Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 ธันวาคม 2550
เปิดโฉมหน้าคนเอี่ยว ปตท.-ประเคนทรัพย์แผ่นดินเข้ามือนายทุนหุ้น             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
Energy
Law




เปิดโฉมหน้าขบวนการแปรรูป ปตท.ที่กระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมายโอนอำนาจรัฐ สิทธิ ประโยชน์ ทรัพย์สมบัติของแผ่นดินประเคนให้บริษัทเอกชนปตท.ผูกขาดสร้างรายได้นับล้านล้านฟันกำไรกว่าแสนล้านเข้ากระเป๋าแบ่งปันกันในหมู่ผู้ถือหุ้น นักการเมือง และข้าราชการระดับสูงที่มีส่วนในการแปรรูป ไล่เรียงตั้งแต่รัฐบาลทักษิณยันรัฐบาลสุรยุทธ์ ล้วนอีหรอบเดียวกัน เผยผลงานโบว์ดำ “ปิยสวัสดิ์” มือสานผลประโยชน์ร่วมสองรัฐบาล

คดี ปตท.ที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิเคราะห์ว่า พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 ที่มิได้จำกัดอำนาจการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นอำนาจมหาชน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการออก พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 6 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 ซึ่งศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า บทบัญญัติในมาตรา 4 วรรค 2 แห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมายและสมควรเพิกถอน นั้น

ในแง่ข้อกฎหมายแล้ว ถือว่าคำวินิจฉัยของศาลฯ ปรากฏชัดเจนถึงความผิดในการออกพ.ร.ฎ.ที่มารองรับการแปรรูป ปตท. แม้ว่าศาลจะไม่ได้พิพากษาให้เพิกถอน พ.ร.ฎ.ทั้งสองฉบับดังกล่าว และพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ทำให้ ปตท.ยังคงสภาพเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป เนื่องจากการเพิกถอน พ.ร.ฎ. ข้างต้น อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ

นอกจากนั้น คำพิพากษาของศาลฯ ที่ให้ผู้ถือฟ้องคดีทั้งสี่ คือ คณะรัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, รมว.กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งการแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ ออกจากอำนาจและสิทธิของผู้ถือฟ้องคดีทั้ง 4 ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ย่อมส่งผลสะเทือนมหาศาลต่อสถานะการทำธุรกิจในอนาคตของปตท.ที่เคยใช้อำนาจผูกขาดและอาศัยอำนาจ สิทธิ ของรัฐดำเนินธุรกิจสร้างรายได้นับล้านล้านและกำไรกว่าแสนล้านให้แก่องค์กรมาโดยตลอด

เผยโฉมหน้าผู้เข้าข่าย กระทำมิชอบด้วยกม.?

ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกว่าด้วยกฎหมายการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 และความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 มีกลุ่มบุคคลที่จะต้องร่วมรับผิดชอบทั้งในระดับนโยบายและกระบวนการแปรสภาพ ปตท. ทั้งรัฐบาลทักษิณ และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์

การแปรสภาพ ปตท. คณะรัฐมนตรี (ครม.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2544 ในแนวทางการแปรรูป ปตท. ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2544 ที่เสนอต่อ ครม. มติ กพช.ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. มีสาระสำคัญโดยสรุป คือ

1) ในการแนวทางการแปรรูป ปตท. และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ซึ่งขณะนั้น นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สพช. เป็นแกนกลางในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการจัดทำประเด็นนโยบายให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือ สามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในเดือน พ.ย.2544

2) เห็นชอบแนวทางการแปรรูป ปตท. โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการฯ), กระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการฯ), สพช. และ ปตท. (นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการฯ) รวมทั้ง คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) และคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. เร่งดำเนินการตามขั้นตอนแปรสภาพรัฐวิสาหกิจของ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดมทุนจากภาคเอกชน เพื่อทำหน้าที่ประเมินราคาสินทรัพย์ ราคาหุ้น และวิธีการขายหุ้น ฯลฯ

เมื่อพิจารณาจากนโยบายและกระบวนการข้างต้นจะพบว่า มีคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ คือ

