Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 ธันวาคม 2550
บัญญัติ 3 ประการ ดันสื่อออนไลน์ไทยทะยาน             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations




ไม่กี่วันมานี้สำนักข่าวเอพี เพิ่งตีพิมพ์ข่าวชิ้นหนึ่งรายงานถึงอัตราการเติบโตของตลาดโฆษณาออนไลน์สหรัฐฯปีนี้อยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ ทะยานแตะระดับ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้ว ซึ่งกลุ่มผู้บริหารบริษัทอินเทอร์เน็ตเชื่อว่าตัวเลขดังกล่าวจะพุ่งขึ้นไปอีก หากนักโฆษณามีความเชื่อมั่นในแนวทางจับกลุ่มคนออนไลน์มากขึ้น

นอกจากตัวเลขตลาดโฆษณาออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น รายงานจากเอพียังพบว่าการประเมินตลาดโฆษณาสื่อดั้งเดิมและออนไลน์อเมริกันในปัจจุบันนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้ชัดเจน การโฆษณาทั้งในโทรทัศน์และวิทยุต่างมีความเกี่ยวเนื่องกับผู้บริโภคบนอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น จุดนี้กลุ่มผู้บริหารบริษัทออนไลน์ต่างเรียกร้องให้มีการสำรวจการใช้งานของผู้บริโภคที่ชัดเจนกว่านี้ เพื่อที่นักโฆษณาจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจว่าจะลงโฆษณากับสื่อใด

ข้อเรียกร้องนี้ไม่ธรรมดา เนื่องจากนักวิเคราะห์มองว่าสื่อต่างๆทั้งทีวี วิทยุ และอินเทอร์เน็ตต่างพยายามแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างเข้มข้น เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่สามารถใช้เวลากับสื่อเพียงชนิดเดียวในเวลาเดียวกัน ทำให้การรับชมหรือรับฟังสื่ออื่นน้อยลงไปด้วย โดยตัวเลขมูลค่าตลาดโฆษณาออนไลน์ 2 หมื่นล้านเหรียญนั้นยังน้อยนิดนัก เมื่อเทียบกับตลาดโฆษณารวมมูลค่า 2.5 แสนเหรียญ

จุดนี้เองที่ทำให้ผู้บริหารบริษัทอินเทอร์เน็ตเชื่อว่า มูลค่าตลาดโฆษณาออนไลน์จะเพิ่มขึ้นอีก โดยในปีหน้าเชื่อว่าจะเป็นปีที่เทคโนโลยีการสำรวจตรวจวัดปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้นักโฆษณาเห็นภาพความคุ้มค่าที่จะได้รับจากการโฆษณาออนไลน์มากขึ้น

ส่วนในเมืองไทยจากคำให้การของหลายค่ายล้วนกล่าวในท่วงทำนองคล้ายกันว่า เชื่อว่าแนวโน้มการโฆษณาออนไลน์ในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์หัวสีค่ายใหญ่ก็เพิ่มอัตราค่าโฆษณาขึ้นทุกปี ทำให้เจ้าของสินค้าที่มีงบประมาณจำกัดจะหันมาลงโฆษณาในสื่อออนไลน์ที่มีราคาถูกกว่าแทน

“คิดว่าเม็ดเงินโฆษณาในสื่อออนไลน์น่าจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีนี้อยู่ที่ 0.5-1% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมด หรือประมาณ 450-600 ล้านบาท โดยคาดว่าในปีหน้าสัดส่วนจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 2% หรือมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็นหลักพันล้านบาท” กษมาช นีรปัทมะ รองประธานบริหารสื่อออนไลน์ บริษัท ท็อปสเปซ จำกัด ในเครือสนุกดอทคอม ให้ความเห็น

