|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เจ้าตลาดคอนโดมิเนียม "แอล.พี.เอ็น."เผยแผนธุรกิจปี 2551 ผุด 5-8โครงการใหม่ พร้อมส่งแบรนด์ลุมพินีเซ็นเตอร์ และลุมพินีคอนโดทาวน์ราคา 6แสนบาทบุกตลาดใหม่2-3 ทำเล ปูทางก่อนส่งแบรนด์ ลุมพินีวิลล์ และ ลุมพินี เพลส ต่อยอดลูกค้าต่อ แจงสัดส่วนพัฒนาโครงผ่านแบรนด์ลุมพินีทาวน์-เซ็นเตอร์50-60% แบรนด์ลุมพินีวิลล์-พาร์ควิลล์20-30%และแบรนด์เพลส10% พร้อมเบรกแบรนด์ลุมพินีสวีทในปีหน้า ระบุปี51ตลาดแข่งดุเดือด เหตุผู้ประกอบการแห่ผุดโครงการใหม่อีกเพียบ ตั้งเป้าปี"ชวด" ยอดขายและยอดรับรู้รายได้โตไม่ 20% หรือมียอดขายไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ส่วน11เดือนที่ผ่านมามียอดขายกว่า 9,000 ล้านบาท
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท แอล.พี. เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยถึงแผนธุรกิจในปี2551 ว่า แนวทางการพัฒนาโครงการของบริษัทในช่วง3-4ปีจากนี้ จะเน้นการเปิดตลาดในพื้นที่ใหม่ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีชุมชนหนาแน่น ซึ่งบริษัทฯจะใช้สินค้าในแบรนด์ ลุมพินี คอนโดทาวน์ และลุมพินี เซ็นเตอร์ ซึ่งมีราคาขายต่อหน่วย 5-6 แสนบาท เป็นโครงการหลักในการเจาะตลาดใหม่ๆ และจะเน้นสร้างการรับรู้ในแบรนด์ของบริษัทในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และหลังจากที่แบรนด์ แอล.พี.เอ็น.ฯได้รับการยอมรับจากลูกค้าแล้ว จึงจะต่อยอดกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยการผลักดันโครงการในแบรนด์ ลุมพินี วิลล์ และ ลุมพินี พาร์ควิลล์ ที่มีราคาขายต่อหน่วย 1ล้านบาท สินค้าในตลาดระดับกลางเข้าทำตลาด และค่อยขยับโครงการภายใต้แบรนด์ลุมพินี เพลส และลุมพินี สวีท ราคาขาย 1.5-2 ล้านบาทต่อหน่วยไปจับตลาดบนอีกส่วนหนึ่ง
สำหรับในปีหน้าบริษัทจะเริ่มใช้แบรนด์ ลุมพินี คอนโดทาวน์ และลุมพินีเซ็นเตอร์ เข้าเปิดตลาดใหม่ๆ 2-3 ทำเล เช่น ในโซนตะวันออก โซนใต้ และโซนเหนือของกรุงเทพฯ ส่วนแบรนด์ลุมพินีวิลล์และลุมพินีพาร์ควิลล์ จะเข้าไปทำตลาดในโซนที่ลูกค้ายอมรับแล้ว เช่น โซนปิ่นเกล้า เป็นต้น
ในส่วนของแบรนด์ ลุมพินีเพส จะเข้าไปเก็บเกี่ยวในทำเลที่มีศักยภาพสูงแล้ว ในขณะที่แบรนด์ลุมพินี สวีท จะชะลอการพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ดังกล่าว เนื่องจากต้องเป็นทำเลที่มีศักยภาพจริงๆและมีกำลังซื้อสูงโดยในปี51บริษัทมีแผนจะพัฒนาโครงการใหม่ประมาณ 5-8 โครงการ แบ่งเป็นการพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ลุมพินีคอนโดทาวน์ และลุมพินี เซ็นเตอร์ประมาณ 50-60% , แบรนด์ลุมพินี วิลล์ 20-30% ส่วนอีก10% จะเป็นการพัฒนาภายใต้แบรนด์ ลุมพินีเพลส
นายโอภาส กล่าวถึงแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา มียอดขายแล้ว 9,000 กว่าล้านบาท เกินเป้าที่วางไว้ทั้งปี 8,000 ล้านบาท ส่วนในปีหน้า บริษัทตั้งเป้าจะมีอัตราการเติบโตของยอดขาย และยอดรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นจากปีนี้ 20% หรือมียอดขาย 10,000ล้านบาทขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการแข่งขันในตลาดคอนโดฯในปี 2551 จะทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าปี 2550 เนื่องจากผู้ประกอบการมีการพัฒนาโครงการใหม่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก ทำให้ในบางพื้นที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมาก เช่น ทำเลแนวรถไฟฟ้า เป็น ซึ่งบางทำเลมีแนวโน้มสินค้า(ซัปพลาย) เกินความต้องการ(ดีมานด์)อยู่บ้าง
ทั้งนี้ ใน1-2 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอสังหาฯ หันมาพัฒนาโครงการคอนโดฯเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการในตลาดขยายตัวค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการในตลาดบ้านเดี่ยวหรือตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ ที่ได้รับผลจากปัจจัยการปรับขึ้นราคาน้ำมันที่ต่อเนื่อง โดยการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ได้ส่งผลในด้านบวกต่อตลาดคอนโดฯ คือ ด้านบวก พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนมาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ ส่งผลให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดคอนโดฯมีอัตราการขยายตัวอย่างมาก ส่วนในด้านลบ กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากการปรับตัวของค่าครองชีพ และการปรับตัวของอัตราเงินเฟ้อที่ขยับสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังกระทบต่อการบริหารต้นทุนของผู้ประกอบการในตลาดด้วย โดยเฉพาะในปี2551 ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวให้สามารถแข่งขันในตลาด และยังสามารถรักษาอัตราเติบโตของกำไรไว้ในระดับที่ดีให้ได้ ในภาวะที่ต้นทุนวัสดุก่อสร้างมีการปรับตัวแล้ว
" ในปีหน้า จะเป็นปีแห่งการปรับตัวของผู้ประกอบการอีกครั้งหนึ่ง แนวโน้มการปรับตัวน่าจะมีการปรับลดขนาดห้องชุดลง เพื่อคงระดับราคาขายให้เหมาะกับกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าตลาดระดับล่างที่เป็นฐานใหญ่ นอกจากนี้ ต้องมีระบบบริหารจัดการต้นทุนที่ดีด้วย โดยแนวทางการควบคุมต้นทุนที่น่าจะหยิบขึ้นมาใช้ในปีหน้า คือการหาที่ดินที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาโครงการลง การตลาดต้องไว โดยการเร่งการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และเร่งการก่อสร้างให้รวดเร็วขึ้น เพื่อควบคุมต้นทุนด้านดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน"นายโอภาสกล่าว
อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกในปีหน้ายังคงมีอยู่ คือ ดอกเบี้ยที่ยังอยู่ระดับที่ต่ำ ทำให้ลูกค้ายังมีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิม แม้น้ำมันจะปรับขึ้น จนส่งผลให้เกิดต้นทุนวัสดุปรับราคามีผลต่อราคาขายสินค้า และมีผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น
|
|
|
|
|