Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
อรพงศ์ เทียนเงิน Young Successor             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

อรพงศ์ เทียนเงิน




ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่วิศวกรไทยคนหนึ่งกาวขึ้นมาระดับสูง ในสายงานอาชีพที่ตั้งใจมาตั้งแต่เด็กด้วยความสามารถของตนเอง

"วิศวกรรมศาสตร์" เป็นความใฝ่ฝันของอรพงศ์ เทียนเงิน ว่าจะต้องสอบเอ็นทรานซ์เพื่อเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยให้ได้ เพราะเขามองว่ามีประโยชน์และสามารถทำงานได้หลากหลายธุรกิจ

"ผมชอบวิศวกรมาตั้งแต่เด็กและคิดมาแล้วว่าต้องเรียนด้านนี้อย่างเดียว เมื่อจบไปแล้วจะได้ใช้ความรู้หรือไม่ก็ตาม" เขาเล่า

ความใฝ่ฝันของเขาเป็นจริงเมื่อสอบ เข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการสานฝันตัวเองอย่างแท้จริง "วิศวกรรมเป็นวิชาฝึกฝนที่ดี สอนให้คนมีความคิดเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมี Logic ในการสร้างเหตุผล"

ปี 2527 อรพงศ์ตัดสินใจเดินทางไปรัฐเพนซิลวาเนีย เพื่อศึกษาระดับปริญญาโทด้าน Manufacturing Systems Engineering and Business Adminis-tration ที่ Lehigh University ด้วยทุนส่วนตัวจนสำเร็จการศึกษา จากนั้นเข้าทำงาน ที่ Caterpillar ในฐานะ Manufacturing Engineer ซึ่งเป็นบริษัทแรกในชีวิตการทำงาน แต่เขาใช้เวลาเพียงปีเดียวก็ลาออก เพื่อไปทำงานกับ Boeing ผู้ผลิตเครื่องบิน ยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก

อรพงศ์ทำงานที่โบอิ้ง 3 ปี ก็ตัดสิน ใจลาออกมาร่วมงานกับ The Iacocca Institute ตำแหน่ง Technical Program Manager โดยสถาบันแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นช่วงปลายทศวรรษ ที่ 1980 เพื่อสนับสนุนบรรดาบริษัทสัญชาติอเมริกันให้มีศักยภาพเชิงการแข่งขันในตลาดโลก เนื่องจากญี่ปุ่นสามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพ จนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก

"เหตุการณ์นี้ทำให้อเมริกาย่ำแย่ ทำให้บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งรวมตัวกันตั้ง Think Tank ขึ้นมา โดยบริษัทแต่ละแห่งส่ง ผู้บริหารระดับสูงมาช่วยกันคิดว่าอุตสาหกรรมในอเมริกา ควรจะต้องทำอะไรเพื่อรักษาความได้เปรียบเอาไว้" อรพงศ์อธิบาย

จากการมีโอกาสเข้าร่วมทำงานในสถาบันที่ถูกจัดตั้งเป็นพิเศษดังกล่าว ทำให้เขาได้ประสบการณ์อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นได้รู้จักกับพาร์ตเนอร์คนหนึ่ง ของเอคเซนเชอร์ (Accenture) บริษัทที่ปรึกษาที่เข้ามาร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ ในการจัดการกับปัญหา

"ผมเลยถูกทาบทามให้มาทำงานที่เอคเซนเชอร์ และไม่ปฏิเสธ"

ปี 2538 อรพงศ์กลายเป็นพนักงาน ของเอคเซนเชอร์ ในฐานะ Knowledge Manager สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอ นิกส์และไฮเทค โดยประจำที่สำนักงาน Palo Alto แคลิฟอร์เนีย ศูนย์กลางด้านกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีของบริษัท

ด้วยภารกิจที่ต้องรับผิดชอบบริการ ลูกค้าทั่วโลกทำให้เขามีโอกาสเห็นการทำงานในประเทศต่างๆ ค่อนข้างมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งลักษณะวัฒนธรรมขององค์กร "ประสบการณ์แตกต่างกันมาก เช่น ในอเมริกาไม่ต้องระวังอะไรมาก เพราะเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ทุกคนพร้อมที่จะรับฟังไม่ว่าระดับไหน ขณะที่ยุโรปค่อนข้างจำกัดเรื่องนี้ ส่วนแถบเอเชียต้องระมัดระวังอย่างมาก"

หลังจากทำงานที่แคลิฟอร์เนียระยะหนึ่ง อรพงศ์ต้องเดินทางไปให้บริการ ลูกค้าธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ในเกาหลีใต้ ด้าน Supply Chain Management จากนั้นกลับไปประจำที่เดิม และถูกดึงตัวไปให้บริการลูกค้าทั่วโลก

"ทำงานมาแล้ว 10 ประเทศ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาชนชาติที่ทำงานด้วยยากที่สุด คือ เกาหลีใต้ เพราะคนเกาหลีมีการแข่งขันและตั้งใจอย่างมาก"

หากพิจารณาประสบการณ์การทำงานของอรพงศ์นับว่ารวดเร็วมากสำหรับการเป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับความไว้วางใจในองค์กรที่มีบทบาทระดับโลกอย่างเอคเซนเชอร์ สังเกตได้จากการที่เขาถูกส่งตัวมาประจำที่สำนักงานประเทศไทยในปี 2540