1) ครม.ทักษิณ ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ปรับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2544 ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี 5 คน คือ พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ, นายสุวิทย์ คุณกิตติ, นายเดช บุญ-หลง, นายปองพล อดิเรกสาร, นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง, พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, นายกระแส ชนะวงศ์ และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.กลาโหม, พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง, นายวราเทพ รัตนากร, ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รมช.คลัง, นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รมว.เกษตรฯ, นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, นายนที ขลิบทอง รมช.เกษตรฯ, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม, นายประชา มาลีนนท์, นายพงศกร เลาหวิเชียร รมช.คมนาคม, นายอดิศัย โพธารามิก รมว.พาณิชย์, นายสุวรรณ วลัยเสถียร รมช.พาณิชย์, ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.มหาดไทย, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม, นายสมบัติ อุทัยสาง รมช.มหาดไทย,

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ยุติธรรม, นายเดช บุญ-หลง รมว.แรงงานฯ, นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ รมช.แรงงานฯ, นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วิทยาศาสตร์ฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รมว.ศึกษาฯ, นางสิริกร มณีรินทร์, นายจำลอง ครุฑขุนทด รมช.ศึกษาฯ, นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.สาธารณสุข, นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมช.สาธารณสุข, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม, นายพิเชษฐ สถิรชวาล รมช. อุตสาหกรรม นายสุธรรม แสงประทุม รมว.ทบวงมหาวิทยาลัย

2) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ซึ่งเวลานั้น กพช. นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประธาน กพช. และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เป็นเลขาธิการ กพช. และกรรมการและเลขานุการ กพช.

อาจกล่าวได้ว่า นายปิยสวัสดิ์ เป็นมือสำคัญชงเรื่องการแปรรูป ปตท. ให้กับ ครม.ทักษิณ เพราะมติ กพช.ครั้งที่ 3/2544 ลงวันที่ 2 ก.ค. 2544 นั้น นายปิยสวัสดิ์ ในฐานะเลขาธิการ กพช. เป็นผู้นำเรื่องเสนอต่อประธาน กพช.ผ่านทางนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมต.ประจำสำนักนายกฯ

นอกจากนั้น ช่วงปี 2546 นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงานได้ขอถอนเรื่องการแยกท่อก๊าซของ ปตท.ตามข้อกำหนดในการแปรรูปเสนอเข้าคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อเสนอเข้าครม.ตามหนังสือลงวันที่...ก.ค.2546

คณะจัดตั้งบริษัทชงโอนอำนาจรัฐให้ ปตท.

สำหรับกระบวนการตั้งแต่การกำหนดแนวทาง การพิจารณารายละเอียดแนวทางการจัดตั้งบริษัท และ ยกร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ทั้ง 2 ฉบับนั้น

คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งจัดทำรายละเอียดการแปลงทุนของ ปตท. เป็นหุ้น ซึ่งกำหนดกิจการที่จะโอนไป บมจ.ปตท. , อำนาจ สิทธิ ประโยชน์ ภาระผูกพัน ความรับผิดต่าง รวมทั้งสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของทุนที่จะโอนไป บมจ.ปตท. ฯลฯ โดยพิจารณาจัดทำรายละเอียด ระหว่าง 18 ก.ค.-18 ก.ย. 2544

จากนั้น คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ได้ส่งรายละเอียดเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) และกนท.อนุมัติรายละเอียดการจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2544 และส่งเรื่องไปยังครม.เพื่อขออนุมัติแปลงทุนเป็นหุ้นและรายละเอียดการจัดตั้งบริษัท โดยครม.อนุมัติตามที่ กนท. เสนอ เมื่อวันที่ 25 ก.ย.2544 จากนั้นมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2544 ตามด้วยกระบวนการกำหนดมูลค่าหุ้น จัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำการตลาดเพื่อขายหุ้น ระหว่างเดือน ต.ค.-พ.ย. 2544

พร้อมกันนั้น ก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนฯ โดยเป็นคณะกรรมการฯ อยู่ภายใต้ สพช. เมื่อเดือน ต.ค. 2544 และกพช.และ ครม.ได้อนุมัติแนวทางการขายหุ้น ในเดือนเดียวกัน ก่อนเปิดขายหุ้นให้นักลงทุนในวันที่ 15 พ.ย.2544

