Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546
ความแตกต่างที่ลงตัว             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

Building an Asia Care U
การปฏิวัติบุคลากร
ความท้าทาย
รู้จัก รู้ใจ

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
ธรรมศักดิ์ จิตติมาพร




ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ธนาคารพาณิชย์นำเสนอกับ ลูกค้า ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ดังนั้น หากต้องการความจงรักภักดี ธนาคารต้องสร้างความสะดวก เป็นมิตร ถูกต้อง และความรวดเร็วให้สมบูรณ์แบบ

หลังจากที่ธนาคารเอเชียมุ่งเน้นดำเนินธุรกิจลูกค้ารายย่อย (Retail Banking) ส่งผลให้ต้องกลับมาพิจารณาตัวเองใหม่เนื่องจากรูปแบบการให้บริการเกี่ยวข้องกับลูกค้ารายย่อยซึ่งเป็นฐานขนาดใหญ่

จากความหลากหลายดังกล่าว ทำให้สามารถเป็นลูกค้าของธนาคารได้ทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้ที่ธนาคารจะสามารถดูแลได้ครอบ คลุม เนื่องเพราะไม่มีผลิตภัณฑ์นำเสนอตรงความต้องการได้สำหรับทุกคน

"ธรรมชาติของคนจะถูกจัดแบ่งด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ Life Style และช่วงอายุ ซึ่งเป็นตัวแปรให้พวกเขามีความต้องการแตกต่างกัน" ธรรมศักดิ์ จิตติมาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการขายผลิตภัณฑ์ผู้บริโภค และลูกค้าสัมพันธ์ ธนาคารเอเชีย กล่าว

หลังจากธนาคารต้องการแสวงหาลูกค้าดังกล่าวสิ่งที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ได้แก่ โครงการ Asia Care U ซึ่งสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างลงตัว

"พวกเราจะเข้าไปดูรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้า โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินที่เกี่ยวข้องกับธนาคารมากที่สุด ด้วยการไปดูว่าแต่ละวันพวกเขาใช้จ่ายเงินอย่างไร ที่ไหน และมีวิธีการใช้แบบไหน รวมถึงมีวิธีการที่ได้เงินเข้ามา" ธรรมศักดิ์อธิบาย

รายละเอียดเหล่านี้ Asia Care U จะนำมาให้ความรู้แก่พนักงานที่ดูแลรับผิดชอบการให้บริการ เช่น พนักงานให้บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) หรือทีมงานขายตรง (Direct Sales Force) จากนั้นเริ่มวิเคราะห์และพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์กับบริการ มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตและอายุของลูกค้าหรือไม่

"พนักงานจะถูกฝึกอบรมให้ทำงานเข้ากับงานที่พวกเขากำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้ลงตัวและสอดคล้อง กับความต้องการของลูกค้า"

ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าอายุ 35 ปี เงินเดือน 30,000 บาท ต้องการซื้อบ้าน ซึ่งพนักงานธนาคารเริ่มวิเคราะห์ว่าลูกค้าซื้อบ้านรูปแบบไหน โครงการไหน และ มีกระบวนการตัดสินใจซื้ออย่างไร จากนั้นพิจารณาระดับราคาบ้านที่ต้องการ

"สมมติว่าซื้อบ้านในราคาประมาณ 2-5 ล้านบาท แล้วเขามีวิธีการใช้อย่างไร และมีความสามารถในการผ่อนและรับภาระดอกเบี้ยได้ระดับไหน จากนั้นธนาคารจะส่งพนักงานไปอยู่ตามจุดต่างๆ นี่คือ Asia Care U ที่เป็นทีมงานขายตรง ที่จะออกไปหาลูกค้าที่วิเคราะห์เอาไว้แล้ว เพื่อไปเจรจากับลูกค้าและเจ้าของโครงการ บ้าน ถ้าทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ทุกอย่าง ก็จบ"

