Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
การปฏิวัติบุคลากร             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

Building an Asia Care U
ความแตกต่างที่ลงตัว
ความท้าทาย
รู้จัก รู้ใจ

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
พิมลรัตน์ ตั้งก่อสกุล
พูนทรัพย์ จรรยาสุภาพ
ธมน แสงสำราญ




บุคลากรเป็นองค์ประกอบสำคัญในโครงการ Asia Care U เพราะสามารถชี้วัดความสำเร็จและล้มเหลวได้อย่างชัดเจน

"รู้หรือไม่พวกเราเริ่มต้นด้วยการฝึกสอนการพิมพ์สัมผัสแป้นคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ให้กับพนักงาน เพราะในอดีตพวกเขาคุ้นเคยกับพิมพ์ดีด ขณะเดียวกันสายตาจะมองจอไปด้วย พร้อมกับพูดและฟังเพื่อสนองตอบลูกค้าทันที และพนักงานต้องตัดสินใจได้ทันในเวลาเดียวกัน"

เป็นคำพูดของพิมลรัตน์ ตั้งก่อสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากร บุคคล ธนาคารเอเชีย ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่ได้เกินเลยสำหรับพนักงานธนาคารเอเชียที่ดูแลงานให้บริการทางโทรศัพท์ หรือ Call Center จะต้องเข้าฝึกอบรมเพื่อสนองตอบ โครงการ Asia Care U

นับตั้งแต่ธนาคารเอเชียเริ่มต้นโครงการนี้ พนักงาน Call Center ทุกคนต้องผ่าน การฝึกอบรมทั้งเชิงทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นับเป็นวิถีชีวิตการทำงานใหม่ของพวกเขา เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามีบทบาทต่อการทำงานอย่างมาก

"พนักงานมีความกังวลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ใหม่ โดยเฉพาะการใช้คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะเข้าไปช่วยรวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดมากเกินไป" พูนทรัพย์ จรรยาสุภาพ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงาน พัฒนาบุคลากร ธนาคารเอเชีย เล่า

อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ธนาคารเอเชียปฏิรูประบบงานสาขา (Retail Transformations) ตั้งแต่ปี 2539 นโยบายสำคัญประการหนึ่ง คือ การหยุดรับพนักงานใหม่แต่เน้นพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ในขณะนั้น และเป็นการฝึกอบรมที่หนักมาก จนมีพนักงานจำนวนหนึ่งไม่ผ่านการฝึกอบรมและรับไม่ได้กับระบบงานที่ต้องเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่มีอายุงานสูง และคุ้นเคยกับกระบวนการทำงานเดิมๆ ธนาคารจึงสร้างโปรแกรม Early Retirement ขึ้นมารองรับบุคลากรดังกล่าว

ขณะที่พนักงานที่สามารถผ่านการฝึกอบรม ถูกผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการและบทบาทหน้าที่ใหม่ภายใต้แรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรง ที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานมากยิ่งขึ้น

จากอดีตจนถึงปัจจุบันด้วยศักยภาพของพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เอื้อประโยชน์ต่อโครงการ Asia Care U อย่างมาก และสามารถอธิบายได้ว่าองค์กรจะไปได้ไกลมากน้อยเพียงใด พนักงานจะให้คำตอบดีที่สุด นอกเหนือจากเทคโนโลยี

การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินงานภายใต้โครงการ Asia Care U ของ ธนาคารแห่งนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ เริ่มจากการออกแบบเพื่อนำมาฝึกอบรม เรียกว่า Human Performance Architecture ภายใต้การดูแลของธมน แสงสำราญ ผู้อำนวยการงานวางแผนและพัฒนาคุณภาพงาน

"งานของพวกเราเหมือนกับสถาปนิก โดยเริ่มจากทิศทางการดำเนินธุรกิจจะเป็นอย่างไร เราจะ Design Organization จะเป็นรูปแบบไหน บทบาทหน้าที่ของพนักงาน ปฏิบัติการคืออะไรบ้าง เราจะกำหนดออกมาชัดเจนเลย" เธออธิบาย

หลังจากโปรแกรมดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์จะถูกส่งไปให้พูนทรัพย์ เพื่อนำไปหาคำตอบ ว่าทำอย่างไรที่จะฝึกอบรมพนักงานได้ตรงตามต้องการ โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง" พูดง่ายๆ ฝ่ายแรกเป็นแผนกแบบพิมพ์ ส่วนฝ่ายหลังต้องสร้างพนักงานให้ได้ตามอย่างแบบพิมพ์" วิมลรัตน์กล่าว

ดูเหมือนว่าโปรแกรมการพัฒนาบุคลากรของธนาคารเอเชีย หากพิจารณา กันแล้วต้องใช้เวลานานและต่อเนื่อง เนื่อง จากบทบาทของพวกเขาต้องแสดงทักษะการสื่อความออกมาอย่างชัดเจน

