|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โจทย์ใหม่ซีแพคเร่งปรับกลยุทธ์ธุรกิจลดต้นทุน ฝ่ากระแสราคาน้ำมันพุ่ง ขยับรุกตลาดต่างจังหวัดผ่านแฟรนไชส์ เดินหน้าปรับพฤติกรรมลูกค้าสู่ระบบก่อสร้างสำเร็จรูป
หลังจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลักของวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าคอนกรีตผสมเสร็จซีแพคที่พึ่งพาน้ำมันในการขนส่งเป็นหลักต้องปรับตัว หันมาใช้ระบบ Hub and Spokes ผสมผสานกับการจัดการระบบโลจิสติกส์ใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งให้มากที่สุด
ภาพรวมของตลาดคอนกรีตอยู่ในภาวะซบเซาไปตามอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในขณะที่ต้นทุนของสินค้าก็ถูกรุมเร้าด้วยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้อรรณพ เตกะจรินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ยอมรับว่า ยอดขายของซีแพคปีนี้คงไม่เติบโต แต่ด้วยการปรับกลยุทธ์หันมารุกตลาดต่างจังหวัดและงานขนาดเล็กมากขึ้น ทำให้ยอดขายซีแพคยังไปได้ แม้การเติบโตจะติดลบ แต่ก็ติดลบน้อยกว่าตลาดรวม
อรรณพ กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นกระทบต้นทุนของซีแพคถึง 40 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ทำให้ต้องปรับราคาขายขึ้นไปเป็น 30 บาทต่อลูกบาศก์เมตร โดยยังต้องแบกรับต้นทุนอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งซีแพคต้องเร่งหาวิธีลดต้นทุนแทนการขึ้นราคาทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
ระบบ Hub and Spokes ด้วยการสร้าง Hub ในทำเลต่างๆ เพื่อถ่ายคอนกรีตผสมเสร็จจากรถโม่ขนาดใหญ่ไปยังรถโม่ขนาดเล็ก และให้รถโม่ขนาดเล็กวิ่งขนส่งตามตรอกซอกซอยต่างๆ ที่ซีแพคนำมาใช้ช่วยทำให้การขนส่งเกิดความคล่องตัว และที่สำคัญ คือ ประหยัดน้ำมัน สามารถขยายตลาดไปยังงานรับเหมาขนาดเล็กได้ นอกจากนี้ยังปรับระบบโลจิสติกส์ทั้งกระบวนการ ด้วยการขนส่งวัตถุดิบทางเรือ และรถไฟ การใช้พลังงานจากก๊าซเอ็นจีวี การหาแหล่งวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตลาด การกระจาย Plant หรือโรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จขนาดเล็กไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยปัจจุบันมีโรงงานแล้ว 350 แห่ง ตั้งเป้าว่าปีหน้าจะมีถึง 420 แห่ง
การรุกตลาดต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็นการปรับตัวอีกทางหนึ่งของซีแพค หลังจากตลาดในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่หดตัวอย่างมาก แต่สิ่งที่ซีแพคจะต้องเร่งทำ คือ การปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคจากการใช้ปูนถุงผสมเองมาสู่การใช้คอนกรีตสำเร็จรูป ในขณะที่อีกหนึ่งขาธุรกิจของซีแพค คือ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป เช่น พื้น เสาเข็ม ท่อ บล็อคผนัง ที่จะรุกเข้าสู่ตลาดต่างจังหวัด ก็ต้องเร่งสร้างความรู้เรื่องระบบก่อสร้างแบบสำเร็จรูปให้กับผู้บริโภคเช่นกัน
ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซิเมนต์ เครือซิเมนต์ไทย (SCG Cement) กล่าวว่า ซีแพคได้พัฒนาระบบธุรกิจ CPAC Precast Franchise ให้เครือข่ายแฟรนไชส์ทั่วประเทศที่มีจุดแข็งในการรุกตลาดต่างจังหวัด สามารถผลิตสินค้าคอนกรีตสำเร็จรูปได้เอง โดยปัจจุบันมีโรงงานผลิตพื้นคอนกรีต 3 แห่ง ได้แก่ ลาดกระบัง กรุงเทพฯ, อ.หนองแค จ.สระบุรี และล่าสุดที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยจะเป็นโรงงานต้นแบบให้แฟรนไชส์ในภาคเหนือ นอกจากนี้ยังจัดตั้งศูนย์วิชาการคอนกรีตสำเร็จรูปซีแพค (CPAC Precast Concrete Technical Center) ขึ้นเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าแก่ผู้ประกอบการ CPAC Precast Franchise ในเขตภูมิภาค นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานราชการ และบุคคลทั่วไป
ปัจจุบันซีแพคมีลูกค้า CPAC Precast Franchise แล้ว 14 ราย ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มเป็น 40 รายในปีหน้า และจะขยายโรงงานต้นแบบ และศูนย์วิชาการคอนกรีตสำเร็จรูปไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น ศรีราชา ขอนแก่น และจังหวัดในภาคใต้ เพื่อขยายตลาดผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปไปทั่วประเทศ ซึ่งสิ่งที่ซีแพคจะต้องทำควบคู่กันไป คือ การให้ความรู้ตลาดต่างจังหวัด เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้าจากระบบก่อสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนมาสู่การใช้ระบบสำเร็จรูปที่มีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งจะสอดรับกับสินค้าของซีแพคที่เป็นสินค้าเพื่อรองรับการก่อสร้างในระบบสำเร็จรูปด้วย
|
|
|
|
|