|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติแจงบาทดีดตัวแข็งค่าแตะ 33.60 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือน เหตุเป็นวันหยุดยาว 3 วัน ทำให้มีแรงอั้น ยันพร้อมเข้าดูแลหากมีความผันผวนมากเกินไป ระบุเงินกันสำรอง 30%ที่ต้องให้คืนนักลงทุนหลังครบรอบ 1 ปี ไม่มาก เพราะส่วนใหญ่เป็นสัญญาที่ทยอยครบกำหนด พร้อมติงคลังอนุมัติแบงก์ต่างชาติออกบาทบอนด์ 5 หมื่นล้านจะกระทบสภาพคล่องในประเทศและทำให้ Yield curve เพิ่มขึ้น
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงเช้าวานนี้(11 ธ.ค.) แข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับ 33.60-33.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากผู้ส่งออกมีการเทขายเงินดอลลาร์ออกมามากกว่าปกติ หลังจากในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเป็นวันหยุดยาว ทำให้เมื่อเปิดวันทำการปกติผู้ส่งออกมีแรงเทขายเงินดอลลาร์ออกมามาก ซึ่งเดิมทีในทุกวันผู้ส่งออกก็มีการทยอยขายเงินเงินดอลลาร์อยู่แล้ว
"ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาทของไทย ธปท.มีการเข้าไปดูแลบ้างตามความจำเป็น เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ค่าเงินบาทไทยมีการแข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับเงินตราสกุลอื่นในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย”นางผ่องเพ็ญกล่าว
สำหรับในกรณีที่วันที่ 18 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะเป็นวันครบรอบ 1 ปี สำหรับมาตรการกันสำรอง30%ของเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยนั้น นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า วงเงินที่ถูกกันสำรองสำหรับมาตรการนี้มีไม่มากนัก ประกอบกับสัญญาที่นักลงทุนต่างชาติทำไว้ก็ทยอยครบกำหนด จึงเชื่อว่าแม้นักลงทุนต่างชาติจะถอนทุนออกไปหรือลงทุนต่อในไทยก็เชื่อว่าจะไม่สร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทไทย อย่างไรก็ตาม ในมุมมองส่วนตัวเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติยังคงลงทุนในไทยต่อไป เพราะปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจยังดีอยู่ รวมทั้งภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีหน้าก็ยังเดินหน้าได้ดี ซึ่งเป็นผลจากการเลือกตั้ง ทำให้มองภาพเศรษฐกิจไทยมีความชัดเจนมากขึ้น
"เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจะขยายตัวดีขึ้นหรือไม่ รวมทั้งจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยโตได้แค่ไหน ส่วนหนึ่งขึ้นกับรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาว่าจะเข้าใจปัญหา และสร้างความชัดเจนได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะคุ้มกับที่หลายฝ่ายตั้งตารอแค่ไหน”นางผ่องเพ็ญกล่าว
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง กล่าวว่า สำหรับในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)เมื่อวานนี้ คาดว่าเฟดจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างที่หลายฝ่ายประเมินไว้ ส่วนจะมีการปรับลดลง 0.25% หรือ 0.50% ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐที่ชะลอตัวเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแม้จะมีเงินทุนไหลเข้ามายังไทยบ้าง แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐไม่ใช่ปัจจัยเดียวในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ยังมีปัจจัยอื่นนำมาประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วย
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า วานนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 33.60-33.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงสุดสัปดาห์ก่อนที่อยู่ในระดับ 33.70 บาทต่อดอลลาร์ โดยเป็นการแข็งค่าสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐของผู้ส่งออกออกมาหลังจากช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ประกอบกับเทรนด์ของเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่าอยู่ ทำให้เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าอยู่
"แม้ว่ามีการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ย แต่ก้ไม่ได้ทำเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอ ทำให้ไม่มีใครอยากถือเงินดอลลาร์เท่าไหร่ นอกจากนี้ จากที่เฟดจะลดดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะทำให้มีเงินไหลออกมาสู่ประเทศต่างๆในเอเชียที่มีผลตอบแทนมากกว่าเพิ่มขึ้นด้วย"นักค้าเงินกล่าว
จวกคลังไฟเขียวบาทบอนด์กระทบสภาพคล่อง
ขณะที่นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า การอนุญาตให้สถาบันการเงินต่างประเทศกว่า 10 แห่งออกพันธบัตรสกุลเงินบาท (บาทบอนด์) วงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท ตามที่ยื่นขอกับทางการไทยมานั้น จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพคล่องในประเทศ ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตร(Yield curve) ในประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้กำหนดเพดานการออกบาทบอนด์ในแต่ละปี ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินต่างชาติที่ได้ขอวงเงินไว้ แต่มีการออกบอนด์จริงไม่มากนัก โดยในปี 49 ใช้ไปเพียง 10% ของวงเงินที่ได้รับการอนุมัติทั้งหมด เนื่องจากในช่วงนั้นทิศทางอัตราดอกเบี้ยในไทยเป็นช่วงขาขึ้น
|
|
|
|
|