73,000 ล้านบาทเป็นสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นหลัง ปตท. เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เงินสร้างท่อมาจากเจ้าหนี้และส่วนของผู้ถือหุ้น

คืนท่อเส้น 3 แต่ขอเช่าสัมปทานต่อ

ดังนั้นการคืนกลับไปต้องได้รับการชดเชย คาดว่าจะทำได้โดยวิธี Sell and Lease Back เพื่อโอนความเป็นเจ้าของจากปตท.ให้รัฐบาลเป็นเจ้าของท่อแทนและ ปตท.ขอเช่ากลับมาใหม่เพื่อดำเนินธุรกิจเดินก๊าซผ่านท่อต่อไปเชื่อว่าท่อส่วนนี้จะไม่มีการโอนกลับไปเฉย ๆ เพราะมิฉะนั้นจะถูกเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นฟ้องกลับฐานก่อให้เกิดความเสียหายโดยไม่ได้รับการชดเชยได้ส่วนนี้เราเชื่อว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นบ้างแต่ไม่น่าจะสูงนัก

หวั่น‘รบ.-ปตท.’ฮั้วค่าเช่าผ่านท่อ

ด้านสายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวถึงการเดินหน้าฟ้องร้องในคดีปตท.ว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (17 ธ.ค.) ทางองค์กรผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองในกรณีที่ศาลฯได้พิพากษาให้ปตท.โอนคืนท่อก๊าซทั้ง 3 เส้นและคืนอำนาจ สิทธิเวนคืนของภาครัฐกลับไปยังรัฐบาลเพราะกลัวว่าการประชุมครม.วันอังคาร (18ธ.ค.)จะเกิดการฮั้วกันเองระหว่างรัฐบาลและปตท.ทำให้ผลประโยชน์ไม่ตกแก่ประชาชนที่แท้จริง ซึ่งทางศาลฯก็ให้เหตุผลว่าต้องให้เวลาปตท.และรัฐบาลจัดการเรื่องดังกล่าวก่อนโดยยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราวไป

ส่วนการประเมินทรัพย์องค์กรผู้บริโภคมองว่ารัฐบาลและปตท.มีข้อพิรุธคือเร่งรีบสรุปเรื่องต่างๆภายใน 2 วันเพื่อนำเข้าครม.เมื่อวันอังการที่ผ่านมา ทั้งที่ความชัดเจนในเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินควรจะมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สภาทนายซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะเกิดการฮั้วกันเองระหว่างปตท.และรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังดูแลกรม ธนารักษ์อาจจะมีการคิดค่าเช่าที่ถูกกว่าความเป็นจริงก็ได้

ขณะที่การเปิดการซื้อขายหุ้นปตท.ในตลาดหุ้นตามปกตินั้นยังไม่สมควรจนกว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องการโอนทรัพย์สิน

ส่วนการเดินหน้าฟ้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจอื่นๆไม่ว่าจะเป็น AOT, MCOT, กสท. นั้นคงต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนและดูรายละเอียดข้อกฎหมายต่างๆก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us