|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"โฆสิต" ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยดีต่อเนื่อง ปีหน้ามีโอกาสขยายตัว 5-6% ปัจจัยท้าทายพ้นช่วงวิกฤตไปแล้วทั้งราคาน้ำมัน ค่าเงิน เศรษฐกิจสหรัฐและซับไพรม์ ม.หอการค้าไทยฟันธงปัจจัยการเมืองตัวแปร "ศุภวุฒิ สายเชื้อ" ระบุหลังเลือกตั้งเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าๆ รัฐบาลชุดใหม่จะทำงานยากขึ้นภายใต้กรอบใหม่ เผยนักลงทุนอยากเห็นความน่าเชื่อถือ-เสถียรภาพ แนะทุกฝ่ายให้ยอมรับไม่ว่าพรรคไหนจะเป็นรัฐบาล
วานนี้ (19 ธ.ค.) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ร่วมกับชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอี จัดสัมมนา SMEs ประจำปี 2550 ในหัวข้อ "ธุรกิจกับโลกาภิวัตน์" ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกาถาพิเศษว่า เศรษฐกิจในภาครวมกำลังมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้เห็นว่าในปีที่รัฐบาลรักษาการเข้ามาดูแลก่อนที่จะทำการส่งมอบให้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่ต่อไปนั้นเศรษฐกิจไม่ได้มีการตกต่ำลงในภาพรวม โดยจะเห็นได้จากในไตรมาสแรกของปีการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) อยู่ที่ระดับ 4.2% ไตรมาสที่สองอยู่ที่ 4.3% ไตรมาสที่สามนั้นตัวเลขล่าสุดรายงานว่าอยู่ที่ 4.9% และในไตรมาสสุดท้ายมองว่าน่าจะมีการขยายตัวอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 5% ซึ่งดีขึ้นตามลำดับ ทำให้เชื่อว่าการขยายตัวทั้งปีที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4.5% นั้นอยู่ในวิสัยทัศน์ที่สามารถทำได้
ส่วนปีหน้านั้นจะมีความท้าทายอีกมากมาย ทั้งจากด้านของราคาน้ำมัน ค่าเงิน เศรษฐกิจของสหรัฐ รวมถึงปัญหาซับไพรม์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในปี 2550 แล้ว ไม่ใช่ปัญหาใหม่แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงการปรับตัว แม้ว่าจะมีการปรับตัวมาแล้วก็ตาม โดยการขยายตัวของจีดีพีในปีหน้านั้นน่าจะอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 5% แต่หากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกอย่างปรับตัวดีขึ้นหมด รวมถึงมีการดูแลการส่งออกให้ดี จีดีพีก็อาจจะขยายตัวได้ถึง 6%
"ปีหน้าคงไม่มีอะไรที่ช็อคอีก เพราะทุกอย่างที่เป็นสิ่งท้าทายก็เกิดขึ้นในปีนี้แล้วทั้งหมด แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการลงทุนทั้งในส่วนรัฐและเอกชนซึ่งปลายปีนี้การลงทุนน่าจะดีขึ้น และเป็นปัจจัยหลักที่จะสร้างความเข้มแข็งและความมั่นใจให้กับประเทศ ในส่วนของปัญหาซับไพรม์นั้นสิ้นปีนี้บริษัทที่รับผลกระทบโดยตรงก็จะมีการประกาศผลประกอบการออกมาให้รับรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ซึ่งปัญหานี้ก็จะยังมีให้เห็นอีกแต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เชื่อว่าทางการสหรัฐฯดูแลได้เพื่อดำรงรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจของเขาไว้ และนโยบายที่ใช้นั้นไม่ใช่แบบบังคับเหมือนไทยแต่จะต้องใช้เวลาในการแก้ไข"นายโฆสิต กล่าว
ฟันธงปัจจัยการเมืองตัวแปร
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยหลังเลือกตั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมือง หากการเมืองนิ่งเศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 4.5-5 ปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ และเชื่อว่าคงไม่มีใครผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ โดยในช่วงไตรมาส 1 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนยังเปราะบางและยังนิ่ง เพราะรอสถานการณ์ที่พร้อมขับเคลื่อน ส่วนไตรมาสที่สองจะเริ่มเดินหน้าได้บ้าง และไตรมาสที่สามนั้นจะมีความชัดเจนในการเริ่มเดินตามนโยบายมากขึ้น
