Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
หาจุดลงตัว..รายได้..ผู้ถือหุ้น..ผู้ให้กู้..ลูกค้า             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

FUTURE LAB สูตรลับพ่อครัวปรุงบริการ
เบื้องหลังทีมงาน
S curve ตัวใหม่
พลิกโฉม MobileLIFE

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
จิระเดช นุตสถิตย์




ภาระหน้าที่ของ Business Strategy & Performance Analysis Strategic Planning ของ จิระเดช นุตสถิตย์ หรือเจอรี่ ที่คนในเอไอเอสเรียกขาน หน้าที่ของเขาคือ กำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจในภาพรวมของเอไอเอส ในอีก 18 เดือนข้างหน้า ที่มีเป้าหมายอยู่ที่บริการ non voice ที่จะมาเสริมรายได้จากบริการเสียงที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ

ขณะเดียวกัน เขามีหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ (fusibility study) ของบริการ non voice ทุกบริการที่ออกจาก FUTURE LAB

ถึงแม้ว่าบริการ non voice จะเป็นหนทางในการแสวงหารายได้ใหม่ แต่พวกเขาต้องมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า บริการเหล่านี้จะต้องให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุน หรืออย่างน้อยต้องตอบคำถามได้ ทั้งผู้ถือหุ้น ผู้ให้กู้ ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เอไอเอสระมัดระวังมาตลอด

ประสบการณ์ของการเป็นนักวิเคราะห์ ที่เคยทำงาน ทั้งในฟากของโบรกเกอร์ และกองทุน รวมทั้งการเป็น investor relation ให้กับกลุ่มชินคอร์ป เป็นส่วนหนึ่งที่เขาได้รับมอบหมายให้หาจุดลงตัว ระหว่างเม็ดเงินที่ลงทุน และรายได้ที่เข้ามาอย่างมีระบบแบบแผน
โจทย์ที่ท้าทายเขา จึงเป็นเรื่องการหาจุดลงตัวระหว่าง รายได้ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ให้กู้ ที่เขาต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ

"ไม่ใช่เทคโนโลยีสวยหรูอย่างเดียว แต่เหมาะกับลูกค้าหรือเปล่า เพราะถ้าทำแล้วถูกต้อง ราคาหุ้น และความเชื่อถือก็จะตามมา"

กรณีของบริการ TV on Mobile สำหรับจิระเดชแล้ว เขาเชื่อว่า จุดคุ้มทุนของบริการนี้ อยู่ที่มุมมองของการตอบสนองความต้องการของลูกค้า "ไม่ใช่การให้คนดูทีวีบนโทรศัพท์ แต่เป็นบริการเฉพาะกิจ ที่ให้คนที่พลาดดูรายการสำคัญ เช่น ละครตอนจบ หรือเหตุการณ์ 11 กันยายน"

อย่างไรก็ตามเขาเชื่อว่า ทุกอย่างยังต้องใช้เวลา "ทุกวันนี้ killer application ยังไม่เจอ สิ่งที่เราต้องทำ คือ แนวทางการลงทุนที่ถูกต้อง ไม่เกินเลยออกไป เช่น การลงทุน GPRS ทั่วประเทศไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น เพราะเราไม่สามารถตอบโจทย์ได้ว่า กำไรหรือไม่"

จิระเดช จบปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ที่ University of California ต่อปริญญาโทด้านไฟแนนซ์ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน เรียนจบฝึกงานเป็นโบรกเกอร์บริษัทที่ปรึกษาเมอร์ริลลินช์ ที่สหรัฐอเมริกา หลังจากเรียนรู้ฝั่งผู้ขาย เปลี่ยนมาหาประสบการณ์ทางด้านฝั่งผู้ซื้อ ทำงานด้านกองทุนรวม ที่บริษัทนิโคลัส

ทำงานที่สหรัฐฯ ได้ 3 ปี บินกลับมาไทย เริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์ที่บริษัทที่ปรึกษา UBS จนกระทั่ง UBS รวมกิจการกับ WARBURG จิระเดชร่วมงานกับกลุ่มชินคอร์ป ทำหน้าที่เป็น Investor Relation เป็นเรื่องการลงทุนเช่นเดิม

จนกระทั่งย้ายมาทำงานในเอไอเอส วางยุทธศาสตร์และกำหนดแผนธุรกิจของเอไอเอส เขาเปรียบหน้าที่ใหม่นี้ว่า เปลี่ยนจากคนปักดอกไม้ในแจกันให้ดูสวยที่สุดใน สายตาของผู้ลงทุนและผู้ให้กู้ มาเป็นผู้ให้ปุ๋ยต้นไม้โดยตรง

และนั่นคือภารกิจ และการกำหนดภาพรวมธุรกิจของเอไอเอสใน 18 เดือนข้างหน้า เป็นสิ่งที่เขาต้องพิสูจน์ ธุรกิจ non voice ที่ผ่านการกลั่นกรอง ที่ต้อง balance จากทุกเงื่อนไข จะสร้างให้เอไอเอสเติบโต ออกดอกออกผลสวยงามได้อีกครั้งหรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us