เนื่องจากธนาคารเอเชียมีโปรแกรม ที่สนองตอบด้วยความรวดเร็ว เมื่อลูกค้า ส่งเอกสารครบสมบูรณ์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วันก็จะผ่านกระบวนการและไปจดจำนองได้ทันที

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงๆ แล้วในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นกระบวนการที่เห็นได้ชัดเจน คือ เมื่อลูกค้าซื้อบ้าน พนักงาน ธนาคารจะบันทึกข้อมูลเอาไว้ สมมติว่าผ่านไปสักระยะลูกค้าโทรศัพท์มาหาเรา เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสินเชื่อบางประเภท พนักงานสามารถนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เขาตัดสิน ใจว่าต้องการอะไร เช่น ผ่อนบ้านไป 5 เดือนอาจจะนึกถึงการประกันภัยบ้านหรือต้องการ ซ่อมแซมบ้าน สินค้าประเภทนี้เราจะสร้างเข้าไปใน Asia Care U" ธรรมศักดิ์อธิบาย

ในอดีตหากลูกค้าโทรศัพท์เข้ามา พนักงานจะไม่มีข้อมูลของลูกค้าดังกล่าว ทำให้ การเจรจาธุรกิจต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แต่ปัจจุบันการบริการแบบบูรณาการ (Service Integration) ทำให้ความต่อเนื่องเกิดขึ้นทันที

"นี่คือการทำงานภายใต้โครงการ Asia Care U และจะเกิดขึ้นกับกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร แล้วจะนำลูกค้าเป้าหมายเหล่านี้มาทำงานในเชิงการตลาด การบริการ และการขายพร้อมๆ กัน"

โครงการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณไตรมาสแรกปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดสินเชื่อบ้านตื่นตัวมากขึ้นจากการที่ธนาคารเข้าไปเขย่าตลาดจนสินเชื่อบ้านเติบโตเกือบ 50% "วันที่ 27 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายการทำงานของปี ไม่มีพนักงานธนาคารอื่น ทำงาน แต่เจ้าหน้าที่ของเราที่ทำหน้าที่จดจำนองนั่งอยู่กับทีมงานขายบนสำนักงานกรมที่ดินเพื่อลุ้นให้ลูกค้าจดจำนองผ่าน" ธรรมศักดิ์เล่า

กระบวนการทำงานดังกล่าวเขาบอกว่าเป็นความแตกต่างออกไปจากคู่แข่งตั้งแต่เปิดตัวโครงการ Asia Care U และจากนั้นไม่นานเริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นสังเกตได้จากการเริ่มปรับตัวของธนาคารพาณิชย์อื่น

"หากไม่ปรับตัวการทำงานจะลำบากขึ้น ซึ่งเห็นชัดว่าความรวดเร็วทำให้ความได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องขนาดของธนาคารอาจจะน้อยลง เพราะบริการแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสาขา หรือขนาดของสินทรัพย์มากนัก เพราะการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปซึ่งขึ้นกับว่าลูกค้ามีความพอใจตรงจุดไหน"

หากพิจารณาถึงความพยายามฉีกการทำงานเพื่อหนีคู่แข่ง ธนาคารเอเชียมีความโดดเด่นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอบัตรเอเชีย เลดี้ มาสเตอร์การ์ด หรือเปิดสาขาภายในซูเปอร์มาร์เก็ต "สินค้า Retail Bank มีอายุสั้นมาก และกลายเป็น Commodity ทำอย่างไรที่จะฉีกให้แตกต่างออกไปเรื่อยๆ"

ดังนั้น สังเกตได้ว่าตั้งแต่ธนาคารเริ่มแยกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน กลุ่ม ลูกค้าจะถูกสร้างออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้ แต่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือพนักงาน การให้บริการแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างกัน

"Asia Care U ให้ความสำคัญกับลูกค้าและพนักงานอย่างมาก" ธรรมศักดิ์กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us