|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศ ระยะยาวของบริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ ‘BBB+(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตในประเทศระยะสั้นที่ระดับ ‘F2(tha)’ พร้อมประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารยูโอบี
บริษัทบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า อันดับเครดิตของอิออนสะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็งของบริษัทในการให้บริการลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ผลกำไรและความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่งในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยในประเทศไทย เงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และการสนับสนุนบางส่วนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ กลยุทธการปล่อยสินเชื่อที่มีอัตราการเติบโตสูงของบริษัทในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณภาพสินทรัพย์ของบริษัท
ดังจะเห็นได้จากอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสภาวการณ์ในการดำเนินธุรกิจได้อ่อนแอลงในปี 2549 และ 2550 แต่การเพิ่มขึ้นของอัตราการผิดนัดชำระหนี้และค่าใช้จ่ายการกันสำรองมีแนวโน้มคงตัวแม้ว่ายังอาจมีความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายการกันสำรองที่อาจเพิ่มสูงขึ้นอีกจากสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลง กำไรสุทธิของบริษัทเติบโตในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับหลายปีก่อนหน้านี้เนื่องจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและการกันสำรองหนี้ด้อยคุณภาพที่สูงขึ้น ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อที่สูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อส่วนต่างกำไร (margin) ของบริษัทได้ถูกชดเชยด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น
อิออนขยายตัวไปตลาดต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลของบริษัทก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนในปัจจุบันเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทมากที่สุด บริษัทได้เสริมความแข็งแกร่งในการบริหารความเสี่ยงในด้านนโยบายการปล่อยสินเชื่อและการดำเนินการจัดเก็บหนี้ บริษัทได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่เพื่อจะช่วยจำแนกความเสี่ยงของลูกค้าและเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดลูกค้าเพื่อการจัดเก็บหนี้
นอกจากนี้อิออนยังตั้งศูนย์การจัดเก็บหนี้ในภูมิภาคทั้งหมดสี่แห่ง และกระจายภาระความรับผิดชอบเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อิออนเป็นผู้ประกอบการรายสำคัญในตลาดสินเชื่อรายย่อยสำหรับลูกค้ารายได้ต่ำ ธุรกิจของบริษัทคือการให้บริการแก่ลูกค้าในรูปแบบสินเชื่อประเภทต่างๆ ซึ่งรวมถึง สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และการซื้อสิทธิเรียกร้อง (Factoring)
คงอันดับเครดิตของธนาคารยูโอบี
นอกจากนี้ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) (UOBT; ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นธนาคารเอเชีย) ดังต่อไปนี้: อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (IDR)) ที่ ‘A-’ (A ลบ) แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินตราต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘C/D’ อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘1’ อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’
อันดับเครดิตของ UOBT มีพื้นฐานมาจากการที่ United Overseas Bank ของสิงคโปร์ (“UOB” ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศที่ ‘AA-’(AA ลบ)) ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีอำนาจในการบริหารธนาคาร ถึงแม้ว่าข้อจำกัดในการถือหุ้นของต่างชาติอาจจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ UOB ลดลงหลังจากปี 2551 ผลกระทบดังกล่าวจะถูกลดทอนลงจากความแข็งแกร่งของฐานเงินทุนของ UOBT ที่เพิ่มขึ้นให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการขยายธุรกิจในระยะยาว ซึ่งจะช่วยจำกัดการลดสัดส่วนการถือหุ้นใน UOBT ของ UOB ให้น้อยที่สุด
เมื่อพิจารณาถึงชื่อเสียงและทรัพยากรของ UOB รวมทั้งชื่อของ UOBT ที่ใกล้เคียงกับบริษัทแม่ของธนาคาร ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ UOBT จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่อย่าง UOB ในกรณีที่มีความจำเป็น การเปลี่ยนแปลงใดๆในการถือหุ้นของ UOB รวมทั้งข้อผูกพันและการสนับสนุนของธนาคารที่มีต่อ UOBT ย่อมส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตภายในประเทศของ UOBT
UOBT รายงานผลขาดทุนสุทธิที่ 521.7 ล้านบาท สำหรับผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2550 ลดลงอย่างมากจาก ผลกำไรสุทธิ 1.3 พันล้านบาท สำหรับผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากหลักเกณฑ์การกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เข้มงวดขึ้นตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 (IAS 39)
รวมถึงผลขาดทุนจากการขายลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และต้นทุนการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น รายได้จากดอกเบี้ยยังคงที่ในระดับเดิมเนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อที่ค่อนข้างต่ำ ผลประกอบการของธนาคารน่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2551 จากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะปรับตัวดีขึ้นและจากงบดุลของธนาคารที่ดีขึ้น อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT มีแนวโน้มดีขึ้นจากผลกำไรที่คาดว่าจะดีขึ้นและการเติบโตของธนาคารในอีก 1 ถึง 2 ปีข้างหน้า
|
|
|
|
|