ภายใต้กระบวนการดังกล่าว จึงมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพ ปตท. และออก พ.ร.ฎ.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ

1) คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำนวน 13 คน ประกอบด้วย นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ, นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง, นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผอ.สำนักงบประมาณ, นายอดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า, นายประธาน ดาบเพชร ผู้ว่าการสนง.การตรวจเงินแผ่นดิน, นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท., นายณฐกร แก้วดี ผู้แทนพนักงาน ปตท., นายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์,

นายอารีพงศ์ ภูชอุ่ม สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ, นายอุทัย ปิยวณิชพงษ์ ผอ.กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, น.ส.เพ็ญจันทร์ จิรเกษม ผอ.ฝ่ายจัดหาและบริหารเงินทุน ปตท., นางพัลลภา เรืองรอง นักวิชาการคลัง 8 สำนักรัฐวิสาหกิจฯ และนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการ กพช.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน (ภายหลังถอนตัว แต่เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง)

2) คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทั้งหมด 24 คน มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธาน และกรรมการ 22 คน ประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ประจำสำนักนายกฯ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ประจำสำนักนายกฯ, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.กลาโหม, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง, นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รมว.เกษตรฯ, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รมว.คมนาคม, ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.มหาดไทย, นายเดช บุญหลง รมว.แรงงาน, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม,

นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รมว.สาธารณสุข, นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ, ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รมช.คลัง, นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผอ.สำนักงบประมาณ, นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการสภาพัฒน์, นายเอนก ศรีสนิท, นายสมเกียรติ โอสถสภา, นายสมศักดิ์ ยมะสมิต, นายระเฑียร ศรีมงคล, นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล, นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการและเลขานุการ และนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้ช่วยเลขานุการ

สำหรับคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. ที่ส่งผลให้หุ้นปตท.ขายเกลี้ยงในพริบตาเดียวนั้น มี นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน และกรรมการ ประกอบด้วย นายสมหมาย ภาษี รองปลัดคลัง, นายสมบูรณ์ บริสุทธิ์ อัยการพิเศษ สนง.ที่ปรึกษากฎหมาย, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการ คกก.นโยบายพลังงานแห่งชาติ, นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท. และนายพิชัย ชุณหวชิร รองผู้ว่าการการเงินและบัญชีองค์กร ปตท.

ไม่ทำตามหนังสือชี้ชวนขายหุ้น รัฐบาลสุรยุทธ์ ร่วมขบวน

ขณะที่คดีปตท.อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฯ รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เข้ามาบริหารประเทศต่อจากรัฐบาลทักษิณ ได้ออกพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำวินิจฉัยของศาลฯ ที่ตัดสินคดี ปตท. เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา

ความไม่ชอบของพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 มีกระบวนการตั้งแต่การพิจารณารายละเอียดพระราชกฤษฎีกา โดย คณะกรรมการทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) กนท.อนุมัติรายละเอียดของ พ.ร.ฎ. และส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติ

คณะกรรมการทุนรัฐวิสาหกิจที่อนุมัติรายละเอียดของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ประกอบด้วย มรว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ และกรรมการ คือ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมว.ประจำสำนักนายกฯ, นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ, พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา, รมว.เกษตรฯ, พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม, นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์, นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงานฯ

นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมว.อุตสาหกรรม, นายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข, นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์, นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน, ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, นางพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, เลขาธิการสภาพัฒน์, นายกิตติรัตน์ ณ ระนองนางเกษรี ณรงค์เดช นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล, นายรพี สุจริตกุล, นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง, นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้ช่วยเลขานุการ

สำหรับคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ ที่อนุมัติการออกพ.ร.ฎ.ดังกล่าว ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังมาเร่งรัดผลักดันออกพ.ร.บ.ประกอบการพลังงาน พ.ศ. 2550 ให้มีผลบังคับใช้ 3 วันก่อนศาลพิพากษาคดี เพื่อแก้ไขการออกพ.ร.ฎ. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลฯ สั่งยกคำร้องของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลฯ เพิกถอนพ.ร.ฎ.ทั้งสามฉบับ มีดังนี้