จะว่าไปแล้วสภาพการณ์การสำรวจจำนวนผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตของคนมะกันกับคนไทยก็ยังไม่มีความชัดเจนเช่นเดียวกัน จากคำบอกกล่าวของผู้เชี่ยวชาญด้านสื่ออินเทอร์เน็ตของไทยรายหนึ่ง ให้ความเห็นในเรื่องนี้เอาไว้ว่า ตัวเลขที่บริษัทต่างๆใช้ดู หรือคุณภาพของกลุ่มเป้าหมายเป็นข้อมูลที่คนโกหกก็สามารถนำมาใช้ในการอ้างอิงได้ แม้จะมีการติดตั้ง “คุกกี้” ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็ไม่สามารถระบุตัวตนได้ว่าเป็นใครมาจากไหน ยกเว้นจะข้อมูลที่ได้จาก MSM ที่จะมีความเที่ยงตรงของข้อมูลค่อนข้างมาก เนื่องจากจะมีการเช็คกลับไปกลับมา หรือ Cross Check อีกครั้งหนึ่ง

3 ปัจจัยดันสื่อออนไลน์รุ่ง

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะทำให้สื่อออนไลน์วิ่งได้เร็วขึ้นอยู่ที่ ประการแรก จำนวนการใช้คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กของคนไทยต้องมีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจำนวนการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี ในบ้านเราเวลานี้จะอยู่ที่ 10 ล้านเครื่องแต่แทบทั้งหมดจะอยู่ที่บ้าน หรือที่ทำงาน ขณะที่ในต่างประเทศนั้นจะเห็นผู้คนเดินหิ้วโน้ตบุ๊กไปไหนต่อไหนเป็นจำนวนมาก ส่วนบ้านเราจะเห็นมากในย่านธุรกิจเท่านั้น

ประการที่สอง ต้องมีเนื้อหา (Content) ที่มีความนิยมสูง และเนื้อหานั้นสามารถย้ายจากออฟไลน์ไปยังออนไลน์ได้

“หากพิจารณาคอนเทนท์ของบ้านเราที่มีอยู่ในตอนนี้จะเห็นว่ายังมีไม่มากพอ และมีความเป็นบันเทิงไม่มากพอ ทำให้คอนเทนท์ยังไม่มีพลัง ไม่เหมือนของไต้หวันที่มีทั้งโทรทัศน์ หรือนิยายบนออนไลน์เกิดขึ้น” เป็นคำกล่าวของ วิสุทธิ์ ตันติตยาพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอ็คเซส แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์

ประการที่สาม ต้องรอเด็กที่เกิดหลังยุคการเกิดของคอมพิวเตอร์ (Computer Boomer) ให้ เติบโตมากกว่านี้ เนื่องจากการเสพสื่อของคนไทยหลายคนยังเป็นโลกเก่า โดยเฉพาะบรรดาบริษัทซื้อสื่อ หรือมีเดีย บายเออร์ ที่เป็นคนยุคเก่าแต่ยังกุมอำนาจในการซื้อ

“เราจะเห็นว่าพีซีโลตัสซึ่งเป็นจอสีเขียวๆเข้ามาตั้งแต่ปี 2530 จากนั้นแค่ 5 ปี วินโดวส์จึงค่อยเข้ามา ดังนั้นเด็กที่เกิดหลัง 2535 ในวันนี้เขาจะมีอายุประมาณ 15 ปี ซึ่งจากนี้ไปอีก 5 ปี กลุ่มนี้จะเป็นกำลังหลัก หรือเป็นหัวขบวนของผู้เล่นคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นในอเมริกาก่อนบ้านเราหลายปี ทำให้เด็กมะกันในวันนั้นและโตเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้สามารถใช้คอมพิวเตอร์กันได้หมดแล้ว โดยกูรูการตลาดคนหนึ่งเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Blue Universe ยุคสมัยหน้าเด็กกลุ่มนี้จะเข้ามาทำให้ให้สื่อออนไลน์บ้านเราได้รับความนิยม”

