|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
สคิบประกาศแผนปี 51 จับมือบริษัทในเครือเดินหน้าลุยธุรกิจ หลังซุ่มปรับโครงสร้างองค์กรมาเกือบทั้งปี ตั้งเป้าปล่อยกู้เพิ่ม 12%หรือ 3 หมื่นล้าน เน้นเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีและรายย่อยเป็น 58% และขยายรายได้ค่าฟีโต 22% ยันไม่มีสิทธิ์ในการเลือกหาผู้ร่วมทุน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกองทุนฟื้นฟูแต่มั่นใจต้องเป็นผลดีต่อธนาคาร-ระบบโดยรวม
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแผนงานในปี 2551 ว่า ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัวในระดับ 12% หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อรวม 240,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2550 ที่ขยายตัว 6% โดยจะมุ่งเน้นขยายสัดส่วนสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)และสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นเป็น 58%ของสินเชื่อรวมจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 51% รวมทั้งปรับโครงสร้างเงินฝาก โดยเพิ่มสัดส่วนบัญชีเงินฝากเดินสะพัดและเงินฝากออมทรัพย์เป็น 32%ของเงินฝากรวมที่อยู่ในระดับ 360,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 30% ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารต้นทุนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ในส่วนของรายได้จากค่าธรรมเนียมในปีหน้าตั้งเป้าขยายตัวไว้ที่ระดับ 22% จากในปีนี้ที่รายได้ส่วนดังกล่าวไม่ขยายตัว และบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)นั้น ธนาคารตั้งเป้าลดสัดส่วนให้เหลือ 4.5%จากปัจจุบันที่ในระดับ 7%กว่าโดยการเร่งปรับโครงสร้างหนี้และตัดขายออก ซึ่งขณะนี้ธนาคารก็อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหนี้เอ็นพีแอลบางส่วนออกไป
"ปีหน้าเมื่อทุกอย่างกระเตื้อง ขณะที่ธนาคารเองก็ได้ใช้เวลาในปีนี้ปรับตัวมาระดับหนึ่งแล้ว ก็เชื่อว่าการดำเนินธุรกิจของธนาคารจะดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านของรายได้จากค่าธรรมเนียมที่ธนาคารมีสัดส่วนแค่ 13-14%ของรายได้รวม จึงทำให้ยังมีช่องทางขยายตัวอีกมาก โดยใช้นโยบาย scib family ที่พยายามเชื่อมโยงธุรกิจของบริษัทในเครือธนาคารได้เอื้อประโยชน์ต่อกันมากที่สุดเป็นตัวช่วยเสริม"นายชัยวัฒน์กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 นั้น ธนาคารได้ดำเนินการตั้งสำรองครบถ้วนตามมาตรฐานบัญชี IAS 39 แล้ว โดยภายหลังการตั้งสำรองธนาคารมีเงินกองทุน 12.86% เป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 จำนวน 11.78% ดังนั้น จึงเชื่อว่าในไตรมาส 4 ปีนี้ผลการดำเนินงานของธนาคารจะดีขึ้น ส่วนหนี้เอ็นพีแอล(Gross NPL)อยู่ในระดับ 8.07% ซึ่งเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงจากอยู่ในระดับ 4.7% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ลูกค้ารายใหญ่บางรายประสบปัญหาในการจ่ายชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ได้เร่งปัญหาต่างๆโดยการติดตามดูแลลูกหนี้ที่มีปัญหาอย่างใกล้ และเชื่อว่าหากไม่เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง ก็คงจะไม่ทำให้หนี้เอ็นพีแอลของธนาคารเพิ่มขึ้นอีก
ด้านการบริหารบริษัทในเครือนั้น หลังจากที่ธนาคารได้นำนโยบาย scib family มาใช้ประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่าสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น อาทิ บริษัท Max Life ประกันชีวิต มียอดขายประกันเพิ่มขึ้นมากผ่านช่องทางการขายผ่านธนาคาร ขณะที่บริษัทราชธานี ลิสซิ่งได้มีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอย่างเต็มรูปแบบแล้ว จากเดิมที่ไม่เคยทำธุรกรรมร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวสามารถเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจได้เต็มที่ในปีหน้า
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารปัจจุบัน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฯ)ถือหุ้น 47.58% นักลงทุนต่างชาติ 25% นักลงทุนต่างชาติที่ถือผ่าน NDVR 15% และอื่น 11%กว่า ซึ่งตามนโยบายของกองทุนฯแล้วจะมีการขายหุ้นของธนาคารออกมาในระยะเวลาและราคาที่เหมาะสม แต่ยังไม่ได้มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า นับแต่รับตำแหน่งมาเกือบปีได้มีการหารือกับกองทุนฯในการเรื่องการขายหุ้นหรือหาพันธมิตรใหม่ 2 ครั้ง ซึ่งทางกองทุนฯเองก็มองว่าธนาคารมีความพร้อมที่เป็นธนาคารพาณิชย์เอกชน แต่ก็ไม่ได้เร่งร้อนในการขายหุ้น และอยากให้ธนาคารได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่เบื้องต้นในการบริหารงานร่วมกับพันธมิตรที่จะเข้ามา โดยธนาคารก็ได้จ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยแล้ว
ทั้งนี้ กองทุนฯได้มีหลักในการขายหุ้นของธนาคาร 3 ข้อใหญ่ ก็คือ การขายจะต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส รวมทั้งเป็นการขายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นที่จะสามารถทำประโยชน์ให้กับธนาคารและเป็นผลดีต่อระบบสถาบันการเงินโดยรวมต่อไป และหุ้นที่จะขายออกไปต้องได้ราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งอาจไม่ใช่ราคาสูงสุดก็ได้ แล้วก็ไม่ได้กำหนดที่จะต้องขายหุ้นธนาคารทั้ง 3 แห่งที่กองทุนฯถืออยู่พร้อมๆกัน แล้วแต่ธนาคารแห่งใดจะพร้อม ซึ่งเมื่อธนาคารนครหลวงไทยพร้อมก็อาจจะเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่กองทุนฯขายหุ้นออกไป ซึ่งก็ยังมีเวลาจนกว่ากองทุนฯจะเลิกดำเนินการไปในปี 2556
"ธนาคารไม่มีสิทธิ์เลือกว่าใครจะมาเป็นพาร์ตเนอร์ สิ่งที่ทำให้ได้ก็คือทำตัวเองให้พร้อมที่สุดเมื่อกองทุนฯขายหุ้นไม่ว่าจะขายให้นักลงทุนไทยหรือต่างประเทศ แต่สิ่งที่อยากได้ก็คืออยากได้พันธมิตรที่มีอะไรเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีหรือธุรกิจอื่นๆ"นายชัยวัฒน์กล่าว
|
|
 |
|
|