|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โบรกมั่นใจ PTT ไม่ถึงขั้นเพิกถอน เหตุมูลค่าตลาดกว่าล้านล้านบาท ถ้าโดนจริงเกิดผลกระทบในวงกว้าง ช่วงที่ผ่านมาต่างชาติปรับพอร์ตลดความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและสถานการณ์ในสหรัฐ ด้านผู้บริหารสบช่องเร่งแปลงหุ้นขาย
ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นจนทะลุเกือบลิตรละ 33 บาท ส่งผลให้ราคาสินค้านานาชนิดปรับเพิ่มขึ้นถ้วนหน้า ทั้งมีผลไปบ้างแล้วและอีกหลายรายการที่จะมีผลในต้นปี 2551 แรงกดดันทั้งหมดจึงมุ่งไปที่มีต่อองค์การที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ที่แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปลายปี 2544
เมื่อน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นทุกขณะ ปตท.จึงกลายเป็นเป้าสายตาของทุกคนที่เดือดร้อนจากราคาน้ำมัน เนื่องจากปรัชญาขององค์กรที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือทำกำไรสูงสุดเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
การลุ้นระทึกเมื่อ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมาอันเนื่องมาจากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องอดีตผู้บริหารประเทศตั้งแต่สิงหาคม 2549 และขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนกฎหมายต่าง ๆ ที่ทำให้ปตท.เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ศาลปกครองสูงสุดได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาเป็น 14 ธันวาคมนี้
เพิกถอนตลาดหุ้นล่ม
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า เราประเมินผลกระทบว่าถ้าต้องเพิกถอน ปตท. ออกจากตลาดหลักทรัพย์ทำให้ตลาดหุ้นทรุดหนัก เพราะไม่ได้หมายถึงเรื่องของปตท.เพียงอย่างเดียวแล้วแต่ยังหมายถึงรัฐวิสาหกิจตัวอื่นที่แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วย ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการกล่าวถึงหากต้องเพิกถอนจรึงต้องใช้เงินหลายแสนล้านบาทเพื่อซื้อหุ้นคืน
ในทางกลับกันหาก ปตท.ยังคงอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป โอกาสที่ราคาหุ้นจะกลับขึ้นไปยืนที่เหนือ 400 บาทก็เป็นไปได้สูง
ราคาหุ้นปตท.หลุดจากระดับ 400 กว่าบาทลงมาในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ตามแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งตลอดเดือนที่แล้วต่างชาติขายสุทธิออกมา 3.82 หมื่นล้านบาท จนทำให้ราคาหุ้น PTT ร่วงลงมาอยู่บริเวณ 350 บาทเช่นเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่หลุดจากระดับ 900 จุดลงมาเคลื่อนไหวแถว 830 จุด
ลองคิดดูว่ามูลค่าตลาดของ PTT ราว 1.1 ล้านล้านบาท ถ้าต้องออกจากตลาดหลักทรัพย์แล้วตลาดหุ้นคงดูไม่จืด เพราะหุ้นตัวอื่นที่ ปตท.ถือหุ้นไว้อย่าง PTTEP TOP RRC BCP และ IRPC ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มพลังงานที่มีผลต่อการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ราว 20-25% นั้น เมื่อบริษัทแม่ต้องถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ บริษัทลูกถูกผลกระทบตามไปด้วย
เขากล่าวต่อไปว่า ในส่วนของปตท.เองก็ต้องพิสูจน์ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านนั้นเป็นผลมาจากอะไร และกำไรของปตท.นั้นได้มีการดำเนินการให้ถูกต้องหรือยัง โดยเฉพาะค่าเช่าท่อก๊าซที่จะต้องจ่ายให้กับกระทรวงการคลังหรือถ้าสามารถหาทางบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ก็น่าจะบรรเทาข้อขัดแย้งได้ในระดับหนึ่ง
ผู้บริหารปตท.แห่ขายหุ้น
ในอีกด้านหนึ่งท่ามกลางการลุ้นคำพิพากษาของศาลปกครอง ผู้บริหารและพนักงานของปตท.ได้ทยอยใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญกันมากขึ้น โดยเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2550 ได้มีการใช้สิทธิ 1.32 ล้านหุ้นที่ราคา 183 บาทตามเงื่อนไขของปี 2548 ก่อนหน้านั้นในวันที่ 1 ตุลาคมได้มีการใช้สิทธิสำหรับเงื่อนไขของปี 2549 จำนวน 2.46 ล้านหุ้นที่ราคา 234 บาทต่อหุ้น
ที่ขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องคือประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ได้หุ้นจัดสรรในปี 2548 จำนวน 243,000 หุ้น ราคาใช้สิทธิที่ 183 บาทต่อหุ้น และในปี 2549 ได้รับการจัดสรรหุ้นให้อีก 119,000 หุ้น ราคาใช้สิทธิที่ 234 บาทต่อหุ้น เบ็ดเสร็จหากใช้สิทธิทั้งหมดจะได้หุ้นมา 362,000 หุ้น ใช้เงินในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ 72.32 ล้านบาท เฉลี่ยต้นทุนที่หุ้นละ 199.77 บาท
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) พบว่าประเสริฐ บุญสัมพันธ์ได้ขายหุ้น ปตท. 25 รายการ จำนวน 258,820 หุ้น เป็นเงิน 87.05 ล้านบาท หากหักจากต้นทุนที่ 199.77 บาท จะมีกำไรจากการขายหุ้น 35.35 ล้านบาท โดยยังเหลือหุ้นที่ได้รับการจัดสรรอีกราว 103,180 หุ้น
ทั้งนี้ต้นทุนจากการขายหุ้นของผู้บริหาร ปตท.คงเป็นตัวเลขคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะมีหุ้นอีกส่วนหนึ่งที่บางท่านได้มาตั้งแต่ปี 2544 โดยครั้งนั้นได้จัดสรรให้พนักงานกว่า 47 ล้านหุ้นที่ราคา 10 บาทขณะที่ราคาเสนอขายต่อประชาชนที่ 35 บาทต่อหุ้น ดังนั้นต้นทุนของผู้บริหารบางท่านอาจจะต่ำกว่านี้
ก่อนหน้านี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ปตท.ได้ออกมากล่าวถึงสาเหตุในการขายหุ้นออกนั้นเป็นเพราะมีกฎหมายใหม่อย่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม แต่การขายออกไปก่อนส่วนหนึ่งก็เป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากคำตัดสินของศาลปกครองและในอนาคตนั้นความสามารถในการทำกำไรของ ปตท.อาจลดลงได้จากนโยบายของรัฐบาลใหม่และแรงกดดันของภาคประชาชน
|
|
|
|
|