การกลับมารับผิดชอบตลาดในประเทศไทยของอรพงศ์ครั้งนี้เป็นความสำเร็จในชีวิตการทำงานของเขา เพราะได้รับการโปรโมตให้เป็นกรรมการกลุ่มธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมและไฮเทค ถือได้ว่าเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่ได้รับตำแหน่งนี้ค่อนข้างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ช่วงสามปีแรก เขานั่งทำงานที่สิงคโปร์ตลอด เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้โครงการขนาดใหญ่ ที่เอคเซนเชอร์เข้าไปให้บริการจึงอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมถึงปากีสถาน

จนกระทั่งปี 2543 อรพงศ์จึงได้เข้ามารับผิดชอบตลาดเมืองไทยอย่างเต็มตัว และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผลักดัน ให้ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว "ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจนี้ขยายตัวอย่างมาก หากพิจารณาตลาดโทรศัพท์มือถือที่พวกเราเข้าไปทำงาน ให้ประมาณ 2 ปีที่แล้วมีลูกค้า 1-1.5 ล้านราย แต่ทุกวันนี้เพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับ 11 ล้านราย"

หากพิจารณาช่วงระยะเวลาดังกล่าว ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของไทยเติบโตขึ้น ถึง 50 เท่า ด้วยปัจจัยประกอบหลายอย่าง อาทิ ด้านซัปพลาย เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก ขึ้น ขณะที่ราคาของอุปกรณ์ถูกลง ทำให้ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อและง่ายต่อการใช้เพิ่มขึ้น

"ช่วงที่ผ่านมาธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมและไฮเทคเลยเติบโตอย่างชัดเจน" อรพงศ์บอก

กระนั้นก็ดี ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมและไฮเทคมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้เชี่ยว ชาญคาดเดาลำบากถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจ แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนในปัจจุบัน คือ ตลาดเริ่มเติบโตช้าลง จากตัวเลขจดทะเบียนใหม่ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือลดลง

อีกทั้งกฎระเบียบใหม่ๆ หลังจากรัฐบาลแปรรูปธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งต้องรอว่าจะออกมาลักษณะอย่างไร หรือรูปแบบ ของการดำเนินธุรกิจของโอเปอเรเตอร์ว่าจะแข่งขันหรือร่วมมือกันอย่างไร แต่ด้วยเทคโนโลยี รวมถึง Application ใหม่ๆ ที่ออกมาจึงเป็นส่วนผลักดันให้ตลาดคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง

เมื่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลเสียหายต่อผู้ประกอบการ ประกอบกับการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ ดังนั้นผู้เล่นเดิมต้องการความเปลี่ยนแปลงและพยายาม หาความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง จึงเป็นโอกาส ของเอคเซนเชอร์ที่เข้าไปให้บริการ

"พวกเราเข้าไปช่วยด้านกลยุทธ์ทิศทางว่าบริษัทลูกค้าควรจะทำอย่างไร จะนำเทคโนโลยีอะไรมาใช้ วางเป้าหมายส่วนไหนของตลาด ช่วยวิเคราะห์ว่าองค์ประกอบของผู้บริโภคเป็นอย่างไร รวมถึงช่วยเปลี่ยนระบบการทำงาน ไม่ใช่ให้เฉพาะ ซอฟต์แวร์ฮาร์ดแวร์ ยังเข้าไปดูโครงสร้างการทำงานแล้วเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิ ภาพมากขึ้นเพื่อให้ตรงความต้องการของตลาด และเข้าไปจัดการเปลี่ยนแปลงจัดระบบองค์กร พัฒนาบุคลากร เนื่องจากตลาดและการแข่งขันเคลื่อนไหวตลอดเวลา" อรพงศ์อธิบาย

ถึงแม้ว่าตลาดสื่อสารโทรคมนาคมและไฮเทคอยู่ในช่วงหดตัว แต่เนื่องจากเอคเซนเชอร์เป็นผู้บริการที่มีบทบาทต่อตลาดมากที่สุด สังเกตได้จากบริษัทขนาดใหญ่เป็นลูกค้าทั้งหมด ดังนั้นความท้าทาย จึงอยู่ที่การแสวงหาประสบการณ์และวิ่งตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

"พวกเราอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งอย่างมาก ยอมรับว่ามีคู่แข่งแต่ใครจะชนะค่อนข้างลำบาก และทุกวันนี้ยังไม่เห็น คู่แข่งที่ชัดเจน" อรพงศ์กล่าว

ด้วยบุคลิกที่เต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นถือเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความสำเร็จอย่างรวดเร็วของอรพงศ์ อย่างไรก็ตาม กว่าจะมาถึงจุดนี้เขาต้องทำงานหนักมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเริ่มต้นที่ต้องเดินทางทุกสัปดาห์ เป็นแสนไมล์ต่อปีเพื่อไปให้บริการลูกค้า

"ผมทำงาน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน" เขาบอก

หลังจากที่อรพงศ์มาดูแลงานในประเทศไทย การเดินทางเริ่มลดลง แต่นั่นไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกขาดหายไปของรูปแบบการทำงาน ในทางกลับกันเขากลับรักงานที่รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน "มีความท้าทายและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ที่สำคัญเป็นอุตสาหกรรมที่สนุก"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us