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี, หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯและรมว.คลัง, นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯและรมว.อุตสาหกรรม, คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ, นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ, พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม, นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.ต่างประเทศ, นายสวนิต คงสิริ รมช.ต่างประเทศ, นายสุวิทย์ ยอดมณี รมว.ท่องเที่ยว, นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมว.พัฒนาสังคมฯ,

นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตร, นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รมช.เกษตรฯ, พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม, นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม, นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว.ทรัพยากรฯ, นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีฯ, นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน, นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย, นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รมช.มหาดไทย,

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว.ยุติธรรม, นายอภัย จันทนจุลกะ รมว.แรงงาน, คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม,นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์, นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ, นายมงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข, นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.อุตสาหกรรม, นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง

บอร์ด ปตท. – ผู้บริหาร เกี่ยวข้อง

ในส่วนของ ปตท. ที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปรสภาพปตท.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น คณะผู้บริหารของ ปตท. ในช่วงนั้น ประกอบด้วย นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการปตท. หรือ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท., นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ปตท. ก๊าซธรรมชาติ หรือ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซฯ บมจ.ปตท.

สำหรับคณะกรรมการ ปตท. ที่เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการ บมจ.ปตท. ขณะนั้น มี นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย พล.อ.อัครเดช ศศิประภา รองผบ.สูงสุด, พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ รองผบ.ตร., นายวิษณุ เครืองาม เลขาธิการ ครม., นายพละ สุขเวช ประธานกรรมการ บ.อะโรเมติกส์ฯ, นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ กรรมการอำนวยการบ.ไทยออยล์ฯ นายพิษณุ สุนทรารักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ.,

นายจักราวุธ ศัลยพงษ์ วิศวกรอาวุโสและที่ปรึกษาบ.อินเตอร์ เอ็นจิเนียริงฯ นายจงรัก ระรวยทอง กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมตลาดหลักทรัพย์, นายโอฬาร ไชยประวัติ กรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดการธ.ไทยพาณิชย์, นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา, นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี, นายสันทัด สมชีวิตา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง, นายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท.

สานผลประโยชน์ร่วมสองรัฐบาล

การตรา พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม ปี 2550 และ พ.ร.ฎ. กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 โดยไม่ชอบโดยกฎหมาย เป็นการชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐบาลทักษิณ และปตท. และต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาล คมช.

หากจะกล่าวบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการตรา พ.ร.ฎ. ทั้ง 3 ฉบับ มาอย่างต่อเนื่อง คือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ซึ่งมีหลายบทบาทหลายหน้าที่ คือ

หนึ่ง เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้จัดทำและพิจารณาอนุมัติแผนการแปรรูป ปตท. ในปี 2544

สอง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. ซึ่งทำหน้าที่ตราร่าง พรฎ. เพื่อแปลงสภาพ ปตท. เป็น บมจ. ในปี 2544

สาม เป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. ซึ่งทำหน้าที่กำกับการประเมินทรัพย์สิน ราคาหุ้น และแนวทางการกระจายหุ้น ในปี 2544

สี่ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ซึ่ง ปตท. ถือหุ้นอยู่ด้วย

ห้า เป็น รมต. กระทรวงพลังงาน และกรรมการ กพช. และกนท. ในปี 2549 – ปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนโดยตรงในการตรา พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 ซึ่งศาลปกครองสูงสุด พิพากษาว่าไม่ชอบโดยกฎหมายเช่นกัน

อาจกล่าวได้ว่า นายปิยสวัสดิ์ มีบทบาทเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญในการผลักดันการแปรรูป ปตท. ในช่วงรัฐบาลทักษิณ และสานต่อ ปกป้องผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่มในช่วงรัฐบาล คมช. ซึ่งตามข้อเท็จจริงหลังคำพิพากษาของศาล ทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย ใช่หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us