Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 ธันวาคม 2550
ธปท.โว 30% สกัดเก็งบาท ผ่อนผันกองทุนอสังหาฯ แล้ว             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สุชาดา กิระกุล
Economics




ธปท.แถลงผลงานหลังมาตรการ 30% ครบ 1 ปี ฟุ้งช่วยค่าบาทมีเสถียรภาพ-ลดเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไร โดยช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีเงินทุนไหลเข้า 6,958ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี49 ที่มีเงินทุนไหลเข้ามากถึง 13,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งผ่อนคลายมาตรการสำรอง30%เพิ่มเติม โดยเฉพาะกองทุนอสังหาฯ และคลายกฎเงินทุนขาออก

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ธปท.ได้ประกาศมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น30% เพื่อควบคุมการนำเข้าของเงินทุนระยะสั้น และป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่งเป็นการดูแลเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยค่าเงินบาทแข็งค่าที่ระดับ 7.4% เทียบกับก่อนออกมาตรการเงินบาทแข็งค่าที่ 16.6% โดยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ภาคการผลิตและการส่งออกได้มีการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นทั้งการกระจายตลาด และการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวยังช่วยชะลอการไหลเข้าสุทธิของเงินทุน โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินทุนไหลเข้า 6,958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี2549 ที่มีเงินทุนไหลเข้ามากถึง 13,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศลดลงไปค่อนข้างมาก แม้จะเป็นตัวเลข 9 เดือนก็ตาม ซึ่งก่อนหน้านี้ธปท.ได้ประเมินกรณีที่ไม่มาตรการสำรอง 30% อาจมีเงินทุนทะลักเข้าไทยประมาณ 8,000-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับตัวเลขยอดคงค้างของจำนวนเงินที่กันสำรอง30% ณ สิ้นเดือนพ.ย.50 มีทั้งสิ้น 749 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ยอดคงค้างที่ทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน(Fully Hedge) มีทั้งสิ้น 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ธปท.ตระหนักถึงผลกระทบของมาตรการนี้ต่อการทำธุรกรรมทางการเงินของเอกชนในประเทศและผู้ลงทุนต่างประเทศ จึงได้ทำการปรับปรุงมาตรการมาเป็นระยะเพื่อเพิ่มความคล่องตัวแก่ภาคธุรกิจ ได้แก่ การอนุญาตให้ทำFully Hedge แทนการกันสำรองสำหรับเงินกู้ เงินลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน รวมทั้ง ยกเว้นการกันสำรองสำหรับเงินลงทุนในตราสารทุนที่มีลักษณะเหมือนหุ้น ได้แก่ Warrantและหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ

นอกจากนี้ ยังได้ผ่อนคลายระเบียบการโอนเงินออกนอกประเทศและการถือครองเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้ภาคธุรกิจมีช่องทางลงทุนในต่างประเทศและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความสมดุลมากขึ้นในระยะยาวด้วย แต่ปัจจุบันปัจจัยภายนอกประเทศยังคงมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Subprime)ในสหรัฐฯ และภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อและตลาดการเงินต่างประเทศที่สำคัญ ส่งผลกดดันต่อทั้งค่าเงินสกุลหลักและกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ซึ่งอาจมีผลกระทบถึงภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยได้

“ธปท.จะประเมินภาวะเศรษฐกิจและตลาดการเงินของไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเป็นระยะ และจะพิจารณายกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นเมื่อสถานการณ์เหมาะสม โดยขึ้นกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ความผันผวนของค่าเงินสกุลหลัก และภาวะตลาดการเงินโลก รวมทั้งความสมดุลของการไหลเข้าออกของเงินตราต่างประเทศจากการค้าและเงินทุนเคลื่อนย้าย แต่ขณะนี้มองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะยกเลิกมาตรการ30%“

นางสุชาดา กล่าวว่า ธปท.จึงยังคงมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อช่วยบรรเทาภาระต่อภาคธุรกิจ จึงเห็นควรผ่อนคลายมาตรการดำรงเงินสำรองสำหรับเงินทุนนำเข้าระยะสั้น และผ่อนคลายระเบียบควบคุมเงินทุนออกนอกประเทศเพิ่มเติม ดังนี้ 1.ผ่อนคลายมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นในส่วนของหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศของภาคธุรกิจ และเงินลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อลดต้นทุนทางการเงินและสนับสนุนการลงทุนในประเทศ โดยยกเว้นการกันเงินสำรองและการทำ Fully Hedge กรณีนิติบุคคลในประเทศนำเงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินกู้ยืมมาขายรับบาทในจำนวนตามสัญญาเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีกำหนดระยะเวลาการกู้ที่ชัดเจนตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

สำหรับกรณีนิติบุคคลในประเทศที่มีเงินกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ โดยมีแหล่งเงินได้ค่าสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศในอนาคตเพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้ดังกล่าวได้เต็มจำนวน (Natural Hedge)ให้สามารถยื่นขออนุญาตต่อธปท.เป็นรายกรณี พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กำหนด รวมทั้งยกเว้นการกันเงินสำรองและการทำ Fully Hedge กรณีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กองเดิม นำเงินตราต่างประเทศมาขายรับบาทเพื่อชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กองเดิมที่ออกขายเพิ่มเติมโดยผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าว ณ วันปิดสมุดทะเบียนก่อนการขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม

2.ผ่อนคลายมาตรการควบคุมเงินทุนขาออก เพื่อให้ธุรกิจไทยบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศได้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่อนผันให้บุคคลในประเทศฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศได้ในวงเงินที่เพิ่มขึ้น และยกเว้นให้ผู้ที่มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศฝากเงินในบัญชีโดยไม่ต้องยื่นเอกสารแสดงภาระผูกพัน กรณีบัญชีที่มีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ ฝากได้ไม่จำกัดจำนวน และไม่ต้องแสดงภาระผูกพัน

นอกจากนี้ ยังผ่อนผันให้บัญชีที่มีแหล่งเงินจากในประเทศ กรณีไม่มีภาระผูกพัน ฝากได้ไม่เกิน 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ.สำหรับบุคคลธรรมดา และ 3 แสนดอลลาร์สหรัฐ สำหรับนิติบุคคล ส่วนกรณีลูกค้ามีภาระผูกพัน (ไม่กำหนดเวลา) ให้ฝากได้ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ สำหรับบุคคลธรรมดา และ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับนิติบุคคล ทั้งนี้หากบุคคลในประเทศต้องการฝากเงินตราต่างประเทศเกินกว่าวงเงินที่กำหนดดังกล่าว จะฝากได้อีกไม่เกินยอดรวมของภาระผูกพันภายใน 12 เดือน

รวมทั้งผ่อนผันให้บุคคลในประเทศลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศได้มากขึ้น โดยเพิ่มวงเงินและขยายขอบเขตการลงทุนหรือให้กู้ยืมให้ครอบคลุมถึงกิจการในต่างประเทศที่อยู่ในเครือเดียวกันแต่ไม่มีการถือหุ้นกันโดยตรงด้วย กรณีที่ 1.บริษัทแม่ในไทยลงทุน หรือให้กู้แก่บริษัทลูกและบริษัทในเครือในต่างประเทศรวมกันไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ส่วนกรณี 2.บริษัทลูกในไทยลงทุน หรือให้กู้แก่บริษัทแม่ และบริษัทในเครือในต่างประเทศที่มีบริษัทแม่เดียวกันรวมกันไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี นอกจากนี้ยังเพิ่มวงเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศจากไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี

ทั้งนี้ การผ่อนคลายมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นตามข้อ 1 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2550 ส่วนการผ่อนคลายระเบียบการโอนและฝากเงินตราต่างประเทศตามข้อ 2 จะมีผลหลังจากกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us