Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
ตลาดหลักทรัพย์ MAI กับบทบาทใหม่ "ที่ปรึกษาธุรกิจ"             
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ - MAI
ยุทธ วรฉัตรธาร
Investment




บทบาทตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ ผู้คุมกฎเกณฑ์การซื้อขายหุ้น รวมทั้งดูแลการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน แต่สำหรับ MAI แล้ว ภาระ ที่ต้องทำมีมากกว่า

"เราจะต้องคลุกคลีอยู่กับบริษัทขนาดกลาง และขนาดย่อม เราจึงต้องมีส่วน ช่วยพัฒนาบริษัทเหล่านี้" ยุทธ วรฉัตรธาร กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI) บอกถึงบทบาท ที่เพิ่มขึ้น และถูกใช้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการหาสินค้าเข้ามาซื้อขายในตลาด

MAI ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2542 โดยมีเป้าหมายให้เป็นแหล่งระดมเงินทุนให้กับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอจะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ในช่วงแรกมีดร.สุรัตน์ ผลาลิขิต รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำหน้าที่รักษาการ กรรมการผู้จัดการ จนเมื่อวันที่ 17 มกราคม ยุทธ ที่เพิ่งลาออกจากผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารออมสิน เมื่อปลายปี 2542 ได้ เข้ามารับหน้าที่กรรมการผู้จัดการ MAI อย่างเป็นทางการ

ตลอดเวลากว่า 2 เดือนที่ผ่านมา งาน ที่ยุทธให้น้ำหนักมากที่สุด คือ การเร่งหาบริษัทเข้ามาจดทะเบียนใน MAI โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในสิ้นปีนี้ จะต้องมีบริษัทจดทะเบียน 6-10 บริษัท

ความ ที่ MAI เป็นตลาดที่เพิ่งเปิดใหม่ มีอายุไม่ครบ 1 ปี และจัดตั้งขึ้น ในช่วง ที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดี การจะชักชวนให้บริษัทต่างๆ เข้ามาใช้ เป็นกลไกในการระดมทุนจึงไม่ง่ายนัก แต่ความ ที่ผ่านงานจากภาคเอกชนมาตลอด ยุทธจึงต้องนำหลักการตลาดมาใช้กับงานดังกล่าวด้วย

"เราต้องใช้กลยุทธ์หลากหลายมาก โดยเฉพาะกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะถือว่างานนี้ เป็นงานระดับแรก ถ้าคุณไม่มีสินค้าเข้ามาขาย กิจกรรม อื่นๆ ก็จะตามมาลำบาก" ยุทธกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

กลยุทธ ์ ที่ว่าเริ่มจากการเคาะประตู โดยให้เจ้าหน้าที่ไปหารายชื่อบริษัท ที่ เห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมจะเข้ามาจดทะเบียน จากแหล่งต่างๆ เช่นสมาคมการค้า กรมเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ เมื่อได้รายชื่อมาแล้ว ก็จะติดต่อไปยังผู้บริหารบริษัทเหล่านั้น ทั้งทางจดหมาย โทรศัพท์ ตลอดจนส่งเจ้าหน้าที่ไปพบผู้บริหาร เพื่อแนะนำ และ ชักชวนให้เข้ามาจดทะเบียนใน MAI

ซึ่งมีหลายบริษัท ที่ยุทธต้องลงทุนเดินทางไปพบด้วยตัวเอง

"เราอยู่ในวงการสินเชื่อมาเกือบ 20 ปี เรามีคอนเนกชั่น ก็ต้องมาดูว่ามี ใคร ที่เรารู้จักบ้าง อย่างพวกลูกค้าเก่าๆ รวมถึง เพื่อนฝูง ที่อยู่ตามแบงก์ต่างๆ ที่ต้องไปคุย เพื่อขายไอเดีย"

คนในวงการค้าหลักทรัพย์ เปรียบเทียบบทบาทของยุทธในขณะนี้ว่า คล้ายคลึงกับเมื่อปี 2531-2532 ครั้ง ที่ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ เป็นกรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีนโยบายเพิ่มกระดาน ที่ 2 ขึ้น ซึ่งได้มีการออกไปชักชวนบริษัทต่างๆ ที่มีคุณสมบัติยังไม่ถึงขั้นเป็นบริษัทจดทะเบียน เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในลักษณะบริษัทรับอนุญาต ส่งผลให้ตัวเลขจำนวนสินค้าในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่เนื่องจากเป้าหมายของ MAI จะเป็นบริษัท ที่มีขนาดกลางลงมาถึง ขนาดย่อม (SME) ซึ่งมีปัญหาเรื่องมาตรฐานในการจัดการ และระบบบัญชี การที่จะดึงบริษัทเหล่านี้เข้ามาจดทะเบียน จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ ได้มาตรฐานเสียก่อน

ประเด็นนี้ ยุทธได้ใช้เป็นจุดขาย ในการดึงความสนใจของ SME เหล่านี้ ให้เข้ามาใช้ MAI เป็นช่องทางระดมทุน

ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ MAI ส่วนหนึ่ง จะต้องถูกส่งไปให้คำปรึกษากับบริษัท ที่ถูกจัดให้เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คำแนะนำในเรื่องปรับปรุงคุณสมบัติให้เข้าตามเกณฑ์ ที่สามารถกระจายหุ้นได้ และหากพบว่ามีปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค เจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็จะประสานงานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้ช่วยส่งคนไปให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขเรื่องดังกล่าว

"มีแค่ MAI อันเดียวในซีกของตลาดทุน ที่อยู่ในกลไกการพัฒนา SME ในซีกอื่นมีอีกหลายหน่วยงาน ที่อยู่ในกลไกเดียวกัน ซึ่งเราก็ต้องประสานกับ หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ ในการเผยแพร่ความรู้"

หน่วยงานเหล่านี้ ได้แก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บีโอไอ ธนาคารออมสิน สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ

การจัดสัมมนาให้ความรู้ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ ทั้ง เพื่อหวัง ผลทางการตลาดในการเพิ่มสินค้า และได้ช่วยเหลือ SME โดย MAI เพิ่งจัด สัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์เอสเอ็มอี (SMEs) ปี 2000" ไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ ผ่านมา และกลุ่มคนที่ถูกเชิญมาเข้าฟังการสัมมนาคราวนี้ ก็คือ คนที่ถูกจัดอยู่ ในรายชื่อเป้าหมาย ที่ MAI หวังจะได้เป็นผู้บริหารกิจการที่จดทะเบียนใน MAI ในอนาคต

"เราถือเป็นหน้าที่ ที่ต้องช่วยเหลือส่งเสริมให้บริษัทเหล่านี้ มีความเข้มแข็ง ก่อน ที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาด เพราะการช่วยเหลือเขา ก็เท่ากับเป็นการช่วยเหลือนักลงทุนไปด้วย นี่คือ ข้อแตกต่างระหว่างบทบาทของ MAI กับตลาดหลักทรัพย์" ยุทธสรุป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us