ปรากฏการณ์จากโลกถึงไทย

“จากปรากฏการณ์ไอโฟน และไอพอด ทำให้วันนี้เราไม่สามารถปฏิเสธการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ไปได้” วิสุทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญสื่อออนไลน์ เชื่อมโยงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ให้ฟัง

ไอพอด เครื่องเล่นเอ็มพี 3 ขนาดจิ๋วแต่แจ๋วได้เข้ามาปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบอารยธรรมทางดนตรีแบบเดิม ๆ ที่โซนี่ วอล์คแมน ได้เคยสร้างไว้ลงอย่างราบคาบ ด้วยเหตุผลที่โซนี่ต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยบริษัทอื่น และไม่สามารถดัดแปลงความสำเร็จในยุคที่ “วอล์คแมน” เคยรุ่งโรจน์มาก่อน ให้กลายเป็นนวัตกรรมในยุคเอ็มพี 3 ได้

ไอพอดสามารถเชื่อมโยงการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยเสียงเพลง วันนี้ “ไอทูนส์” ร้านให้บริการดาวน์โหลดเพลงทางออนไลน์รุกตลาดอย่างหนักมีผู้ใช้บริการหลายล้านคน และมีเปิดให้บริการในหลายประเทศ จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ให้หลายสินค้าเข้ามาลงโฆษณา ขณะที่ไมโครซอฟท์ ยาฮู กูเกิล ก็กำลังกำลังแข่งขันกันอย่างหนักหน่วงว่าใครจะได้เม็ดเงินจากโฆษณาออนไลน์มากกว่ากัน โดยปัจจุบันไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งการโฆษณาออนไลน์ตามหลัง กูเกิล และยาฮู ที่มีบทบาทโดดเด่นในตลาดโฆษณาออนไลน์ระดับโลกมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไมโครซอฟท์กำลังมีความพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่ง 1 ใน 2 อันดับแรกของอุตสาหกรรมออนไลน์ที่กำลังเติบโต ด้วยส่วนแบ่งตลาด 40% จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 6%

ขณะที่ไมโครซอฟท์กำลังพยายามเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอย่างขะมักเขม้น ทางเดอะ โคลัมบัส ดิสแพท และหนังสือพิมพ์ระดับภูมิภาคอีก 16 ฉบับที่บริษัท นิวยอร์ก ไทม์ โค เป็นเจ้าของ ได้เข้าร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันกับยาฮู เพื่อนำโฆษณาที่ประกาศขอความช่วยเหลือต่างๆ มารวมไว้ในฐานข้อมูลบริการค้นหางาน HotJobs ของยาฮูที่ปัจจุบันทยอยทำไปแล้วกับหนังสือพิมพ์ 377 ฉบับ และคาดว่าจะมีตามมาอีกหลายฉบับ เนื่องจากปัจจุบันยาฮูมีพันธมิตรที่เป็นหนังสือพิมพ์ 415 ฉบับ และหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์อีก 140 ฉบับ ซึ่งการเชื่อมโยงประกาศรับสมัครงานออนไลน์เข้ากับ HotJobs ดูเหมือนจะเป็นหนทางสร้างรายได้เพิ่มจากค่าโฆษณา

อย่างไรก็ตาม จากปรากฏการณ์ของไอพอด ไอโฟน ยูทิวบ์ และ Hi 5 ที่กำลังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในขณะนี้น่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดโฆษณาออนไลน์ไทยเติบโตมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะที่ผ่านมา “บลูฟรีเวย์” บริษัทดิจิตอลเอเยนซี่จากแดนจิงโจ้ก็เข้ามาใช้ไทยเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เพราะเห็นศักยภาพการเติบโต และเชื่อว่าต่อไปโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์จะมีสีสันและความสนุกน่าตื่นเต้นมากกว่าปัจจุบันที่เป็นเพียงแค่การโฆษณาผ่านแบนเนอร์บนเว็บไซต์ต่างๆ เช่น สนุกดอทคอม แมเนเจอร์ดอทคอม เท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us