Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 ธันวาคม 2550
ยึดท่อก๊าซค่าไฟลดปีละ 1.5 หมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
Energy




สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคประเมินผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากค่าไฟฟ้าลดลงหากเอาท่อก๊าซและอำนาจผูกขาดคืนมาเป็นของรัฐไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี สวนทาง ปตท.และรัฐมนตรีพลังงานขู่ชาวบ้านแบกค่าไฟค่าก๊าซแพงแน่ แฉสารพัดคำอ้าง ปตท.ไม่แยกกิจการท่อก๊าซ ทั้งที่ระบุชัดในไฟลิ่งตั้งแต่ปี 2544 ว่าต้องตั้งบริษัทท่อส่งก๊าซฯให้เสร็จใน 1 ปี เผยเบื้องหลังไม่ยอมคายเพราะธุรกิจก๊าซฯ คือตัวสร้างกำไรให้ ปตท.มากกว่า 90% ของกำไรขั้นต้น

นางสาวสายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค หนึ่งในผู้ฟ้องคดี ปตท. กล่าวถึงประเด็นที่ทางผู้บริหาร บมจ.ปตท.และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.กระทรวงพลังงาน ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าการคืนท่อก๊าซฯ ให้กับรัฐจะทำให้ต้นทุนค่าไฟแพงขึ้นว่า ความจริงแล้วจากการศึกษาข้อมูลขององค์กรผู้บริโภคพบว่า การเอาคืนท่อก๊าซฯและอำนาจผูกขาดจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากค่าไฟฟ้าที่ถูกลงมากกว่า

ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ให้ข้อมูลว่า ความสำคัญของระบบท่อก๊าซไม่ได้มีแค่เพียงรายได้จากค่าผ่านท่อก๊าซฯ กว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี แต่ยังหมายถึงการเอากิจการท่อก๊าซฯ ซึ่งผูกขาดตามธรรมชาติไปต่อยอดธุรกิจ ค้ากำไรเกินควรตั้งแต่ 1) การจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ 2) การเลือกปฏิบัติในการขายก๊าซฯให้โรงแยกก๊าซฯของปตท.ในราคาถูก ขณะที่ขายให้กับโรงไฟฟ้าในราคาแพง 3) การเอื้อประโยชน์ให้ ปตท.สผ. บริษัทลูก ปตท. โดยการรับซื้อก๊าซในราคาที่แพงกว่าก๊าซที่รับซื้อจากผู้ผลิตก๊าซรายอื่นๆ

“ผลของการผูกขาด ขูดรีดและเลือกปฏิบัติเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อภาระค่าก๊าซและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภคและประชาชนทุกคน” นางสาวสายรุ้ง กล่าว

จากการประเมินขั้นต้นของสหพันธ์ผู้บริโภค พบว่า หากนำกิจการท่อก๊าซฯ และอำนาจผูกขาดการจัดการก๊าซคืนมาเป็นของรัฐ ประชาชนคนไทยจะได้รับประโยชน์จากค่าไฟฟ้าที่ถูกลงเนื่องจากราคาก๊าซฯซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตไฟฟ้าลดลง ดังนี้

1) อัตราค่าผ่านท่อ ปรับใช้เกณฑ์การเงินเท่ากิจการไฟฟ้า แทนการประกันกำไรสูงเกินควรดังในปัจจุบัน ที่คิด IRROE สูงถึง 18% ส่วนนี้จะลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่าปีละ 6,000 ล้านบาทต่อปี

2) เกลี่ยราคาก๊าซที่ขายโรงไฟฟ้า และโรงแยกก๊าซของ ปตท. ให้เท่ากันไม่เลือกปฏิบัติ จะลดได้มากกว่า 5,000 ล้านบาท/ปี

ทั้งนี้ เมื่อปตท.กลายเป็นบริษัทเอกชน ธุรกิจโรงแยกก๊าซของปตท. ไม่ควรได้รับอภิสิทธิ์ในการใช้ก๊าซราคาถูกกว่าผู้ใช้ก๊าซอื่น เหมือนเมื่อครั้งที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ปัจจุบัน ปตท.ขายก๊าซให้กับโรงแยกก๊าซของตนเอง จำนวน 5 โรง ในราคาประมาณ 150 บาทต่อล้านบีทียู (ไม่รวมค่าผ่านท่อ) ขณะที่ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ใช้ก๊าซรายใหญ่สุดของประเทศ ในราคาที่แพงกว่า คือ 180 บาทต่อล้านบีทียู (ไม่รวมค่าผ่านท่อ) กลายเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าของทุกครัวเรือน

ขณะที่โรงแยกก๊าซฯ ของปตท. ไม่ได้ผลิตก๊าซหุงต้มเพื่อใช้ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งออกผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำกำไรให้ปตท.สูงถึง 15,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งควรนำกำไรส่วนเกินของปตท.ส่วนนี้มาลดค่าไฟฟ้าให้คนไทยทั้งประเทศ