ทั้งนี้คาดการณ์ในปีหน้าราคาน้ำมันในประเทศไทยจะมีการขึ้นราคาประมาณ 2-3 บาท และช่วงต้นปีอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นและเริ่มนิ่งก่อนจะปรับลดลงในช่วงปลายปี รวมถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะมีการเพิ่มขึ้นประมาณ 0.25-.050% โดยจะเริ่มเห็นไนไตรมาสที่ 3
ศก.หลังเลือกตั้งค่อยๆ ฟื้น
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าฝ่ายวิจัย) บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวในหัวข้อ "แนวโน้มเศรษฐกิจไทยหลังการเลือกตั้ง" ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีการฟื้นตัวช้า ๆ แต่เป็นการฟื้นตัวแบบสมดุลหรือเป็นการฟื้นตัวที่มาจากภาคการบริโภคและการลงทุน โดยการลงทุนที่จะเห็นนั้นประกอบด้วยปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ท่องเที่ยว โรงแรม และอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น แต่การส่งออกจะมีการชะลอตัวลง
สิ่งที่ท้าทายในปีหน้า ประกอบไปด้วยเรื่องของการเมือง ภายหลังการเลือกตั้ง รัฐบาลที่ได้จะเป็นรัฐบาลผสมมาจากหลายพรรคการเมือง ซึ่งทำให้การอนุมัติโครงการต่างๆ ทำได้ช้าลง เมื่อเทียบกับรัฐบาลพรรคเดียว รวมถึงจะต้องทำงานภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งจะทำให้การทำงานยากขึ้น รวมถึงเรื่องของนโยบายของพรรคการเมืองที่หาเสียง เน้นช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นมากกว่าการส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว และนโยบายประชานิยมไม่มีประโยชน์ ไม่ควรเน้นแจกเงินหรืออุดหนุนราคาสินค้า เพราะไม่ใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนระยะยาว ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องกระตุ้นการลงทุนสร้างศักยภาพการแข่งขันให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ในระยะยาว และปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง จะส่งผลกระทบต่อการภาคการส่งออกของไทย
ทั้งนี้ รัฐบาลที่นักลงทุนต้องการจะเห็นจะต้องไว้วางใจได้และมีความมั่นคง เพื่อลดความกังวลในการลงทุน และถึงแม้พรรคใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือมีเสียงเกิน 240 เสียง นั้นทุกฝ่ายจะต้องยอมรับในกฎเกณฑ์เพราะถ้าไม่พอใจมีการปฎิวัติ นโยบายเดินไม่ได้นักลงทุนคงไม่มาลงทุนอีก แต่หากทุกคนจะเคารพกติกาการเลือกตั้งที่มาจากรัฐธรรมนูญใหม่ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแรงส่งและฟื้นตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2552 โดยปี 2551 จะขยายตัว 4.6-4.7% ส่วนปี 2552 ขยายตัวกว่า 5% และจะช่วยให้มีความมั่นใจกลับมาอีกระลอก
"ในปีหน้าเรามองว่าควรจะมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและควรพึ่งการลงทุนในประเทศเป็นหลัก โดยให้สัดส่วนไว้ที่ 60-70% ที่เหลือ 30-40% นั้นมาจากปัจจัยภายนอก เพราะการที่เราเข้มแข็งด้วยปัจจัยภายในประเทศ หรือปีนี้ที่อาจจะมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 5.2% ของจีดีพีนั้น ทำให้แม้เศรษฐกิจโลกจะมีปัญหาเราก็จะยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้"นายศุภวุฒิ กล่าว
ส่วนปัญหาซับไพรม์นั้นแม้จะมีการอัดเม็ดเงินเข้าระบบก็สามารถช่วยได้เพียงระดับหนึ่ง แต่หากมีการเพิ่มสภาพคล่องก็จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงกับภูมิภาคเอเชียว่ามีการควบคุมเงินเฟ้อได้ดีหรือไม่ ซึ่งความเสี่ยงของไทยในปัญหาซับไพรม์ก็คือเงินเฟ้อ
|
|
 |
|
|