ยกตัวอย่าง ถ้าพนักงานเข้าใจลูกค้าต้องฟังเป็นและสร้างความพึงพอใจในระหว่างที่ฟังและพูดได้ "พวกเราจะมาสร้างหลักสูตรให้พวกเขามีทักษะในการฟังแบบตั้งใจ ขณะเดียวกันต้องเข้าใจ ลูกค้าด้วย หากสามารถดึงทักษะออกมา ได้ และเข้าใจพนักงานแต่ละตำแหน่งที่ จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในแต่ละระดับ พวกเขาต้องมีทักษะเฉพาะที่สะท้อนบทบาทดังกล่าวออกมาให้ได้" พูนทรัพย์อธิบาย

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จของการเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานมาจากองค์ประกอบ ของเทคโนโลยีที่ธนาคารนำเข้ามาช่วยด้านทักษะการสื่อความ รวมถึงเก็บข้อมูลสำคัญของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ในการติดต่อลูกค้าทำให้อีกฝ่ายมีความรู้สึกถึงความรู้จักและรู้ใจ

"ทำอย่างไรจะให้เกิดความสัมพันธ์กันหมดเกี่ยวกับทักษะ ซึ่งการฝึกอบรมทั้งหมด เพื่อให้พวกเขามีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน" ธมนเล่า

นอกจากนี้ การทดสอบและฝึกอบรมด้วยการปฏิบัติงานจริงเป็นอีกกลยุทธ์ที่ได้ผล ขณะที่ลูกค้าไม่ทราบว่าธนาคารกำลังอยู่ในระหว่างฝึกอบรมพนักงาน และไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องเพราะ เทคโนโลยีและผู้ดูแลรับผิดชอบเข้ามาสนับสนุนการเรียนรู้และฝึกทักษะ เพื่อที่จะบอกว่าพวกเขามีจุดเด่น หรือต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง

"จากการที่มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัญหาที่พวกเราเผชิญ ก็คือ ลูกค้า ไม่ได้คำตอบอะไรเลยทุกครั้งที่โทรศัพท์เข้ามา ถ้าไม่ถามผิดแผนกก็ถามผิดคน หรือได้คำตอบไม่ชัดเจน" พิมลรัตน์ให้ความเห็น

จากความกังวลดังกล่าว ธนาคารเริ่มสอบถามลูกค้าถึงความต้องการเบื้องต้นที่แท้จริง คำตอบที่ได้ คือ ความชัดเจน ซึ่งนับเป็นความยากลำบากและธนาคารต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนการให้บริการ

"นี่เป็นวิธีการรักษาลูกค้าให้จงรักภักดีต่อธนาคาร และต้องการให้พวกเขามีความสะดวกสบายทุกครั้งที่ติดต่อเข้ามา"

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ธนาคารเอเชียจึงเริ่มดำเนินการปรับกระบวนการทำงานที่ Call Center เนื่องจากเป็นช่องทางการสื่อสารที่สะดวก และประหยัดที่สุด ซึ่งในอดีตพนักงานไม่เคยทำงานทุกอย่างในเวลาเดียวกัน

แต่ด้วยระบบเทคโนโลยี และการฝึกอบรมปัจจุบันสามารถให้บริการได้ทุกทักษะ โดยที่ลูกค้าไม่รู้สึกเลยแม้แต่การสัมผัสแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้ยินเลย "ในอดีตไม่เคยมีข้อมูลเหล่านี้เก็บไว้ในระบบ แต่เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามา ระหว่างที่พนักงานฟังและตีความว่าลูกค้าต้องการอะไร โดยให้พวกเขาบันทึกข้อมูลเข้าระบบด้วย" ธมนบอก

ปัจจุบัน Call Center เป็นหัวใจสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นธนาคารจึงต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษกับพนักงานอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน

"อย่าลืมว่าการเจรจาธุรกิจของพนักงานและลูกค้าไม่เจอหน้ากัน หากพูดผิดพลาดเพียงเล็กน้อยความล้มเหลวจะเกิดขึ้นทันที" พิมลรัตน์กล่าว

นอกเหนือจากการให้ความสำคัญกับพนักงาน Call Center แล้ว ทีมงานขายตรง หรือ Direct Sales Force กำลังอยู่ในระหว่างพัฒนาและฝึกอบรม เพราะเป็นกำลังสำคัญในการเติบโตของธนาคาร แต่กระบวนการมีความแตกต่างกันจากรูปแบบ การปฏิบัติงาน

"สมัยหนึ่งมีคนบอกว่าขายของทางโทรศัพท์ยากที่สุด ขณะที่ขายตรงง่ายมากจากการได้เจอกับลูกค้าและสามารถใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการเจรจาธุรกิจ แต่ทุกวันนี้พนักงานขายทางโทรศัพท์กลับประสบความสำเร็จและง่ายมากกว่า ส่วนวิธีขายตรงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น" พิมลรัตน์ให้ความเห็น

นับตั้งแต่ธนาคารเอเชียให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ผลลัพธ์ที่เห็นชัดเจนและสามารถจับต้องได้ หนีไม่พ้น เปลี่ยนสถานะพนักงานจากงาน Labor ให้กลายเป็นงาน Analyses มากขึ้น นั่นหมายถึงการให้ Value กับลูกค้าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us