|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของประเทศไทย โดยเนื้อหาในรายงานฉบับดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงรูปแบบของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย อัตราการเติบโตของตลาด อัตราดอกเบี้ย ขั้นตอนการฟ้องคดีและบังคับจำนองขายทอดตลาด รวมถึงการดำเนินงานและลูกหนี้สินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
โดยอัตราการเติบโตของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ลดลงในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงกลางปี 2548 ถึงปี 2549 รวมถึงราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย อัตราการเติบโตของสินเชื่อผู้บริโภคประเภทอื่น เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน” อรวรรณ การุณกรสกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่าย Structured Finance ของฟิทช์กล่าว
ในด้านของการปล่อยสินเชื่อ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (loan-to-value ratio) โดยเฉลี่ยสำหรับสินเชื่อที่ปล่อยในกรุงเทพฯ ในปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 80%-90% จากระดับ 70%-80% ในปี 2543 ทั้งนี้ โดยทั่วไปอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันสำหรับสินเชื่อที่ปล่อยในต่างจังหวัดจะต่ำกว่าสินเชื่อที่ปล่อยในกรุงเทพฯ ในด้านส่วนแบ่งการตลาด ธอส. เป็นผู้นำรายใหญ่ที่สุดในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่ประมาณ 40% ณ กลางปี 2550 เพิ่มขึ้นจากระดับ 30% ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้ลดการปล่อยสินเชื่อหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม คาดว่าส่วนแบ่งการตลาดของธอส.จะลดลงในอนาคตเนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้นจากธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 ยอดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคงค้างของประเทศไทยอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ รายงานเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของประเทศไทย ยังได้กล่าวถึงความเป็นมาของภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมถึงอัตราความเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (property ownership) ภูมิศาสตร์ประชากร (demographics) ภาวะเศรษฐกิจ ระดับหนี้ครัวเรือน ตลาดและราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ฟิทช์ยังได้รวมกระบวนการและวิธีจัดอันดับเครดิตของตราสารหนี้ประเภทแปลงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ (residential mortgage-backed securities หรือ RMBS) ไว้ในรายงานฉบับดังกล่าวอีกด้วย
|
|
|
|
|