3) ยกเลิกการเก็บค่าหัวคิวกับโรงไฟฟ้าจากการเป็นพ่อค้าคนกลางผูกขาดท่อก๊าซ เนื่องจากปัจจุบัน บมจ.ปตท.คิดค่าตอบแทนในการจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ หรือ “ค่าหัวคิว” ในฐานะที่เป็นพ่อค้าคนกลางผูกขาดการซื้อก๊าซจากผู้รับสัมปทานขุดเจาะก๊าซฯ และผูกขาดการจำหน่ายให้ผู้ใช้ก๊าซ โดยบวก “ค่าหัวคิว” ในอัตราร้อยละ 1.75 - 9–33 ของราคาเนื้อก๊าซเฉลี่ย ดังนั้นหากผู้ใช้ก๊าซ และผู้ขุดเจาะก๊าซสามารถซื้อขายตรงได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าหัวคิว ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึงปีละประมาณ 3,500 ล้านบาท

4) ยุติการเอื้อประโยชน์ราคารับซื้อก๊าซจาก ปตท.สผ. เพราะก๊าซที่ซื้อจากแหล่งในอ่าวไทยที่ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่บมจ.ปตท. ร่วมทุนแพงกว่า แหล่งอื่น ๆ ถึง 28% และก๊าซที่ซื้อจากแหล่งในพม่าที่ ปตท.สผ. ร่วมทุนแพงกว่าแหล่งอื่น ๆ ถึง 72% ภาระค่าก๊าซที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกผลักภาระไปให้ผู้ใช้ไฟ ซึ่งการเอื้อประโยชน์ดังกล่าวนี้ ไม่สามารถประเมินค่าไม่ได้ แต่ทำให้ปตท.สผ. มีผลกำไรปีละกว่า 30,000 ล้านบาท และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามราคาน้ำมันโลก โดยรายได้กว่า 90% มาจากการขายก๊าซราคาแพงให้โรงไฟฟ้าและประชาชนคนไทย

“ในเบื้องต้นหากเอาท่อก๊าซและอำนาจผูกขาดการจัดการคืนมาจะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงได้มากกว่า14,500 ล้านบาทต่อปี” นางสาวสายรุ้ง กล่าว

อ้างสารพัดเหตุไม่แยกท่อก๊าซ

จากการตรวจสอบของ "ผู้จัดการรายวัน" เกี่ยวกับข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ที่บมจ.ปตท.ได้ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อปี 2544 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้มีการระบุว่า เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติที่กำหนดให้ ปตท. ดำเนินการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ปตท. จะดำเนินการจัดตั้งบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด เพื่อเป็นผู้ดำเนินธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติหลัก ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะทำภายใน 1 ปี หลังการนำ ปตท. เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมี ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทดังกล่าว

นอกจากนี้ ปตท. ยังมีแผนงานที่จะจัดตั้งบริษัท ปตท. ท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซธรรมชาติในอนาคต

ทั้งนี้ในรายงาน 56-1 ประจำปี 2545 บริษัทได้แจ้งต่อสำนักงานก.ล.ต. ว่า การดำเนินงานในการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำเป็นต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากประเด็นต่างๆ ที่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี อันได้แก่ การยกเว้นภาระภาษีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่ ปตท. โอนทรัพย์สินให้บริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด และการอนุญาตให้สิทธิ์ บริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด เข้าดำเนินการในระบบท่อส่งก๊าซฯ รวมทั้งการเช่าที่ดินจาก ปตท. และการเช่าช่วงที่ดินจากหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ปตท. คาดว่าจะสามารถดำเนินการจัดตั้งบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด เพื่อดำเนินกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ภายใน 6 เดือนนับจากวันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในประเด็นที่เสนอ

ในส่วนของรายงานในปี 2546 ระบุว่า ปตท. อยู่ระหว่างประสานงานกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนในการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการโอน หรือการทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ของ ปตท. ให้แก่ บริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด โดยการจัดจ้างบริษัท Boston Consulting Group (BCG) ทำการศึกษาดังกล่าว ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้ให้ ปตท. ชะลอการดำเนินการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายออกไป

ขณะที่ในรายงานปี 2547 ระบุว่าการแยกบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด มีความเกี่ยวพันกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงพลังงานกำลังพิจารณาทบทวน ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้ให้ ปตท. ชะลอการดำเนินการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกจากกิจการจัดหาและจำหน่าย เพื่อพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับทิศทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของประเทศต่อไป

สำหรับรายงานปี 2548 ระบุคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า โดยให้ชะลอการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า และเห็นชอบการปรับโครงสร้างไฟฟ้าในรูปแบบ Enhanced Single Buyer โดยจะมีการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงมีนโยบายชะลอการดำเนินการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกจากกิจการจัดหาและจำหน่าย เพื่อพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับทิศทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของประเทศ

ในส่วนของรายงานปี 2549 ระบุว่า คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 มีมติเห็นชอบตามมติ กพช. เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ โดยเห็นควรให้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. .... โดยให้มีการกำกับดูแลที่ครอบคลุมถึงกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติ มีการแยกบทบาทการกำกับดูแล และการกำหนดนโยบายออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้งานการกำกับดูแลกิจการพลังงานมีความเป็นอิสระ และมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาวต่อไป ซึ่งกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจะเป็นหนึ่งในกิจการก๊าซธรรมชาติที่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

ธุรกิจก๊าซฯตัวทำกำไรให้ ปตท.

สำหรับเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการไม่แยกธุรกิจท่อก๊าซฯ ออกจากบมจ.ปตท.นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลแผนการระดมทุนบมจ.ปตท.ที่นำเสนอคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ เมื่อเดือนก.ย. 2544 ระบุไว้ชัดเจนว่า โครงสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA และกำไรขั้นต้นที่ผ่านมาของปตท.แยกตามรายธุรกิจ พบว่า แม้ปตท.จะเป็นองค์กรที่ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมครบวงจร คือ ธุรกิจก๊าซฯ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น แต่ธุรกิจหลักที่สร้างผลกำไรให้กับปตท.อย่างแท้จริง คือ ธุรกิจก๊าซฯ ซึ่งสร้าง EBITDA และกำไรขั้นต้นในช่วงปี 2542 – 2543 และ 6 เดือนแรกของปี 2544 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.5 และ 82.3 ของ EBITDA รวม และกำไรขั้นต้นรวมของปตท.ตามลำดับ

ข้อมูลจากแผนการระดมทุนปตท. ดังกล่าว ยังชี้ว่า ผลประกอบการของปตท.ที่เน้นธุรกิจก๊าซฯ จะส่งผลดีต่อมูลค่าของบมจ.ปตท. เนื่องจากนักลงทุนจะให้มูลค่าธุรกิจก๊าซฯ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนส่งก๊าซฯทางท่อ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอน) สูงกว่ามูลค่าธุรกิจน้ำมันที่มีผลประกอบการค่อนข้างผันผวน ทางปตท.และกลุ่มที่ปรึกษาการเงิน จึงมุ่งเน้นชี้แจงให้นักลงทุนตระหนักในข้อมูลดังกล่าว โดยกำหนดกลยุทธที่จะนำเสนอ บมจ.ปตท.ต่อนักลงทุนในรูปแบบของบริษัทก๊าซธรรมชาติครบวงจร ที่มีการดำเนินการในธุรกิจน้ำมันและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องครบวงจร

นอกจากนั้น จากประมาณการลงทุนซึ่งเป็นข้อมูลภายในของปตท. จะมีการลงทุนในธุรกิจและโครงการต่างๆ รวมประมาณ 90,000 กว่าล้านบาท ในช่วงปี 2544-2548 โดยงบลงทุนดังกล่าว ประมาณร้อยละ 90 เป็นการลงทุนในโครงการธุรกิจก๊าซฯ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการขยายงานในอนาคตของ บมจ.ปตท.ทั้งสิ้น

อำนาจผูกขาดธุรกิจก๊าซฯ ปั่นราคาหุ้น

การแปรสภาพ ปตท. เป็นบมจ.ปตท.ที่กำหนดให้แยกธุรกิจก๊าซฯ ออกมาให้ชัดเจนนั้น ความจริงแล้ว คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ชุดที่มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธานฯ ได้มีข้อสังเกตจากที่ประชุม กนท. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติแนวทางการแปรสภาพปตท. เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2544 โดยระบุเอาไว้ชัดเจนว่า ควรศึกษาหาแนวทางแยกท่อส่งก๊าซฯ ก่อนที่จะทำการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ มิฉะนั้นจะแยกบริษัท่อส่งก๊าซฯได้ยาก เพราะผู้ถือหุ้นของบริษัทอาจจะไม่ยินยอมเพื่อรักษาประโยชน์ที่จะได้รับจากการมูลค่าของหุ้นที่สูงอันเกิดจากการมีอำนาจผูกขาด

แต่เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางนำปตท.เข้าตลาดฯ ในไตรมาส 4 ของปี หากไม่สามารถแยกบริษัทฯท่อส่งก๊าซฯ ได้ก่อนการการจัดทำ IPO ก็ให้แยกบริษัท่อส่งก๊าซฯ ภายใน 1 ปี หลังจาก IPO ตามที่เสนอ ซึ่งต่อมากำหนดเวลาการแยกก๊าซฯ กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

นางสาวสายรุ้ง กล่าวสรุปว่า การแยกกิจการท่อก๊าซฯ จึงไม่ใช่เพียงแค่แยกเอาท่อฯ ออกมา แต่ต้องเอาอำนาจผูกขาดที่ ปตท.นำไปใช้ในการแสวงหาประโยชน์ด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us